ติว พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (และที่แก้ไขใหม่)


ติว พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (และที่แก้ไขใหม่)

พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง เกี่ยวกับ (พูดภาษาชาวบ้าน)คือการทะเลาะ กับ หลวง รัฐ
หรือการที่ประชาชนทะเลาะกับรัฐ จึงมีการออก พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง มาเพื่อ
กระบวนการก่อนที่ หลวงจะไปพิพาท กับ ประชาชน จะมีขั้นตอน หรือ บทบาทการเอาชนะอย่างไร
ถ้าเราเข้าใจโครงสร้าง พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง ฉบับนี้ เราก็จะเข้าใจมันทั้งหมด
เราจะมาขยายความ หลวง กับ รัฐ มันคืออะไร ให้เรานึกถึง ส่วนราชการ ก่อน
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบ ด้วย
1. ส่วนกลาง ก็มี กระทรวง ทบวง กรม
2. ส่วนภูมิภาค ก็มี จังหวัด อำเภอ
3. ท้องถิ่น ก็มี องค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล
พัทยา กรุงเทพมหานคร
ทั้งหมดนี้ เรียกว่า ส่วนราชการ เป็น 1 สมาชิกของคำว่า หลวง
นอกจากนั้นยังมี รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งหมดนี้ เราจะเรียกว่า เป็นส่วนประกอบของหน่วยงานของรัฐ หรือที่เราเรียกภาษาชาวบ้าน ว่า หลวงหรือว่า รัฐ ภาษากฎหมายเราเรียกว่า หน่วยงานของรัฐ

หน่วยงานของรัฐ มีอะไรบ้าง
1.มีกฎหมาย ไม่ว่าจะกรมอะไรก็ตาม ก็ต้องมีกฎหมายให้อำนาจ ให้หน้าที่
2.มีงบประมาณ ว่าจะจัดสรรมาจากไหน หน่วยงานของรัฐมีงบประมาณของเขาหมด
3.มีบุคลากร คือ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง อื่นๆ แล้วแต่จะเรียกชื่อ เพื่อให้มาทำงาน มาใช้
กฎหมาย มีการใช้งบประมาณ  นี้ก็คือ องค์ประกอบคร่าวๆของหน่วยงานของรัฐ

ถ้าหน่วยงานของรัฐเหล่านี้ มาเกิดการขัดแย้งทะเลาะกัน กับคนธรรมดาหรือประชาชน คนที่ทะเลาะ
กับประชาชนก็คือ บุคลากรของหน่วยงานของรัฐ ใช้กฎหมายต่างๆแล้วมาขัดแย้งทะเลาะกับ
ประชาชน อันนี้จะเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว ก็จะเป็นที่มาของคำว่า ทะเลาะกับหลวงกับรัฐ นี้คือพื้นฐาน

เรามาขยายให้เห็นตรงนี้ ในโลกของคำว่า ข้าราชการ บุคลากรของหน่วยงานของรัฐ คนเหล่านี้มี
สถานะ เป็นได้ทั้ง ข้าราชการ และ ประชาชน เพราะฉะนั้น ข้าราชการ ก็อาจพิพาททะเลาะกับหน่วย งานของรัฐก็ได้

เหตุที่ราชการจะปะทะแล้วเกิดเรื่องกับประชาชน ทั่วโลกรวมถึงไทย มีอยู่ 3 อย่าง
1.ออกคำสั่ง
2.ออกกฎ
3.การกระทำ
ซึ่งทั้ง 3 อย่าง นี้ถามว่า หลวงไปเอาอำนาจจากไหน คำตอบคือ เขาอาศัยกฎหมาย มาเป็นตัวออก
คำสั่ง แล้วถามว่าใครเป็นคนเซ็นออกกฎ คำสั่ง ต่างๆ ก็คือบรรดา บุคลากร ข้าราชการ ทั้งหลาย เหล่านี้

แต่ที่นี้ถ้าพวก กฎ คำสั่ง ต่างๆ ออกมาเรื่อยๆแล้วมันไม่มีมาตรฐาน มันก็เท่ากับว่าทำให้ประชาชน ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพมากขึ้น ฉะนั้น น่าจะมีกฎหมายตัวหนึ่งที่จะยกระดับมาตรฐานไม่ให้กระทบกับ ประชาชนมากขึ้น ก็เกิด พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง ขึ้น

เรามาดูภาพรวมของ พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง
1.คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง คือ เกี่ยวข้องกับบุคลากรต่างๆที่มีหลายคน ที่จะทำ
หน้าที่มา ตีความ อะไรต่างๆ เกี่ยวกับ พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง
2.คำสั่งทางปกครอง คือ หนึ่งในเหตุที่จะเกิดการกระทบกับประชาชน
3.ระยะเวลา,อายุความ คือ ถ้าเกิดไม่พอใจ การออกคำสั่งต่างๆ จะต้องอุทธรณ์ในระยะเวลาเท่าไร
4.การแจ้ง
5.คณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง คือ กำหนดว่าในหน่วยงาน ในองค์กรต่างๆ มันจะ
มีการตั้งกรรมการคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อพิจารณาทางปกครอง คณะกรรมการเหล่านั้น ซึ่งระบุไม่
ได้ว่ามีกี่คณะ
บทเฉพาะกาล

คำสั่งทางปกครอง ต้องรู้เกี่ยวกับ
1.เจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย บรรดาบุคลากรทั้งหลาย
2.คู่กรณี คือ ประชาชน แต่บุคลากรทั้งหลาย อาจจะตกเป็นคู่กรณีทะเลาะกับรัฐก็ได้
3.การพิจารณา คือ เวลาจะออกพวก คำสั่ง กฎ ต่างๆ จะออกแบบไหน
4.รูปแบบและผล คือ คำสั่งมีรูปแบบอย่างไรบ้าง หลักเกณฑ์ต่างๆ
5.อุทธรณ์ คือ เวลาคนโดนคำสั่งทางปกครอง ไม่ค่อยจะพอใจ ต้องมาอุทธรณ์
6.เพิกถอน คือ อุทธรณ์เพื่อให้เขาเพิกถอน หรือเจ้าหน้าที่เพิกถอน เองก็ได้
7.ขอพิจารณาคดีใหม่ คือ อุทธรณ์มีระยะเวลากำหนดไว้ บางที่มันเกิดระยะเวลาอุทธรณ์ แต่มันเข้า
เหตุในการขอพิจารณาคดีใหม่ ก็มาขอพิจารณาคดีใหม่ได้ ถ้าพิจารณาคดีใหม่แล้ว ปรากฎว่าคำสั่ง
เดิมไม่ชอบ ก็เพิกถอนได้
8.การบังคับ คือ คำสั่งการปกครองออกไปแล้ว ถ้าไม่มีการบังคับ มันก็เหมือนกับ อีเอ๋รุกป่าคืนที่ก็จบ
ไม่มีการบังคับที่ชัดเจน คำสั่งทางปกครองออกไปต้องชัดเจน ต้องมีการบังคับมันถึงจะมีคนกลัว

วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง
แปลว่า การเตรียม หรือว่าการดำเนินการ ก่อนจะออกคำสั่งการปกครอง ออกกฎ จะไปดำเนินการ
ทางปกครอง จะต้องออกมาจากหลวงหน่วยงานของรัฐ เพราะว่า มีกฎหมาย มีเจ้าหน้าที่ ออก ตำสั่ง
กฎ แล้วก็การกระทำ เตรียมที่จะออก มีการสอบสวนมีการพิจารณาเรื่องอย่างไร ดำเนินการออกจะ
ต้องทำแบบไหนของเจ้าหน้าที่ในการจัด

ส่วนผลิตคำสั่งทางปกครอง อย่างแรกเลย 1. ต้องมีเจ้าหน้าที่ 2.กฎหมาย 3.ใช้อำนาจตามกฎหมาย
มีผลทางกฎหมาย(นิติสัมพันธ์) เช่น ก่อให้เกิด เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ กระทบสิทธิหน้าที่ เช่น
การสั่ง อนุญาต อนุมัติ วินิจฉัยอุทธรณ์ รับรอง รับจดทะเบียน *มีผล เป็นการเฉพาะบุคคลและกรณี

มันมีการกระทำใดของรัฐ ที่มันไม่ได้มีผลเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะกรณี คำตอบคือ มี นั้นคือ “กฎ”
กฎ ก็คือ จะตรงข้ามกับคำสั่งการปกครอง กฎ เมื่อออกไปแล้วจะไม่ได้ใช้ เฉพาะบุคคล หรือ เฉพาะ กรณี

ลักษณะเด่นของ พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง
1.เป็นกฎหมายกลาง
2.ไม่ใช้กับ 1.รัฐสภา 2.องค์กรตามรัฐธรรมนูญ 3.การพิจาณาของนายกรัฐมนตรีในงานนโยบาย
4.การพิพากษาคดีของศาล การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนพิจารณาคดี บังคับคดี วาง
ทรัพย์ 5.วินิจฉัย เรื่องร้องทุกข์(กฎหมายกฤษฎีกา) 6.นโยบายต่างประเทศ 7.ทหาร,ยุทธการ,สงคราม
8.กระบวนการยุติธรรมทางอาญา 9.องค์กรศาสนา 10.อื่นๆ(ตรา พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.))

เจ้าหน้าที่ คือคนที่จะมาวิวาทกับประชาชน ที่จะมาออกคำสั่งทางปกครองกระทบกับประชาชน
เจ้าหน้าที่ จะต้อง เป็นกลาง มีอำนาจตามกฎหมายในเรื่องที่ออกคำสั่ง
เจ้าหน้าที่ จะมีหลักประกันในการเป็นกลางก็คือ ห้าม 1.เป็นคู่กรณี 2.คู่หมั้น คู่สมรส 3.ญาติ 4.เป็น เคยเป็น ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้พิทักษ์ ผู้แทน ตัวแทน 5.เป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ นายจ้าง
มีผลทำให้ หยุดพิจารณาทันที และ ทำการแจ้งผู้บังคับบัญชา

คู่กรณี อาจจะเป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคล นิติบุคคล
มีความสามารถ
1. อายุ 20 ปี ,บรรลุนิติภาวะ
2.กฎหมาย บอกว่าให้กระทำเรื่องนั้นได้
3.นิติบุคคล,คณะบุคคล
4.นายกประกาศให้คนเหล่านี้เป็นผู้กรณีได้

การพิจารณา
ก็คือการพิจารณาทางปกครอง กระบวนการที่ คู่กรณีกับเจ้าหน้าที่ จะมาเถียงกันว่า คุณออกคำสั่ง
อย่างนี้ ชอบไม่ชอบ หรือผมขอให้คุณออกคำสั่งแบบนี้ได้มั้ย เวลาจะยื่นเรื่องเข้าไป เอกสารต่างๆ
ที่จะยื่นต่อเจ้าหน้าที่ต้องเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นภาษาอังกฤษต้องแปลเป็นภาษาไทย ถ้ามีข้อยกเว้น
ถ้ามีภาษาอักฤษแล้วไม่มีภาษาไทย ถ้าเจ้าหน้าที่ยอมรับอนุญาตก็ถือว่าใช้ได้

สมมุติว่า เอกสารจะต้องยื่นภายใน 7 วัน ปรากฎว่า ยื่นเอกสารภาษาอังกฤษมาแล้ว ในวันสุดท้าย
พอดีคือวันที่ 7 เจ้าหน้าที่บอกให้แปลเป็นภาษาไทยมา ปรากฎว่ามายื่นคำแปลภาษาไทยในวันที่ 10
ถามว่า เราจะตีความว่า คนๆนี้ยื่นเอกสารภายใน 7 วัน หรือเลยกำหนด 7 วัน คำตอบคือ เราจะถือ
ว่าเอกสารของใครยื่นในกำหนดหรือเปล่า ให้ดูจากวันที่เขายื่นคำแปลเป็นภาษาไทย

หน้าที่อีกประการในการพิจารณา เจ้าหน้าที่จะต้องแจ้งสิทธิคู่กรณี
สิทธิของคู่กรณี มีอะไรบ้าง
1.มีสิทธิที่จะชี้แจงข้อเท็จจริง ให้โอกาสในการโต้แย้ง
2.มีสิทธิที่จะขอดูเอกสาร(ห้ามขอดูตัวร่างของคำสั่งการปกครอง)
3.นำทนายเข้ามาได้

ข้อยกเว้นในการไม่แจ้งข้อเท็จจริง
1.เป็นกรณีจำเป็นรีบด่วน ช้าไปจะทำให้เกิดการเสียหาย
2.ระยะเวลาตามกฎหมายจะล่าช้าออกไป
3.ข้อเท็จจริงของคู่กรณีให้ไว้เองแล้ว
4.เห็นได้ชัดว่าทำไม่ได้
5.มาตรการการบังคับทางปกครอง
6.อื่นๆ ตามที่กฎกระทรวงระบุ

การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
ในการตรวจเอกสาร ก่อนที่จะออกคำสั่งการปกครอง จะตรวจได้จากความเหมาะสม แม้จะเป็นเรื่องที่
เกินกว่าที่ตัวคู่กรณี เขาขอมาก็ตาม ก็สามารถพิจารณาได้หมด จะไปขอเอกสารจากคนอื่นมา
พิจารณาก็ได้ ถึงแม้ตัวกรณีไม่ได้อ้าง แต่มันจะส่งผลให้งานออกมาดี ก็ทำได้

หลักในการพิจารณาพยานหลักฐาน
เจ้าหน้าที่สามารถเรียกขอ เอกสารเพิ่มเติมได้
-แสวงหาข้อเท็จจริง
-รับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติม
-ขอข้อเท็จจริงเพิ่มเติมก็ได้
-เรียกเอกสารเพิ่มเติมก็ได้
-ออกไปตรวจสถานที่ก็ได้
แม้สิ่งเหล่านี้จะเกินคำขอ ก็สามารถทำได้ เพราะเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะตรวจสอบทุกสิ่งทุกอย่าง
ตามความเหมาะสม แม้จะเกินกว่าสิ่งที่คู่กรณีขอมาก็ตาม

รูปแบบและผลของคำสั่งทางปกครอง
รูปแบบประกอบด้วย รูปแบบเป็นหนังสือ รูปแบบเป็นวาจา รูปแบบอื่นๆ เช่น ไฟจราจร

รูปแบบเป็นหนังสือ
มักจะระบุต้องพิจารณาให้เสร็จ ภายใน 30 วัน จะต้องระบุ วัน/เดือน/ปี จะต้องระบุ ชื่อ ตำแหน่ง
ของผู้ออกคำสั่ง ต้องมีลายเซ็น
ระบุเหตุผล ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ข้อพิจารณาสนับสุนันดุลพินิจ
ขอเว้น ตรงกับเนื้อหาที่ขอมา,ไม่กระทบคนอื่น รู้กันดีอยู่แล้ว เป็นเรื่องลับ เป็นเรื่องเร่งด่วน(ให้
เหตุผลภายหลัง)
เนื้อหาระบุสิ่งใด
1.เริ่มต้น,สิ้นสุด จากเวลา
2.เริ่มต้น,สิ้นสุด จากเหตุการณ์
3.สงวนสิทธิยกเลิก
4.หน้าที่ของผู้รับประโยชน์ ทำ,งดเว้น ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ จัดให้มีข้อกำหนด
5.สิทธิในการอุทธรณ์โต้แย้ง ระยะเวลา…. ” ถ้าไม่ระบุเวลา ให้นับระยะเวลาตั้งแต่วันที่แจ้งใหม่

กรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าการทำหนังสือ สมบูรณ์
1.ถ้าออกโดยไม่มีคนยื่นคำขอ แต่ตอนหลังมีคนยื่นคำขอ
2.ออกโดยไม่มีการแจ้งเหตุผล แต่มีการมาแจ้งเหตุผลภายหลัง
3.ออกโดยไม่มีการรับฟังเหตุผล แต่ถ้าภายหลังปล่อยให้มีการรับฟังเหตุผลเพิ่มเติม
4.ออกโดยไม่ได้เห็นชอบโดยเจ้าหน้าที่คนอื่นก่อน แต่ตอนหลังเจ้าหน้าที่คนนั้นมาเห็นชอบให้ภายหลัง
เมื่อสมบูรณ์แล้ว มันจะมีผลใช้ยันบุคคลอื่นได้ ตั้งแต่มีผู้รับแจ้ง จะมีผลอยู่จนกว่าจะถูกเพิกถอน หรือ
สิ้นผลไป

คำสั่งทางปกครอง มีผล ต่อเมื่อได้รับแจ้ง สิ้นสุดเมื่อไร ตอบ ไม่รู้ เพราะอาจจะถูกเพิกถอน อาจจะ
สิ้นสุดลงเงื่อนไขเวลา หรือว่าสิ้นสุดลงด้วยเงื่อนไขอื่นๆ

คำสั่งทางปกครอง ออกเป็น วาจา ก็ได้ แต่ถ้าคนรับคำสั่ง ร้องขอ ให้ทำเป็นหนังสือภายใน 7 วัน
นับตั้งแต่มีคำสั่ง คนออกคำสั่งต้องออกหนังสือยืนยันคำสังให้

คำสั่งทางปกครองทางวาจา มีผลตั้งแต่วันที่รับแจ้งทันที

การอุทธรณ์
เมื่อมีผู้รับแจ้ง ผลจึงจะเกิดแล้ว ถ้าเขาไม่พอใจ เขาจะมาอุทธรณ์ได้ คนที่มีสิทธิ์อุทธรณ์ ต้องเป็นคู่
กรณีเท่านั้น คู่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ออก
คำสั่ง รูปแบบต้องทำเป็นหนังสือ ในหนังสือต้องระบุ ข้อโต้แย้ง ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย(อุทธรณ์ไม่
มีผลลุเลาคำสั่งทางปกครอง) เจ้าหน้าที่จะต้องพิจารณาโดยเร็ว คือไม่เกิน 30 วัน ซึ่งการพิจารณา
ออกมาได้ 2 ทาง คือ 1.เห็นด้วย ก็ทำการแก้ไข หรือ ทำการเพิกถอน 2.ไม่เห็นด้วย ให้เจ้าหน้าที่
ส่งต่อไปอีกบุคคลหนึ่ง คือ ผู้มีอำนาจในการพิจารณา กฎหมายไม่ได้เขียนว่าใคร แต่อาจเป็นผู้
บังคับบัญชา ของเจ้าหน้าที่คนนี้ ผู้บังคับบัญชาจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับ
เรื่องมา และ สามารถขยายเวลาพิจารณาได้อีก 30 วัน
ถามว่า ระยะเวลาของคู่กรณีจะต้องรอในการพิจารณาทางปกครองมากที่สุดคือวัน คำตอบคือ 90 วัน

การเพิกถอน
คือการทำให้คำสั่งสิ้นสุดลง ผู้มีอำนาจในการเพิกถอน เจ้าหน้าที่ ผู้ออกคำสั่ง การเพิกถอน เจ้า
หน้าที่สามารถเพิกถอนเองก็ได้ ไม่ต้องรอให้ใครยื่นอุทธรณ์ แม้จะพ้นระยะเวลาอุทธรณ์ไปแล้วก็ตาม

หลักในการเพิกถอน
คำสั่งทางปกครอง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือออกแบบผิดกฎหมาย โดยหลักเราไม่ควรให้ที่กับ เอ๋รุก
ป่า แต่ดันมีคำสั่งไปให้ที่กับ เอ๋รุกป่า แบบนี้เรียกว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งทางปกครอง ไม่
ชอบด้วยกฎหมาย สามารถเพิกถอนทั้งหมด หรือ บางส่วน ก็ได้ สามารถเพิกถอนย้อนหลังได้ เพิก
ถอนในอนาคตก็ได้
คำสั่งทางปกครอง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ให้ประโยชน์ เวลาไปเพิกถอน ให้คำนึงถึงความซื่อ
สุจริตของผู้รับ
คำสั่งทางปกครอง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ให้ประโยชน์ คนที่ถูกเพิกถอน มีสิทธิเรียกค่าทด
แทนภายใน 180 วัน
การอ้างว่าตัวเองซื่อสุจริตจริง คือ เราไม่ปิดบังข้อมูลบางอย่าง ให้ข้อความไม่ครบถ้วน รู้ถึงความไม่
ชอบด้วยกฎหมาย

คำสั่งทางปกครอง ชอบด้วยกฎหมาย สามารถเพิกถอนได้ เพิกถอนทั้งหมดก็ได้ บางส่วน หรือ อนาคตก็ได้ แต่จะเพิกถอนย้อนหลังไม่ได้

การขอพิจารณาคดีใหม่
คู่กรณีมีสิทธิที่จะยื่นคำขอให้เจ้าหน้าที่พิจารณาคดีใหม่ แม้จะพ้นระยะเวลาอุทธรณ์ ถ้ามีกรณีต่อไปนี้
1,มีพยานหลักฐานใหม่
2,คู่กรณีที่แท้จริงพึ่งปรากฎตัวจริง
3,เจ้าหน้าที่พิสูตรแล้วว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครอง
4,ข้อเท็จจริง หรือ ข้อกฎหมายเพิ่งจะมาเปลี่ยนแปลง
หลักเกณฑ์
คู่กรณีจะต้องยื่นคำขอภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่รู้เหตุ

ข้อแตกต่างของการขอพิจารณาคดีใหม่ กับ การอุทธรณ์ คือการอุทธรณ์คดีมันยังไม่สิ้นสุด แต่
การขอพิจารณาคดีใหม่ คดีอาจจะสิ้นสุดไปแล้วได้

โหลดเอกสารประกอบการติวฟรี 3 ชุด ดังนี้
1. ไฟล์สรุป
2. ไฟล์กฎหมายเต็ม
3 ไฟล์กฎหมายเต็ม (ฉบับที่เพิ่มเติมหมวด 2/1)

สอนโดย : พี่แมง ป.


วิธีพัฒนาสมอง ให้เก่งขึ้น อย่างรวดเร็ว ?


วิธีชนะใจคน และเพศตรงข้าม” คบบัณฑิต


บทเรียนที่คล้ายกัน

ทำโจทย์ ตรรกศาสตร์ สอบ กพ ภาค ก.
ทำโจทย์ ตรรกศาสตร์ สอบ กพ ภาค ก. ตะลุยโจทย์ข้อสอบ พร้อมสูตรการแก้โจทย์ ตรรกศาสตร์ ก็ออกข้อสอบแนวเดิมๆ คืออาจจะถามแค่ว่า สอดคล้องหรือไม่สอดคล้อง ตรรกศาสตร์ เป็นเรื่องของการใช้เหตุใช้ผล แต่ก็ชวนงงได้เช่นกัน สอนโดย : ...
ทำโจทย์ Vocabulary ภาษาอังกฤษ กพ 60
ทำโจทย์ Vocabulary ภาษาอังกฤษ กพ 60 Vocabulary เป็นคำศัพท์ เราไม่สามารถคาดคะเนไว้เลยว่า ข้อสอบคำศัพท์จะออกมาแบบไหน เราต้องท่องศัพท์และรู้ศัพท์ให้มากที่สุด เราจะลองทำโจทย์ Vocabulary1.)I get a new job ...
ติว พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539
ติว พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ บังคับใช้กับ 1.เจ้าหน้าที่ 2.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครองเจ้าหน้าที่คือใคร? มาตรา ๕ "เจ้าหน้าที่" หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล ...
ติวข้อสอบ TU-GET 63 ส่วนของ Grammar
ติวข้อสอบ TU-GET 63 ส่วนของ Grammar สอนเทคนิคการดูข้อสอบใน Part Grammar 6 ข้อ และ Error 5 ข้อ ถ้าใครไม่มีพื้นฐาน Grammar ...
วิเคราะห์ข้อสอบ error identification TOEFL iTP 30 ข้อ
วิเคราะห์ข้อสอบ error identification TOEFL iTP 30 ข้อ 1.) The kaleidoscope works on the principle of multiply ...