ระบบสุริยะ(Solar System)
เทหวัตถุในระบบสุริยะมีอะไรบ้าง
ในระบบสุริยะนั้น ประกอบไปด้วย ดวงอาทิตย์ และวัตถุอื่นๆที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวเคราะห์ กับ บริวารของดาวเคราะห์ ที่เรียกว่า ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกกาบาต
กาแล็คซีทางช้างเผือก คืออะไร
เป็นชื่อของกาแล็คซีที่ระบบสุริยะของเราสังกัดอยู่ ในคืนเดือนมืด แต่เรามองขึ้นไปบนท้องฟ้าจะเห็นเป็นแถบสีขาวผาดอยู่ ชาวกรีกจินตนาการว่า เป็นเสมือนทางนํ้านม จึงเรียกว่า The Milky way สำหรับคนไทยจินตนาการว่า เป็นทางเดินของช้างเผือก จึงเรียกว่า ทางช้างเผือก
ระบบสุริยะของเราจะมีขนาดใหญ่โตมา เมื่อเทียบกับโลกที่เราอาศัยอยู่ แต่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับ กาแล็คซี แต่ก็มีสิ่งที่ใหญ่กว่ากาแล็คซี นั้นคือ สถานที่ที่มีหลายกาแล็คซีมารวมกันอยู่เป็นระบบที่เรียกว่า เอกภพ
ระบบสุริยะของเราตั้งอยู่บริเวณใดของกาแล็คซีทางช้างเผือก
ระบบสุริยะตั้งอยู่ในบริเวณวงแขนของกาแล็คซีทางช้างเผือก ซึ่งเปรียบเสมือนวงล้อยักษ์ที่หมุนอยู่ในอวกาศ โดยระบบสุริยะจะอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางของกาแล็คซีทางช้างเผือกประมาณ 30,000 ปีแสง และต้องเวลาประมาณ 225 ล้านปี ในการเคลื่อนครบรอบจุดศูนย์กลางของกาแล็คซีทางช้างเผือกครบ 1 รอบ
กาแล็คซีทางช้างเผือกมีรูปร่างคล้ายกับอะไร
มีรูปร่างคล้ายกับก้นหอย กาแล็คซีทางช้างเผือกถูกจัดอยู่ในกาแล็คซีแบบก้นหอย
กาแล็คซีแบ่งออกได้ 3 ชนิด
1. กาแล็คซีแบบก้นหอย
2. กาแล็คซีแบบรูปไข่
3. กาแล็คซีแบบไร้รูปร่าง
นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นร่วมกันว่า เทหวัตถุทั้งมวลในระบบสุริยะ เกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน และมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี เท่ากัน ตาททฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะ แต่ในบรรดาของสมาชิกในระบบสุริยะทั้งหมดนั้น ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ 8 ดวง จะได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักดาราศาสตร์
ดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง ประกอบด้วย
ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
เราสามารถจำแนกดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง โดยใช้เกณฑ์ใดได้บ้าง
1. ใช้วงโคจรของโลกเป็นเกณฑ์ ได้แก่ ดาวเคราะห์วงใน คือ ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ และดาวเคราะห์วงนอก ซึ่งหมายถึง ดาวเคาะห์ที่ไกลจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
2. ใช้ลักษณะพื้นผิวเป็นเกณฑ์ ได้แก่ ดาวเคราะห์ก้อนหิน จะมีพื้นผิวแข็งเป็นหินและมชั้นบรยากาศบางๆห่อหุ้มอยู่ ยกเว้นดาวพุธที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดจะไม่มีบรรยากาศห่อหุ้ม ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร และดาวเคราะห์แก๊ส ที่มีส่วนประกอบเป็นแก๊สทั่วทั้งดวง แต่อาจมีแกนเป็นหินขนาดเล็กอยู่ภายใน พื้นผิวจึงเป็นบรรยากาศที่ปกคลุมด้วยแก๊ส มีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน ฮีเลียม ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
3. ใช้ทิศทางหมุนรอบตัวเองเป็นเกณฑ์ ได้แก่ ดาวพุธ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวเนปจูน จะหมุนรอบตัวเองในทิศทวนเข็มนาฬิกา ส่วนดาวอีก 2 ดวง ที่เหลือ คือ ดาวศุกร์ กับ ดาวยูเรนัส จะหมุนรอบตัวเองในทิศตามเข็มนาฬิกา
4. ใช้การมองเห็นเป็นเกณฑ์ ดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์ และดาวเคราะห์ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ได้แก่ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน
สอนโดย : ครูโอ๋ สื่อการเรียนการสอน