ติว พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539


ติว พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539

ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙

บังคับใช้กับ 1.เจ้าหน้าที่ 2.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง
เจ้าหน้าที่คือใคร?

มาตรา ๕ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม

อำนาจทางปกครองของรัฐ ที่พูดถึงนั้น คือ √อำนาจทางบริหาร ×ไม่เกี่ยวกับ นิติบัญญัติ× หรือตุลาการ×   
อำนาจทางปกครองที่เขาพูดถึงนั้น คือส่วนหนึ่งของอำนาจบริหาร

เจ้าหน้าที่ที่จะใช้อำนาจทางปกครอง คือใครบ้าง ?
บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล
นิติบุคคล เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนชีวิตจิตใจเหมือนบุคคลธรรมดา แม้ว่านิติบุคคลจะได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐได้ นิติบุคคลก็ไม่อาจจะใช้อำนาจได้ด้วยตนเองได้ ต้องให้บุคคลธรรมดา หรือ คณะบุคคล ใช้อำนาจแทนนิติบุคคล เรียกว่า ผู้แทน หรือ ผู้อำนาจทำการแทน ฉะนั้นในทางปฎิบัติ ผู้ที่ได้รับอำนาจทางปกครองจะมีอยู่ 2 ประเภท ก็คือ บุคคลธรรมดา และ คณะบุคคล แต่ใน พ.ร.บ. แบ่งเป็น 3 ประเภท ก็คือ บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล

“ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม”

สามารถตีความได้ว่า คนที่ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐ อาจจะเป็นบุคลากรในภาครัฐก็ได้ หรืออาจจะเป็นบุคลากรในภาคเอกชนก็ได้

    มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้
    “วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใดๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้
    “การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งการปกครอง

ตีความประโยค การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ ในส่วน”วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง”
มันก็คือ เป็นกระบวนการ วิธีพิจารณาทางปกครอง เพื่อทำให้เกิด คำสั่งทางปกครองขึ้น

มาดู “การพิจารณาทางปกครอง” ความหมายเดียวกันกับ “วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง” แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ “วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง”นั้น มีเพิ่มมา คือ “และรวมถึงการดำเนินการใดๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้”

    “คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า
    (๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ (คำสั่งทางปกครองโดยแท้)
    (๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง (คำสั่งทางปกครองโดยกำหนดโดยฝ่ายปกครอง)

คำสั่งทางปกครองแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1.คำสั่งทางปกครองโดยแท้ 2.คำสั่งทางปกครองโดยกำหนดโดยฝ่ายปกครอง

คำสั่งทางปกครอง ดูอย่างไร ?
จะต้องออกโดยเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่จะต้องใช้อำนาจตามกฎหมาย

อำนาจตามกฎหมาย คืออะไร ?
ก็คือ อำนาจทางปกครอง 
อำนาจทางปกครอง คืออะไร ?
ก็คือ อำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่เกี่ยวกับ นิติบัญญัติ ตุลาการ

การใช้อำนาจตามกฎหมาย
กรณีที่ ๑
    มาตรา ๑๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ที่ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการเงินเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เสนอสามารถเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรได้

กรณีที่ ๑ เป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ ?
   การพิจารณาจะเห็นว่า
“คำสั่งทางปกครอง ต้องออกโดยเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่จะต้องใช้อำนาจตามกฎหมาย”
นายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าหน้าที่ ได้เช่นกัน
ใช้อำนาจอะไร ?
แต่อำนาจที่เขาใช้เป็น อำนาจออกกฎหมาย(รับรองร่างพระราชบัญญัติ) เป็นอำนาจทางนิติบัญญัติ(ตรากฎหมาย) ไม่ใช่ อำนาจบริหาร
ฉะนั้นแสดงว่ากรณีนี้ ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง×

ความแตกต่างระหว่าง “คำสั่งทางปกครอง” กับ “กฎ”
กรณีที่ ๒
    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ออกใบอนุญาตให้นายดำก่อสร้างอาคารลงบนที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๓๒๕ แขวงคันนายาว เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร(เป็นการออกคำสั่งเฉพาะเจาะจง ทั้งบุคคล ทั้งกรณี  ตอบ เป็น คำสั่งทางปกครอง)

กรณีที่ ๓
    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ออกคำสั่งให้นายแดง เจ้าของอาคาร เลขที่ ๗๘/๒๓๐ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร รื้อถอนอาคารดังกล่าว (เป็นการออกคำสั่งเฉพาะเจาะจง ทั้งบุคคล ทั้งกรณี  ตอบ เป็น คำสั่งทางปกครอง)

กรณีที่ ๔
    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆของอาคารเลขที่ ๑๒ ถนนพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (เป็นการออกคำสั่งไม่เจาะจง บุคคล แต่เจาะจงกรณี  ตอบ เป็น คำสั่งทางปกครอง)

ถ้าเป็น กฎ จะต้องไม่มีการเจาะจงเลย ไม่ว่าจะเป็น บุคคล หรือ สถานที่ก็ตาม

ข้อยกเว้น การบังคับใช้ พ.ร.บ. นี้
1. ออก”กฎ”
2. มีกฎหมาย เฉพาะกำหนดวิธีปฎิบัติราชการทางปกครองไว้โดยเฉพาะ มาตรา 3
    – หลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม ไม่ตํ่ากว่า วิปกครอง
    – มาตราฐานในการปฎิบัติราชการ ไม่ตํ่ากว่า วิปกครอง
3., มีกฎหมาย เฉพาะกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้โดยเฉพาะ
4. มาตรา ๔ ทั้งหมด

    มาตรา ๓ วิธีปฎิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีการปฎิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฎิบัติราชการไม่ตํ่ากว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
    ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดในกฎหมาย

สรุปใน มาตราที่ ๓ เขาไม่ได้มองแค่ว่ากฎหมายมีการบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครองแล้ว จะยกเว้น ไม่ใช่ ต้องดูด้วยว่า ขั้นตอนที่กฎหมายเฉพาะได้มีการบัญญัติตํ่ากว่าเกณฑ์ของ พ.ร.บ. วิปกครองหรือไม่ ต้องเอามาเทียบกัน ถ้าตํ่ากว่าให้ใช้ พ.ร.บ. วิปกครอง แต่ถ้ามันสูงกว่าก็ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเอาพ.ร.บ. วิปกครอง มาบังคับใช้

มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
(๒) องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ
(๓) การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง
(๔) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์
(๕) การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
(๖) การดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ
(๗) การดำเนินงานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฎิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ
(๘) การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
(๙) การดำเนินงานกิจการขององค์การทางศาสนา
    การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่การดำเนินกิจการใดหรือกับหน่วยงานใดนอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง

เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจทำการพิจารณาทางปกครอง

มาตราเรื่อง
มาตรา ๑๙“เจ้าหน้าที่” จะต้องได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา ๑๒“เจ้าหน้าที่” จะต้องเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น
มาตรา ๗๕ – มาตรา ๘๔บัญญัติที่เกี่ยวกับ “เจ้าหน้าที่” ที่เป็นคณะกรรมการ
มาตรา ๑๓ และ มาตรา ๑๖“เจ้าหน้าที่” และกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองมีส่วนได้ส่วนเสีย
มาตรา ๑๘ข้อยกเว้นบทบัญญัติเรื่องความไม่เป็นกลาง
หมวด ๒ คำสั่งทางปกครอง ส่วนที่ ๑ เจ้าหน้าที่

    มาตรา ๑๙ ถ้าปรากฎภายหลังว่าเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือการแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฎิบัติไปตามอำนาจหน้าที่

    มาตรา ๑๒ คำสั่งทางปกครองจะต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น

“เจ้าหน้าที่” จะต้องเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น
กรณีที่ ๕
    การที่เจ้าหน้าที่ในสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดออกคำสั่งทางปกครองแทนหัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดในขณะที่ยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าว ต่อมามีคำสั่งแต่งตั่งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นออกคำสั่งทางปกครอง คำสั่งทางปกครองดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(เจ้าหน้าที่ที่ออกคำสั่งทางปกครอง ณ ตอนนั้น จะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับแต่งตั้งทางกฎหมายหรืออาจจะเป็นอำนาจที่ได้รับการมอบอำนาจมาอีกทีก็ได้ถึงจะออกคำสั่งทางปกครองได้ แต่ในกรณีนี้ เขาออกคำสั่งทางปกครองแทนหัวหน้าซึ่งยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้ง ถึงแม้ว่าจะมีการแต่งตั้งในภายหลังก็ตาม และมีผลย้อนหลัง แบบนี้ไม่ได้ มันไม่มีกฎหมายมารองรับว่าสามารถทำย้อนหลังได้ เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ เขาบอกตรงๆเลยว่า ณ วันที่ออกคำสั่งทางปกครองจะต้องมีอำนาจแล้ว ไม่มีการย้อนหลังใดๆทั้งสิ้น)

หมวด ๕
คณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครอง
(มาตรา ๗๕-๘๔)

คณะกรรมการไม่ได้เจาะจงว่าจะเป็นใคร คณะกรรมการในที่นี้มาจาก 1.กฎหมายกำหนด 2.กฎ 3.คำสั่ง

คณะกรรมการในที่นี้ หมายถึง คณะกรรมการทุกรูปแบบ ทุกประเภท ไม่ได้เฉพาะเจาะจง

“คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท” หมายความว่า คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่มีการจัดองค์กรและวิธีพิจารณาสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

สอนโดย: Tutor North


อาจารย์ยอด : อุบายคนโบราณ [น่ารู้]


บทเรียนที่คล้ายกัน

ทำโจทย์ ตรรกศาสตร์ สอบ กพ ภาค ก.
ทำโจทย์ ตรรกศาสตร์ สอบ กพ ภาค ก. ตะลุยโจทย์ข้อสอบ พร้อมสูตรการแก้โจทย์ ตรรกศาสตร์ ก็ออกข้อสอบแนวเดิมๆ คืออาจจะถามแค่ว่า สอดคล้องหรือไม่สอดคล้อง ตรรกศาสตร์ เป็นเรื่องของการใช้เหตุใช้ผล แต่ก็ชวนงงได้เช่นกัน สอนโดย : ...
คณิตศาสตร์ทั่วไป
คณิตศาสตร์ทั่วไป การแก้โจทย์สมการการแก้ปัญหาแบบฝึกหัด สอนโดย : พี่แมง ป. แนะนำหนังสือสอบเข้าแพทย์ จิตวิทยามหาเสน่ห์ (สำหรับผู้หญิง)
การทำโจทย์ บทความภาษาไทย สอบ กพ ภาค ก
การทำโจทย์ บทความภาษาไทย สอบ กพ ภาค ก บทความสั้น เหมือนจะยากสุดแล้ว เพราะเวลาเราอ่าน เราอย่าไปอ่านบทความแบบรวดเดียวจบ ให้เราพยายามหา เหตุ และ ผล แล้วก็ ประเด็นหลัก ...
เงื่อนไขภาษา สอบ กพ ภาค ก
เงื่อนไขภาษา สอบ กพ ภาค ก เงื่อนไขภาษาเป็นข้อสอบที่ใช้เวลาเยอะมากในการทำ แนะนำให้สอบวิชาอื่นก่อน สอนการแก้โจทย์เงื่อนไขภาษา และวิธีการเรียบเรียงข้อมูลพร้อม Stepแรกในการทำข้อสอบ ด้วยการ สร้างตาราง ลงข้อมูล และ จับคู่ สอนโดย : ...
ติวสอบ TU-GET Reading
ติวสอบ TU-GET Reading หลักการทำข้อสอบ TU-GET Reading มีเทคนิคอะไรบ้าง 1.อ่านคำถามและ choice แรกพร้อมขีดเส้นใต้คำที่เราคิดว่าสำคัญมา และทำให้เราทราบว่าหัวเรื่องที่เรากำลังจะอ่านเรื่องอะไร และคำถามข้อแรกๆ จะอยู่ในย่อหน้าแรกๆ คำถามกลางๆจะอยู่ในย่อหน้ากลางๆ ส่วนคำถามท้ายๆ จะอยู่ในย่อหน้าท้ายๆ การอ่าน ...