การค้นพบดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบโลก เปรียบเสมือนดวงจันทร์ของโลกดวงใหม่ มีชื่อว่า 2020 CD3
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 สองนักดาราศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา Theodore Pruyne และ
Kacper Wierzchos ค้นพบโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.52 เมตร ณ หอดูดาว
Mount Lemmon สหรัฐอเมริกา
ดาวเคราะห์น้อย 2020 CD3 มาได้อย่างไร
นักดาราศาสตร์วิเคราะห์วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยดังกล่าว พบว่าถูกโลกดึงดูดให้มาโคจรรอบโลกเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว และในเดือนเมษายน 2563 ก็จะถูกเหวี่ยงออกไปจากวงโคจรของโลก ดาวเคราะห์น้อย 2020 CD3 จึงมีระยะเวลาในการเป็นดวงจันทร์ของโลกเพียงสามปีเท่านั้น
ดาวเคราะห์น้อย 2020 CD3 เป็นแค่วัตถุบริวารชั่วคราวของโลก(Temporary satellite)
นักดาราศาสตร์ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ให้ดาวเคราะห์น้อย 2020 CD3 อยู่กลุ่มวัตถุบริวารตามธรรมชาติ
(Natural satellite) ของโลกดังเช่น “ดวงจันทร์” แต่จัดเป็น วัตถุบริวารชั่วคราวของ
โลก(Temporary satellite) ซึ่งขณะนี้ค้นพบแล้วกว่ากว่า 20 วัตถุ รวมถึงดาวเคราะห์น้อย
2016 HO3 ซึ่งถูกวงโคจรของโลกดึงดูดให้มาโคจรรอบโลกเช่นเดียวกัน แต่วงโคจรของดาวเคราะห์น้อย
2016 HO3 นั้นจะโคจรรอบโลกนานกว่าร้อยปี