แนวข้อสอบ PAT 5 ความถนัดวิชาชีพครู จิตวิทยา ความรู้ทั่วไป
โครงสร้างข้อสอบ PAT 5 เป็นการวัดระดับความรู้ใน 2 ส่วน ได้แก่ …
1.ส่วนเนื้อหา
1) ความรู้ทั่วไปในบริบทของความเป็นครู
2) สถานการณ์หรือปัญหาทั่วไป รวมทั้งเชิงนามธรรม
– วัดแววความเป็นครู
– ความรู้ทั่วไป
– ความถนัดด้านภาษา
– ความถนัดด้านเหตุผล
– ความถนัดด้านตัวเลข
– ความถนัดด้านมิติสัมพันธ์
2. ส่วนสมรรถนะ
1) สมรรถนะและคุณสมบัติความเป็นครู
2) สมรรถนะทางความคิดเพื่อการเรียนรู้
ข้อสอบ PAT5
จิดวิทยาครู 20 ข้อ
ความรู้รอบตัว 20 ข้อ
ภาษาไทย 20 ข้อ
ตรรกศาสตร์ด้านภาษา 15 ข้อ
คณิตศาสตร์ 25 ข้อ
อนุกรมรูปภาพ 20 ข้อ
ตัวอย่างข้อสอบ PAT5 ความถนัดด้านภาษา
ฉันอายุมากแล้วแต่ชอบใส่กำไลเพราะมี ………… ว่าเวลาใส่กำไลนั้น
เหมือนมีกำไรชีวิต ทุกอย่างที่เกิดขึ้นแล้วดีเสมอ สิ่งนี้เป็น …………. เพื่อ
เตือนว่าชีวิตที่ผ่านมาคุ้มแล้วกับการมีชีวิตอยู่ และเวลาที่เหลือคือกำไร
1. ความคิด สัทพจน์
2. ความเชื่อ สัจธรรม
3. ความรู้สึก สัญลักษณ์
4. ความเข้าใจ นามธรรม
5. ความคาดหวัง คติธรรม
คำอธิบาย
ตัวเลือกที่ 3 ที่เหมาะสมที่สุดเมื่อนำมาเติมในช่องว่าง
คือคำว่า ความรู้สึก และ สัญลักษณ์ เพราะคำแรกเป็นคำที่
ขนานกับคำว่า “ชอบ” ซึ่งความชอบเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่ง
และประโยคที่ว่า “เวลาใส่กำไลนั้นเหมือนมีกำไรชีวิต” นั้น
เป็นการเล่นคำ คำว่า “กำไล” เป็นสัญลักษณ์ หรือตัวแทนของกำไรชีวิต
จิตวิทยา และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นครู
จิตวิทยาสำหรับครู คือ ศาสตร์เพื่อความเข้าใจในความแตกต่างของผู้เรียน นำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนให้ไปสู่แนวทางที่พึงประสงค์
แนวคิดการปรับพฤติกรรมของ B.F. Skinner
การลงโทษทางบวก (บวกสิ่งที่ไม่ชอบ) เช่น เมื่อนักเรียนพูดคำหยาบ ครูลงโทษด้วยการตำหนิ ทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ลดลง หรือยุติไป
การลงโทษทางลบ (ลบสิ่งที่ชอบ) เช่น เมื่อนักเรียนเล่นเกมในโทรศัพท์มือถือขณะอยู่ในคาบเรียน ครูจึงยึดโทรศัพท์มาวางไว้หน้าห้องเรียนจนกว่าจะหมดคาบเรียน
การเสริมแรงทางบวก (บวกสิ่งที่ชอบ) เช่น เมื่อนักเรียนตอบคำถามได้ ครูจึงชมเชย
การเสริมแรงทางลบ (ลบสิ่งที่ไม่ชอบ) เช่น วันนี้นักเรียนตั้งใจเรียนในห้อง ครูจึงไม่ให้การบ้านเลย
ลองทำข้อสอบ
เหตุการณ์ทั้ง 2 ข้อต่อไปนี้ เป็นการปรับพฤติกรรมในรูปแบบใด
ก. ครูให้นักเรียนคัดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 50 คำ เนื่องจากนักเรียนไม่ได้ทำการบ้านส่ง
ข. ครูพูดชมเชยนักเรียนที่พูดแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน
1. การเสริมแรงทางบวก และ การเสริมแรงทางลบ
2. การลงโทษทางบวก และ การลงโทษทางลบ
3. การลงโทษทางบวก และ การเสริมแรงทางบวก
4. การลงโทษทางลบ และ การเสริมแรงทางบวก
5. การลงโทษทางบวก และ การเสริมแรงทางลบ
ข้อใดมีการเสริมแรงทางลบ
1. ครูตำหนินักเรียนที่ลืมนำการบ้านมาส่ง
2. ครูกล่าวชมเชย หลังจากนักเรียนคนหนึ่งออกมาแก้โจทย์ปัญหาหน้าชั้นเรียน
3. ครูจะให้นักเรียนทำความสะอาดห้องเรียนเพิ่มขึ้นอีก 1 สัปดาห์ หากพบว่านักเรียนไม่ทำความสะอาดเมื่อถึงเวรทำความสะอาดของตน
4. ครูดุนักเรียนห้องชั้น ม.6/1 ทุกคาบเพราะห้องเรียนสกปรก จนวันหนึ่งนักเรียนในห้องตัดสินใจกันช่วยทำความสะอาด ครูจึงหยุดดุนักเรียน
5. นักเรียนคนหนึ่งพูดคำหยาบในห้องเรียน ครูจึงให้เขาคัดประโยคว่า “เขาจะไม่พูดคำหยาบอีก” เป็นจำนวน 100 จบ
ตัวอย่างข้อสอบจริง PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
ครูมาลี สังเกตุพบว่าเด็กหญิงอลิศราที่นั่งเรียนในห้องมีพฤติกรรมต่างจากเดิม คือเงียบเมื่อถามคำถามในชั้นเรียน ซึ่งต่างจากพฤติกรรมปกติที่ช่างพูด ช่างคุย และสนใจที่จะตอบคำถามหรือร่วมกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียน
ถ้าหากท่านเป็นครูมาลี ท่านคิดว่าจะดำเนินการอย่างไรจึงจะเหมาะสม เพื่อช่วยให้นักเรียนได้กลับมามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
1. ถามคำถามที่คิดว่า อลิศราตอบได้ และเรียกให้อลิศราเป็นคนตอบคำถามนั้น
2. แบ่งกลุ่มให้อริศราได้ทำงานร่วมกับเพื่อน เพื่อให้อลิศราลืมปัญหาที่มี
3. สอบถามปัญหาของอลิศรากับเพื่อนนักเรียนในชั้นว่า มีปัญหาอะไรจึงเงียบไป
4. สอบถามอลิศราเป็นการส่วนตัวถึงเรื่องราวในชีวิตของอลิศราเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ
5. ช่วยกระตุ้นให้อลิศราเกิดความสนใจการเรียนมากขึ้น
คำตอบของผู้เรียนข้อใด ที่ท่านคิดว่าเป็นคำตอบที่ใช้ความคิดระดับที่สูงกว่าการใช้ความจำ มาตอบคำถามที่ครูถามว่า “นักเรียนมีเหตุผลอย่างไร จึงให้คำตอบเช่นนั้น”
1. “ผมคิดว่าเป็นคำตอบที่เหมือนกับที่ครูเฉลยมา”
2. “หนูเข้าใจว่า ที่หนูตอบมาถูกต้องแล้ว”
3. “ผมได้สอบถามข้อมูลต่างๆ กับแหล่งข้อมูลที่นำมาอ้างอิงไว้อย่างชัดเจนแล้ว”
4. “หนูได้ทบทวนกับเพื่อนแล้วว่า คำตอบของหนูน่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง”
5. “ผมได้แยกคำตอบออกมาเป็นข้อๆ ตามที่เขียนอยู่ในหนังสือเรียนเลยครับ”
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 (หน้า 16)
3R x 8C คือทักษะที่ผู้เรียนควรมีในศตวรรษที่ 21
3R ได้แก่
Reading อ่านออก
wRiting เขียนได้
ARithmetics คิดเลขเป็น
8C ได้แก่
Critical Thinking and Problem Solving – คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะในการแก้ปัญหา
Creativity and Innovation – ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
Cross cultural Understanding – ทักษะความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
Collaboration Teamwork & Leadership – ทักษะการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
Communications, Information and Media literary – ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
Computing and ICT literacy – ทักษะคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Career and learning Skills – ทักษะอาชีพ และ ทักษะการเรียนรู้
Compassion – ความมีเมตตา กรุณา วินัย คุณธรรม จริยธรรม
ทักษะ 3R x 8C สอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาตามมาตรา 22 ที่ว่า
“การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ”
การจัดการศึกษาในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ตอบสนองกับทิศทางการพัฒนาดังกล่าว
ตัวอย่างข้อสอบ(ผู้เรียน)
ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของผู้เรียนที่มีทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. ผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
2. ผู้เรียนที่เรียนรู้ที่จะค้นพบสิ่งใหม่ๆเสมอ
3. ผู้เรียนที่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีวิจารณญาณ
4. ผู้เรียนที่มีความรู้เชิงลึก กว้างขวางในทุกๆ สหวิชาชีพ
5. ผู้เรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีสมรรถนะการคิดในระดับสูง
ข้อใดไม่ได้อยู่ในขั้นตอน “ประยุกต์ใช้ความรู้” ของผู้เรียน
1. เมื่อเรียนเรื่อง “ทักษะการเขียน” จบ จอยเริ่มแต่งนิยายเรื่องแรกลงในเว็บไซต์
2. จูน คำนวณหาปริมาตรนํ้าในตู้เลี้ยงปลา โดยใช้สูตรคำนวณที่เคยเรียนในวิชาคณิตศาสตร์
3. จันทร์ เคยเรียนการปฐมพยาบาลเบี้องต้นมาจากวิชาสุขศึกษา จึงสามารถปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือคนจมนํ้าได้อย่างถูกวิธี
4. แจน บอกเส้นทางให้ชาวต่างชาติได้อย่างคล่องแคล่ว เพราะเคยฝึกพูดมาก่อนในชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษ
5. เมื่อจบชั่วโมงเรียนเรื่อง “ความน่าจะเป็น” เจี๊ยบฝึกทำข้อสอบจากหนังสือเล่มอื่นที่ครูไม่ได้ใช้สอน โดนสามารถทำข้อสอบได้ถูกต้อง
ขัอใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. ครูมีบทบาทในการจัดบริบทการเรียนรู้ ตั้งคำถามที่ท้าทายความสามารถ กระตุ้น สนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการสร้างความรู้ และให้ความช่วยเหลือผู้เรียนในทุกๆด้าน
2. ครูต้องสอนให้เด็กมีทักษะกระบวนการคิด โดยสามารถตคิดวิเคราะห์ในเรื่องต่างๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์
3. การมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม กามีประสบการณ์ตรง และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันของผู้เรียน มีส่วนช่วยในการสร้างความรู้ใหม่
4. ประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างความรู้ใหม่ และผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้และประสบการณ์เดิมที่แตกต่างกัน
5. ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถเข้าใจในบทเรียนที่ออกแบบโดยครูผู้สอนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีความคิดให้ตรงกับแนวคิดผู้สอน
ข้อใดเป็นแนวคิดของการจัดการเรียนรู้ แบบ Flipped Classroom
1. ครูสุดา ให้นักเรียนรวมกลุ่มกันทำแบบฝึกหัด โดยนักเรียนสามารถปรึกษากันได้ เปิดหนังสือหรือค้นหาคำตอบจากอินเตอร์เน็ตได้
2. ครูวารี สอนโดยใช้สื่อโทรทัศน์ในการจัดการเรียนการสอน โดยคอยเป็นผู้ให้คำแนะนำและตอบคำถามนักเรียน
3. ครูปรีดา ให้นักเรียนไปค้นคว้าหาความรู้เรื่อง “ความน่าจะเป็น” มาล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน
4. ครูมีนา สอนวิชาภาษาไทยโดยไม่ให้การบ้านนักเรียนเลยตลอดปีการศึกษา
5. ครูพิชิต สอนโดยการใช้โครงงานเป็นฐาน และกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนโดยการ “ตั้งคำถาม”
ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)
รูปแบบการสอนที่ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาสาระมาล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน โดยผู้สอนมีหน้าที่เพียงช่วยแนะนำ(Coaching) ตอบข้อซักถาม ผ่านการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ไม่ใช่ผู้บรรยายหน้าชั้นเรียนอีกต่อไป
ข้อใดเป็นทักษะพื้นฐานการเรียนรู้หรือสาระวิชาหลัก ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมถึงวิชาอื่นๆ ตามแนวคิด “3R”
1. ทักษะด้านภาษาแม่ ภาษาที่ 2 และภาษาที่ 3
2. ทักษะการคิด ทักษะการเขียน ทักษะการคำนวณ
3. ทักษะด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยี และการสื่อสาร
4. ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน และทักษะการคำนวณ
5. ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการสื่อสาร ทักษะอาชีพ
ข้อใดกล่าวถึง “3R8C” ได้ถูกต้องและชัดเจนที่สุด
1. ทักษะการถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
2. ทักษะสำคัญจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
3. ทักษะด้านการใช้สื่อ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการใช้เทคโนโลยีในศตววษที่ 21
4. ทักษะการใช้ชีวิต และทักษะการประกอบอาชีพในศตววษที่ 21
5. ทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อผู้เรียนที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
อ่านทบทวน
-การใช้จิตวิทยาครูเพื่อปรับพฤติกรรมนักเรียน
-คุณสมบัติของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
เรื่อง ผู้สอน(ครู)
ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) มีการกำหนดแนวทางการปฎิรูปการเรียนรู้ เพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะต้องมีการ เปลี่ยนโฉมบทบาท “ครู” ให้เป็นครูยุคใหม่
ครูในศตวรรษที่ 21
เปลี่ยน จาก “ครู” เป็น “โค้ช” จากครูที่คอยบอกความรู้ถ่ายทอดความรู้ มาเป็น ชี้นำ แนะนำแนวทาง อละพร้อมที่จะเรียนรู้ไปกับนักเรียน
แต่สิ่งที่ครูต้องมี เหมือนเดิมคือ จรรยาบรรณวิชาชีพครู และ มาตรฐานวิชาชีพครู
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน
1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
2. มาตรฐานการปฎิบัติงาน
3. มาตรฐานการปฎิบัติตน
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ พ.ศ. 2556 มีสาระสำคัญ 5 หมวด
หมวด 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง
หมวด 2 จรรยาบรรณต่ออาชีพ
หมวด 3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
หมวด 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
หมวด 5 จรรยาบรรณต่อสังคม
มาตรฐานวิชาชีพครู เป็นหลักสำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือ การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ตัวอย่าง
ครูวิโรจน์ พัฒนาตนเองให้เป็นคนทันเหตุการณ์ มีวิสัยทัศน์ ติดตามการพัฒนาวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ แสดงว่าครูวิโรจน์มีจรรยาบรรณตามข้อใด
1. จรรยาบรรณต่อตนเอง
2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
4. จรรยาบรรณต่อเพื่อร่วมประกอบวิชาชีพ
5. จรรยาบรรณต่อสังคม
พฤติกรรมของครูคนใดที่ประพฤติตามมาตรฐานการปฎิบัติงานแล้วเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด
1. ครูเสาร์ มีการประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างสมํ่าเสมอ
2. ครูอาทิตย์ มีการประเมินผลและแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียนอย่างสมํ่าเสมอ
3. ครูจันทร์ มีการประเมินผลเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน และพัฒนาความสามารถของผู้เรียนอย่างสมํ่าเสมอ
4. ครูอังคาร ประเมินผลและแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน พัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้สูงขึ้นเต็มขีดความสามารถของแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
5. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
ข้อใดคือบทบาทของผู้สอน ที่มีคุณสมบัติตามต้นแบบของครูยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21
1. ครูมานี ใช้สื่อการสอนทำมือ ที่ทำด้วยตนเองทุกชิ้น
2. ครูปราณี มีความเข้าใจวิชาที่ตนเองสอนเป็นอย่างดี
3. ครูวารี ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้เรียนอย่างละเอียดทุกประเด็น
4. ครูนที แนะนำแอฟพลิเคชันที่ช่วยในการเรียนรู้คำศัพท์ให้แก่นักเรียน
5. ครูอารี สร้างสภาวะที่กดดันในห้องเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนตอบถาม
ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูในศตวรรษที่ 21
1. วางแผนการสอนและแบบเรียนที่เน้นผุ้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2. ให้นักเรียนเรียนรู้จากการสืบเสาะหาความรู้เป็นหลัก
3. วางกรอบแนวคิดให้นักเรียนคิดตามสิ่งที่ผู้สอนได้กำหนดไว้อย่างมีระบบ
4. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาเจตคติและทักษะต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
5. สอนให้เด็กมีทักษะกระบวนการคิดโดยสามารถคิดวิเคราะห์ในเรื่องต่างๆได้
มาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ได้กล่าวถึงมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ว่า “การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุลต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้ผู้เรียน เรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้”1. ภาษาไทย
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์
4. สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม
5. สุขศึกษา และ พลศึกษา
6. ศิลปะ
7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8. ภาษาต่างประเทศ
ระบบการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ได้กล่าวถึง การวัดปละประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า “การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงการพัฒนาการ”
ซึ่งการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการ คือ การประเมินเพื่อพัฒนา และ เพื่อตัดสินผลการเรียน
ในศตวรรษที่ 21 เน้น “การประเมินเพื่อพัฒนา” มากกว่า “ประเมินเพื่อตัดสิน”
การประเมินเพื่อพัฒนา(Formative Assessment)
ทำได้หลายรูปแบบ เช่น สังเกตผลงาน วิเคราะห์ผลการสอบ รวมถึงการเก็บข้อมูลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไม่เป็นทางการ เช่น การสังเกต พูดคุย ซักถาม บันทึก แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ ต้องปรับปรุงอะไร หรือผู้สอนควรปรับปรุงอะไร เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตาม มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือการประเมินเพื่อพัฒนาผลการเรียน
1. ตัวอย่างชิ้นงาน
2. แบบทดสอบก่อนเรียน
3. แบบทดสอบระหว่างเรียน
4. แบบทดสอบปลายภาคเรียน
5. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอน
การประเมินผลก่อนเรียน นำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องใดได้มากที่สุด
1. เพื่อให้การช่วยเหลือที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน
2. เพื่อฟื้นฟูความรู้เดิมของผู้เรียน
3. เพื่อทราบพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน
4. เพื่อนำคะแนนไปเป็นส่วนหนึ่งของผลการเรียน
5. เพื่อรู้แนวทางในการให้โจทย์การสร้างชิ้นงานแก่ผู้เรียน
ระบบหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21
ปัจจุบัน การจัดการศึกษาภายในโรงเรียนต้องจัดอิงตาม … หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
4 จุดเน้นของหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21
– มุ่งเน้นเชิงสหวิทยาการของวิชาแกนหลัก
– ประยุกต์ททักษะเชิงบูรณาการข้ามสาระ
– มีเทคโนโลยีเป็นตัวเกื้อหนุน
– บูรณาการแหล่งเรียนรู้จากชุมชน
ระบบการพัฒนาทางวืชาชีพในศตวรรษที่ 21
เน้นการนำความรู้ไปสู่การปฎิบัติในชีวิตจริง โดยจัดการเรียนรู้แบบใช้ โครงงานเป็นฐาน (Project – Based Learning) ซึ่งจะกระตุ้นให้นักเรียนเกิดคำถาม เกิดความอย่างรู้ ฝึกการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning)
Project-Based Learning | Problem-Based Learning |
เริ่มต้นด้วยชิ้นงาน (โครงงาน) | เริ่มต้นด้วยคำถาม |
เรียนรู้ผ่านเหตุการณ์จริง | เรียนรู้ผ่านเหตุการณ์จำลอง หรือ กรณีศึกษา |
เป้าหมายสำคัญ คือ การสร้างองค์ความรู้ | เป้าหมายสำคัญคือการสืบเสาะ แสวงหาความรู้ |
การเรียนขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์ของชิ้นงาน | การเรียนคำเคลื่อนด้วยคำถาม |
ตัวอย่างข้อสอบ จิตวิทยา และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเป็นครู
ข้อใดคือบรรยากาศการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ก. ครูผู้สอนต้องสร้างการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฎิบัติจริง
ข. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เช่น การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
ค. เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อนครู เพื่อบูรณาการทักษะการเรียนรู้
ง. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านตำราเรียน และการจดบันทึกข้อมูลครอบคลุมกับความต้องการ
1. เฉพาะข้อ ก และ ข
2. เฉพาะข้อ ข และ ค
3. เฉพาะข้อ ก ข และ ค
4. เฉพาะข้อ ก ข และ ง
5. ทั้งข้อ ก ข ค และ ง
การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีลักษณะแบบใด
1. ผู้สอนให้โอกาสแก่ผู้เรียนทุกคนได้มีโอกาสรับรู้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของแต่ละคนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. ผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้ โดยเน้นที่เนื้อหาและความรู้ที่จะสอนมากกว่าปัจจัยอื่น
3. ผู้สอนต้องพัฒนาความรู้ความสามารถของตน เพื่อสามารถตอบคำถามในสิ่งที่ผู้เรียนสงสัยได้
4. ผู้สอนต้องพร้อมที่จะปรับตัวและพัฒนาตนเองให้เท่าทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ และต้องมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะและวิทยาการให้ทันสมัย
5. ผู้สอนต้องเตรียมแหล่งข้อมูลทั้งที่เป็นสื่อการเรียน ใบความรู้่ ใบงาน และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ หรือศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
บทบาทสำคัญที่สุดของผู้เรียน ในกระบวนการเรียนการสอนแบบ Project-Based Learning คือข้อใด
1. มีภาวะผู้นำสูง
2. มีทักษะการตั้งคำถาม
3. มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี
4. สามารถเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
5. มีทักษะที่ดีในการสร้างสรรค์ และการออกแบบการเรียนรู้
พฤติกรรมในข้อใดที่แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีความสามารถทางวิชาชีพครู
1. ไม่สามารถจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการได้ครบทุกคาบเรียน
2. ใช้สื่อการสอนประเภทเดียวกันทุกคาบเรียน ตลอดปีการศึกษา
3. ใช้วิธีการสอนโดยเน้นให้นักเรียนเป็นผู้ลงมือค้นคว้าและหาความรู้ด้วยตัวเอง
4. ไม่สามารถสอนจนบรรลุจุดมุ่งหมายของรายวิชาได้ภายใน 1 คาบเรียน
5. ถูกทุกข้อ
ครูการะเกดพบว่านักเรียนส่วนใหญ่เบื่อหน่ายที่จะเรียนหนังสือ เนื่องจากเนื้อหาวิชายากเกินความสามารถ ครูการะเกดควรใช้วิธีใดในการแก้ปัญหา
1. สอนให้ง่ายขึ้น เพื่อเด็กจะได้เข้าใจ
2. เพิ่มแบบฝึกหัดให้นักเรียนทำ จะได้เกิดความชำนาญ
3. อธิบายเพิ่มเติมในข้อที่ต้องใช้ความเข้าใจมาก
4. ถามนักเรียนว่าต้องการเรียนเนื้อหาใด และสอนเนื้อหาที่นักเรียนต้องการเรียน
5. ให้นักเรียนออกไปพักผ่อนเพื่อบรรเทาความเครียด และสอนในครั้งต่อไป
ท่านให้นักเรียนเขียนเรียงความแสดงความเห็น 1 หน้ากระดาษ ปรากฎว่ามีเด็กคนหนึ่งตอบไม่ตรงประเด็นคำถาม ท่านจะมีวิธีให้คะแนนเด็กอย่างไร
1. ให้คะแนนเป็นศูนย์ เพราะตอบข้อสอบไม่ตรงประเด็น
2. พิจารณาให้คะแนนเฉพาะคำตอบที่ตรงประเด็น
3. พิจารณาให้คะแนนโดยใช้ดุลยพินิจของครูเป็นหลัก
4. พิจารณาให้คะแนนในส่วนของข้อเท็จจริง
5. พิจารณาให้คะแนนตามความเหมาะสม
สอนโดย : ALTV4 ครูพี่ตาล ชิดชนก ชูช่วย