ติววิชาเอกสังคมศึกษา ครูผู้ช่วย
ภาค ข. วิชาเอกสังคมศึกษา
ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ส่วนของพระราชพิธีเบื้องปลาย ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค มีการจัดรูปขบวนเรือพระราชพิธี ทั้งหมด ๕๒ ลำ มีลักษณะหน้าที่แตกต่างกัน แบ่งออกเป็น ๒ เหล่า คือ เรือพระที่นั่ง และเรือเหล่าแสนยากรโดยเรือพระที่นั่ง ๔ ลำ ดังนี้
1. เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
เรือพระที่นั่ง มีความสำคัญมากที่สุดในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เพราะเป็นเรือที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เบื้องปลายนี้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จะประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งทรงประเภทเรือพระที่นั่งกิ่ง
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน มีอายุ ๑๐๘ ปี สร้างขึ้นในปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมือพุทธศักราช ๒๔๕๔ ชื่อเรือ สุพรรณหงส์ หมายความว่า หงส์ที่มีสีทอง
2. เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
เป็นเรือพระที่นั่งสำรอง ประเภทเรือพระที่นั่งศรีสักหลาด สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ อายุ ๑๐๒ ปี
3. เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง มีลำดับสูงสุดเช่นเดียวกับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างในรัชกาลที่ ๖ อายุ ๗๕ ปี โขนเรือจำหลักไม้ ปิดทองประดับกระจก เป็นรูปพญาอนันตนาคราช หรือ พญานาค ๗ เศียร และเป็นเรือพระที่นั่งหนึ่งในสองลำที่เจาะช่องบริเวณด้านหน้าโขนเรือ
4. เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ เป็นเรือพระที่นั่งรอง ประเภทเรือพระที่นั่งกิ่ง มีอายุ ๒๓ ปี จัดสร้างขึ้น เมื่อครั้งเฉลิมฉลองในโอกาส พระราชพิธ๊กาญจนาภิเษก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๙
การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร
โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
นับตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2468 (นับแบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2469) ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค หลังการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประเทศไทยก็ยังไม่มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครอีกเลย จนกระทั่งถึงเมื่อ วันที่ 12 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา
ซึ่งพระบาทสมเด็จสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 ขึ้น
ประเด็นสำคัญ
เป็นเวลา 93 ปี ในรัชสมัยของพระมหากษัตริย์ 2 รัชกาล ที่ประเทศไทย ว่างเว้นจากพระราชพิธีนี้ แม้ว่าในสมัยรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 17 ครั้ง แต่เป็นการจัดขึ้นเพื่อเสด็จไปถวายผ้าพระกฐิน และโอกาสอื่นๆ
การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค จุดตั้งต้นขบวนที่ท่าวาสุกรี แล้วเคลื่อนขบวนไปยังท่าราชวรดิฐ จากนั้นเสด็จฯโดยริ้วขบวนราบจากท่าราชวรดิฐไปยังพระบรมมหาราชวัง
ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ประกอบด้วย
เรือพระราชพิธี 52 ลำ รวมทั้งเรือพระที่นั่ง 4 ลำ
ใช้กำลังพลรวม 2,399 นาย เป็นกำลังพลฝีพาย 2,200 นาย และกำลังพลที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง และนักดนตรีประจำเรือ 199 นาย
การจัดริ้วขบวนพยุหยาตราเป็นแบบดาวล้อมเดือน
แบ่งเป็น 3 สาย 5 ริ้ว ประกอบด้วย
- ริ้วสายกลาง เป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ เรือที่พระนั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้ มีเรืออีเหลือง(เรือกลองนอก) เรือแตงโม(เรือกลองใน) ซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือพร้อมด้วยเรือตำรวจ 3 ลำ และเรือแซง 1 ลำ รวมเป็นจำนวน 10 ลำ
- ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง ประกอบด้วย เรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้า เรือเสือทะยานชลและเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือพิฆาต เป็นรูปสัตว์ 8 ลำ ปิดท้ายสายในด้วย เรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง ซึ่งเป็นเรือคู่ชักรวมเป็นจำนวน 14 ลำ
- ริ้วสายนอก ประกอบด้วย เรือดั้ง 22 ลำ และเรือแซง 6 ลำ แบ่งเป็นริ้วละ 14 ลำ รวมเป็นจำนวน 28 ลำ
สอนโดย : อ.ธี ติวเตอร์ ติวสอบครูผู้ช่วย
วิธีพัฒนาตัวเองที่ทำให้คุณเก่งเร็วและมีความสุขด้วย!
จากประสบการณ์วิทยากรกว่า 10 ปี มาแบ่งปันวิธีพัฒนาตัวเองให้เก่งเร็วและมีความสุขด้วย!
การพัฒนาตัวเอง หรือที่คนชอบเรียกว่า self-development เป็นเรื่องที่สำคัญในยุคที่เน้นสปีดอย่างยุคนี้ เราอยากก้าวหน้าเร็ว อยากเป็น talent ขององค์กร ก็ต้องคอยหาความรู้อยู่ตลอดเวลา
แต่ก็ไม่ใช่แค่หาความรู้อย่างเดียว เพราะวิธีเรียนรู้ก็สำคัญ จิตวิทยาการพัฒนาตัวเองก็สำคัญ และมุมมองก็สำคัญ แล้วเราจะทำยังไงดี?
การเอาชนะคนขี้อิจฉา คนพูดไม่จริงที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ ไม่ต้องเสียเวลาแก้แค้นใคร ผลกรรมจะทำเอง อโหสิ
เรื่องเล่าประสบการณ์แปลกๆ เร้นลับน่ากลัว หรือเรื่องของเวรกรรมที่ประสบพบเจอมาด้วยตนเองหรือของคนรอบข้างหรือได้ยินได้ฟังมา มาบรรยายถ่ายทอดให้ได้รับฟังกัน ทั้งเพื่อความบันเทิง และเป็นคติเตือนใจ ให้ผู้คนเกรงกลัวละเว้นจากบาปกรรม ต่อไป ด้วยความเครพอย่างสูงยิ่ง กระผม อานนท์
พูดคุยทักทายให้กำลังใจกันได้ที่ facebook แฟนเพจ อานนท์ เล่าเรื่อง