ติวสอบ กพ 63 หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติราชการ


1.) พ.ร.บ. นี้ใช้กับใครได้บ้าง
    ตอบ เจ้าหน้าที่ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน ทุกประเภทที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานของรัฐ

2.) หน่วยงานของรัฐ หมายถึง 
    ตอบ ครอบคลุมเกือบทุกประเภทแต่ไม่ทั้งหมด เช่น ส่วนราชการ 
    ส่วนกลาง กระทรวง ทบวง กรม
    ส่วนภูมิภาค จังหวัด
    ส่วนท้องถิ่น อบต อบจ เทศบาล พัทยา กรุงเทพ
    ส่วนเอกชน เช่น
    รัฐวิสาหกิจ การ… องค์การ…
    อื่นๆ องค์การมหาชน , องค์กรอิสระ

3.) หากข้าราชการกระทำละเมิดในหน้าที่ ผู้เสียหายต้องฟ้องใคร
    ตอบ หน่วยงานต้นสังกัด / กระทรวงการคลัง(ในกรณีไม่รู้ต้นสังกัด)

4.) จงยกตัวอย่าง การกระทำละเมิดที่เกิดจากเหตุส่วนตัว
    ตอบ 1.ทุจริต 2.บันดาลโทสะ 3.หาประโยชน์ส่วนตัว (ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก      พ.ร.บ. นี้)

5.) กรณีตามข้อ 4 ผู้เสียหายต้องฟ้องใคร
    ตอบ ฟ้องเจ้าหน้าที่ (ห้ามฟ้องหน่วยงานของรัฐ)

6.) หากหน่วยงานของรัฐโดนฟ้อง แล้วเห็นว่าเจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิด หน่วยงานจะทำอย่างไรได้บ้าง
    ตอบ ขอให้ศาลเรียกเจ้าหน้าที่มาเป็นคู่ความในคดี

7.) ถ้าศาลยกฟ้องบุคคลตามข้อ 6 แล้วหน่วยงานพบว่า ยังมีบุคคลอื่นที่ต้องร่วมรับผิด หน่วยงานจะต้องทำอย่างไร
    ตอบ ฟ้องบุคคลที่ไม่ได้ถูกเรียกเข้ามาภายใน 6 เดือน นับแต่คำพิพากษาสิ้นสุด

8.) กรณีที่หน่วยงานชดใช้ค่าเสียหายแทน เจ้าหน้าที่ไปแล้ว มีกรณีใดที่หน่วยงานจะสามารถเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงินแก่หน่วยงาน
    ตอบ เหตุละเมิดเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่มีลักษณะ จงใจ หรือ ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

9.) จากเหตุการณ์ข้อ 8 หากเหตุละเมิดเกิดจากความผิดของหน่วยงานของรัฐร่วมด้วย จะต้องคิดค่าเสียหาย(สินไหม)อย่างไร
    ตอบ หักส่วนความรับผิดของหน่วยงานออกจากส่วนจำนวนค่าสินไหมทั้งก้อน

10.) นาย A,B, และ C เป็นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการปฎิบัติหน้าที่ ก่อให้เกิดค่าเสียหาย 300,000 บาท หากหน่วยงานให้ A ชดใช้ 150,000 บาท ให้ B ชดใช้ 100,000 บาท และให้ C ชดใช้ 50,000 บาท หาก A หนีหนี้ ถามว่า B และ C จะต้องร่วมกัดชดใช้ยอดเงิน 150,000 บาท ในส่วนของ A หรือไม่
    ตอบ ไม่(เพราะมิได้นำหลักลูกหนี้(หมายถึงร่วมรับผิด)ร่วมมาใช้)

11.) หากหน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมไปแล้วและต้องการเรียกให้เจ้าหน้าที่ที่ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ต้องเรียกภายในกี่ปี
    ตอบ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานชดใช้ค่าสินไหม

12.) กรณีเจ้าหน้าที่ทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐเอง หน่วยงานเห็นว่าเจ้าหน้าที่ทำผิดจะต้องเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมภายในกี่ปี
    ตอบ 2 ปี นับแต่รู้ว่ามีการละเมิดเกิดขึ้น และรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด

13.) กรณีตามข้อ 12. หากหน่วยงานเห็นว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำผิด แต่ต่อมากระทรวงการคลังเห็นว่าผิดให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมีกำหนดอายุความกี่ปี
    ตอบ 1 ปี นับแต่วันนี้หน่วยงานมีคำสั่งตามความเห็นกระทรวงการคลัง

14.) ถ้าผู้เสียหายขี้เกียจฟ้องศาล ผู้เสียหายจะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ในช่องทางใดบ้าง
    ตอบ ยื่นคำขอหน่วยงานของรัฐ / กระทรวงการคลัง

15.) กรณีตามข้อ 14. หน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาคำขอให้เสร็จภายในกี่วัน
    ตอบ 180 วัน นับแต่ได้รับเรื่อง หากไม่ทันให้รายงานรัฐมนตรีต้นสังกัด ขยายได้อีกไม่เกิน 180 วัน

16.) ใครเป็นคนวัดระเบียบในการผ่อนชำระค่าสินไหม
    ตอบ ค.ร.ม. คำนึงถึง 1.รายได้ ฐานะ ครอบครัว 2.ความรับผิดชอบ 3.พฤติการณ์แห่งกรณี

17.) กรณีตามข้อ 14. หากหน่วยงานของรัฐ ปฎิเสธไม่ยอมจ่ายค่าสินไหมทดแทน ผู้ยื่นคำขอต้องทำอย่างไร
    ตอบ ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งผลการพิจารณา

หน้าที่และความรับผิดในการปฎิบัติหน้าที่ราชการ แบ่งออกเป็น 3 กรณี
1.ความรับผิดทางวินัย หรือความรับผิดทางปกครอง
2.ความรับผิดทางแพ่ง(ละเมิด)
3.ความรับผิดทางอาญา
เพราะฉะนั้น ข้าราชการหนึ่งคน เวลาผิดอาจจะผิดทั้งวินัย ทั้งแพ่ง และอาญา หรือ อาจจะผิดเฉพาะ เรื่องของวินัยก็ได้

๑. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
เริ่มบังคับใช้ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙

๒. ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

๓. คำนิยาม

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฎิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็น การแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด

“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมี ฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราช บัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

ละเมิดต่อบุคคลภายนอก – กระทำละเมิดในการปฎิบัติหน้าที่
มาตรา ๕ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้ กระทำในการปฎิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะ ฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้

ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็น หน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง

ยกตัวอย่าง เช่น การขับรถในเวลาราชการ ใช้ความเร็ว 60-70 คนที่ขับคือเจ้าหน้าที่ ซึ่งกำลังปฎิ บัติงานราชการอยู่ ขับมาแต่เกิดล้อมันหลุดออก มันไปชนกับรถของชาวบ้าน(เอกชน) ได้รับความ เสียหาย เวลาชาวบ้านอยากได้ค่าสินไหมทดแทน ชาวบ้านก็ต้องมาฟ้องกับหน่วยงานรัฐโดยตรง แต่ จะฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ขับรถไม่ได้สังกัดหน่วยงานไหน ให้เราไปฟ้อง กระทรวงการคลัง

มาตรา ๑๑ ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา ๕ ผู้เสียหายจะยื่นคำ ขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ ในการนี้หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐานและพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งเช่นใดแล้วหากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของ รัฐก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ กฤษฎีกาได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย

มาตรา ๑๔ เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้อง ทุกข์ตามมาตรา ๑๑ ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

ยกตัวอย่างเช่น เรายื่นคำขอไปก่อน เช่นรถเราพังจากเจ้าหน้าที่ เราอยากได้เงินค่าแซ่มแสนหนึ่ง แต่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งออกมาแล้ว รถคุณมันพังไม่เยอะ เอาไปหมื่นเดียวพอ เราจึงไม่พอใจผล การวินิจฉัย ให้เราฟ้องคดีต่อศาลปกครองภายใน 90 วัน นี้คือสิทธิเรียกร้องทางปกครอง

ละเมิดต่อบุคคลภายนอก – กระทำละเมิดในทางส่วนตัว
มาตรา ๖ ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฎิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับ ผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วย งานของรัฐไม่ได้

ทางส่วนตัว แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 1. การละเมิดส่วนตัวโดยแท้ เช่น เสาร์-อาทิตย์ เราหยุด ราชการ เราไมได้ปฎิบัติหน้าที่ เราอาจจะขับรถไปกับครอบครัวของเรา แล้วรถของเรามันไปชนกับ รถของเอกชน คือ เราต้องรับผิดในทางส่วนตัว

2.การละเมิดส่วนตัวเชิงปฎิบัติหน้าที่ เช่น ตำรวจ หรือเทศกิจ ออกไปตรวจตลาด เขาปฎิบัติหน้าที่ แต่ในตลาดดันไปเจอคู่อริ แล้วเอาปืนไปยิงคู่อริ ก็ ถือว่าเป็นความผิดส่วนตัวนะ ในเชิงของการปฎิบัติหน้าที่ หน่วยงานของรัฐไม่สามารถที่จะชดใช้ค่า สินไหมให้คุณได้ ฉะนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐคนนี้ก็ต้องถูกฟ้องโดยตรง แต่เราจะไปฟ้องหน่วยงานของรับ ไม่ได้

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

1.ละเมิดต่อบุคคลภายนอก
แบ่งการกระทำออกเป็น 2 ส่วน
การทำละเมิดในการปฎิบัติหน้าที่
การทำละเมิดในทางส่วนตัว

2.ละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ
แบ่งการกระทำออกเป็น 2 ส่วน
การทำละเมิดในการปฎิบัติหน้าที่
การทำละเมิดในทางส่วนตัว

ละเมิดต่อบุคคลภายนอก (มาตรา ๕,๖,๑๑,๑๔)
๑.กระทำละเมิดในการปฎิบัติหน้าที่
บุคคลที่ถูกฟ้อง คือ หน่วยงานรัฐที่เป็นนิติบุคคล(อยู่ในมาตรา ๕) กับ กระทรวงการคลัง(อยู่มาตรา ๕ วรรคสอง) กรณีที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ได้สังกัดหน่วยงานไหนเลย คนที่ถูกฟ้อง คือ กระทรวงการคลัง เพราะฉะนั้น ถ้าเราไปละเมิดต่อบุคคลภายนอกในการปฎิบัติหน้าที่ บุคคลที่ถูกฟ้อง จะเป็นหน่วย งานของรัฐ หรือกระทรวงการคลังในมาตรา ๕ เท่านั้น

สิทธิของผู้เสียหาย แบ่งออกเป็น 2 กรณี 1. สิทธิเรียกร้องทางศาล 2. สิทธิเรียกร้องทางปกครอง
ศาลแบ่งได้ 2 ศาล คือ ศาลยุติธรรม เรียกว่า ละเมิดทางแพ่ง เกิดจากการปฎิบัติหน้าที่ธรรมดาทั่วๆ ไป เช่น ขับรถไปชน ศาลปกครอง เรียกว่า ละเมิดทางปกครอง ถ้าหากเจ้าหน้าที่ ได้ใช้อำนาจทาง กฎหมาย คำสั่งทางปกครอง หรือ คำสั่งอื่นๆ เช่น เทศบาลกำลังก่อสร้าง ทำท่อ ไม่ได้ทำตะแกรง เหล็กไว้ ทำให้ชาวบ้านเดินไปตกท่อ ได้รับความเสียหาย เป็นการละเมิดทางปกครอง ฉะนั้น สิทธิ ของผู้เสียหายเราจะต้องไปฟ้องต่อศาลปกครอง

สิทธิเรียกร้องทางปกครอง มีมาตราที่สำคัญ คือ มาตรา ๑๑,๑๔ ให้เราไปยื่นคำขอ

๒.การทำละเมิดในทางส่วนตัว
บุคคลที่ถูกฟ้อง คือ ตัวเจ้าหน้าที่
สิทธิของผู้เสียหาย มีอยู่สิทธิเดียว คือ สิทธิในการเรียกร้องทางศาลเท่านั้น ให้เราไปฟ้องต่อศาล ยุติธรรม(ละเมิดทางแพ่ง)

สอนโดย : พี่แมง ป.


5 เรื่องที่ควรหยุดสนใจ แล้วชีวิตจะดีขึ้นทันตา


3 เทคนิคจัดการ คนขี้อิจฉา / คิดลบ / ปากไม่ดี


บทเรียนที่คล้ายกัน

ติว พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539
ติว พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ บังคับใช้กับ 1.เจ้าหน้าที่ 2.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครองเจ้าหน้าที่คือใคร? มาตรา ๕ "เจ้าหน้าที่" หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล ...
แนวข้อสอบ Vocabulary สอบ ก.พ. ภาค ก.
แนวข้อสอบ Vocabulary สอบ ก.พ. ภาค ก. พาทำข้อสอบ Vocabulary ซึ่งเกี่ยวกับ คำศัพท์ 5 ข้อ พร้อมเฉลย และ อธิบายละเอียดวิธีการทำ  1.) She ...
ติวเทคนิค TOEIC Part Photos
ติวเทคนิค TOEIC Part Photos A. She's reading the labels on some boxes. √B. She's sorting mail into ...
สอนแก้โจทย์ โอเปอเรต
สอนแก้โจทย์ โอเปอเรต วิธีการแก้โจทย์โอเปอเรต1.) 3*2=92*4=22 5*3=? 2.) 8*5=9      9*3=36 15*7=? 3.) ถ้า 7*12=361       และ 13*14=729 ...
ติว IELTS Reading Part
เทคนิคการตอบ ข้อสอบ IELTS Reading รูปแบบ Flowchart การอ่านจับใจความภาพรวม-แยกย่อย การตัดคำตอบใน Multiple choice 13 ข้อ สอนโดย : ครูพลอย Berante ...