เจาะจุดออกสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เวอร์ชัน มันเป็นแป้ง


เจาะจุดออกสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เวอร์ชัน มันเป็นแป้ง

นายก ทำหน้าที่ รักษาการตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้
นายก เป็น หัวหน้ารัฐบาล
นายก เป็น ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักรัฐมนตรี

ที่ทำงานของนายกรัฐมนตรี คือ สำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็น กระทรวง (หรือเทียบเท่ากระทรวงก็ได้)
ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการในกระทรวง คือ  นายกรัฐมนตรี
ใครเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวง ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มีหน้าที่ ออกกฎกระทรวง
ในแต่ละกระทรวงก็จะมี กรมต่างๆ
ใครใหญ่สุดในกรม ตอบ อธิบดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มีหน้าที่ เสนอชื่อ อธิบดี ให้ ค.ร.ม. พิจารณา
ค.ร.ม. เป็นคนพิจารณาเลือก อธิบดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ขอ ค.ร.ม. โอนทรัพย์สินได้
ใครเป็นผู้ช่วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ตอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
ใครเป็นผู้ช่วย นายกรัฐมนตรี ในการดูแลกิจการบริหารข้าราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ตอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ รองนายกรัฐมนตรี
ปลัดกระทรวง เป็น ข้าราชการประจำ
ปลัดกระทรวง อยู่รองจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ตำแหน่งใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวง รองจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ตอบ ปลัดกระทรวง
ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการใน สำนักนายกรัฐมนตรี รองจาก นายกรัฐมนตรี ตอบ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่อะไร ตอบ เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ปลัดกระทรวง ทำหน้าที่อะไร ตอบ เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง
ในกระทรวง ก็จะมี สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานรัฐมนตรี คือ ที่ทำงานของ เลขานุการรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง คือ ที่ทำงานของ ปลัดกระทรวง
กรมต่างๆ ของกระทรวง คนที่ใหญ่ที่สุดในกรม คือ อธิบดี
หน้าที่ของ เลขานุการรัฐมนตรี เช่น ด้านการเมือง , ทั่วไป , ทั้งหาอาหาร ให้ รัฐมนตรี
หน้าที่ของกรมๆ เช่น งานที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
หน้าที่ของปลัดกระทรวง คือ ดูแลงานทั่วไป ในระดับกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง รับผิดชอบ งานทั่วๆไปในกระทรวง
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานอะไร ให้ตอบว่า งานทั่วๆไปเหมือนกัน
สำนักงานปลัดกระทรวง รับผิดชอบ การวางแผนทรัพยากร การวางแผนงานกลุ่มภารกิจ
ใครเป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ ตอบ ใครก็ได้ที่ไม่ตํ่ากว่า อธิบดี
ใครที่สามารถแต่งตั้ง หัวหน้ากลุ่มภารกิจได้บ้าง ตอบ ใครก็ได้ที่ไม่ตํ่ากว่า อธิบดี
ปลัดกระทรวง และ  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็น ข้าราชการประจำ
นายกรัฐมนตรี,รัฐมนตรีว่าการกระทรวง,รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง , เลขานุการรัฐมนตรี เป็น นักการเมือง ไม่ต้องสอบ ก.พ. เข้ามา
ปลัดกระทรวง , อธิบดี เป็น ข้าราชการประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็น กระทรวง
ในสำนักนายกรัฐมนตรี มี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นที่ทำงาน ของ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ ทั่วไป ทำทุกอย่าง
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็น นักการเมือง
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีรอง 2 ฝั่ง 1. ฝ่ายการเมือง 2 . ฝ่ายงานประจำ(เป็นข้าราชการพลเรือน)
ในสำนักนายกรัฐมนตรี มี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(ค.ร.ม.) 
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(ค.ร.ม.) ทำหน้าที่จัดประชุมใน ค.ร.ม. 
รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(ค.ร.ม.) เป็น ข้าราชการประจำ
หัวหน้าการปฎิบัติงานทางวิชาการ เราจะเรียกเขาว่า หัวหน้าส่วนราชการประจำเขต
เลขาธิการสำนักงาน จะเทียบเท่าได้กับ อธิบดี 
กรม แบ่งออกเป็น กองต่างๆ หรืออาจจะเรียกว่าสำนักก็ได้ หรือ ศูนย์ก็ได้
งานทั่วไป ในระดับ กรม เป็นงานของ สำนักงานเลขานุการกรม
โจทย์
1. สำนักนายก ตอบ เป็น กระทรวง
2. งานทั่วไปในกระทรวง ตอบ ปลัดกระทรวง
3. ผู้ใดรับผิดชอบงานทั่วไปในกรม ตอบ เลขานุการกรม
4. กฎกระทรวงออกโดยใคร ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง(หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด)
5. ใครพิจารณาแต่งตั้ง อธิบดี ตอบ คณะรัฐมตรี(ค.ร.ม.)
6. ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นใคร ตอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
7. ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวง คือใคร ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
8. ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวง รองจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คือใคร ตอบ ปลัดกระทรวง
9. ใครเป็นหัวหน้ารัฐบาล ตอบ นายกรัฐมนตรี
10 . เลขาธิการ คณะรัฐมนตรี เป็นข้าราชการ ประจำ หรือ การเมือง ตอบ ข้าราชการประจำ(ข้าราชการพลเรือน)

ปฎิบัติหน้าที่แทน
ปฎิบัติราชการแทน
รักษาราชการแทน

ปฎิบัติหน้าที่แทน ไม่ใช่เวลาราชการ , ใช้กับนายกเท่านั้น

ช่วงเวลาเลือกตั้ง เรียกว่า สูญญากาศทางการเมือง ช่วงนี้ นายกคนเก่าสามารถเป็น รักษาการ ไปก่อน

ถ้าหากเกิดเหตุการณ์นี้กับ *นายกรักษาการ* > ติดคุก,โดนมติถอดถอน,ถูกศาลรัฐธรรมนูญถอดถอน,ขาดคุณมบัติบางประการ,โดน ส.ว. ถอดถอน,เสียชีวิต, จะต้องหาผู้ “ปฎิบัติหน้าที่แทน

แล้วใครสามารถมาเป็นผู้ปฎิบัติหน้าที่แทน > ค.ร.ม (รักษาการขณะนั้น)  พิจารณาเลือก รองนายก มา 1 คน เพื่อ “ปฎิบัติหน้าที่แทน” ในช่วงเวลาเลือกตั้ง(สูญญากาศทางการเมือง) เท่านั้น

สูญญากาศทางการเมือง
 ระหว่าง ค.ร.ม. ชุดเดิมรอ ค.ร.ม. ชุดใหม่เข้ามาปฎิบัติหน้าที่
หาก *นายกรัฐมนตรี*(นายกรักษาการ) ติดคุก,โดนมติถอดถอน,ถูกศาลรัฐธรรมนูญถอดถอน,ขาดคุณมบัติบางประการ,โดน ส.ว. ถอดถอน,เสียชีวิต, ให้ ค.ร.ม. เลือก รองนายก มา “ปฎิบัติหน้าที่แทน
-ถ้าไม่มีรองนายก ให้ ค.ร.ม. มอบหมาย รมต.ว่าการกระทรวง คนใดคนหนึ่ง มา “ปฎิบัติหน้าที่แทน

ปฎิบัติราชการแทน หมายถึง การแสดงเจตนามอบอำนาจ 
 การที่ข้าราชการคนหนึ่งกำลังปฎิบัติราชการอยู่ในเวลาราชการ ได้มอบอำนาจงานให้บุคลากร ไปทำแทน เช่น การประชุม,สัมมนา ฯลฯ ซึ่งการมอบอำนาจงานให้คนอื่นทำแทน เรียกว่า การแสดงเจตนา หรือ การปฎิบัติราชการแทน นั้นเอง

รักษาราชการแทน

ถ้า นายกรัฐมนตรี ไม่สามารถปฎิบัติราชการได้
-ถ้ามี รองนายก 1 คน ก็ให้เป็น ผู้รักษาราชการแทน
-ถ้ามี รองนายก หลายคน ให้ ค.ร.ม. เลือกรองนายก 1 คน เป็น ผู้รักษาราชการแทน
-ถ้าไม่มีรองนายก ให้ ค.ร.ม. เลือก รมต.ว่าการกระทรวง มา 1 คน เป็น ผู้รักษาราชการแทน

ถ้า ไม่มี รมต.ว่าการกระทรวง หรือมี แต่ปฎิบัติราชการไม่ได้
-ถ้ามี รมข.ว่าการกระทรวง 1 คน ก็ให้เป็นผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้ามี รมข.ว่าการกระทรวง หลายคน ให้ ค.ร.ม. เลือก รมข.ว่าการกระทรวง มา 1 คน เป็นผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้าไม่มี รมข.ว่าการกระทรวง ให้ ค.ร.ม. เลือก รมต.ว่าการกระทรวง กระทรวงอื่น เป็นผู้”รักษาราชการแทน

เลขานุการ รมต.ว่าการกระทรวง
-ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการ 1 คน ก็ให้เป็นผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการ หลายคน ให้ รมต.ว่าการกระทรวง เลือก ผู้ช่วยเลขานุการ มา 1 คน เป็นผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้าไม่มี ผู้ช่วยเลขานุการ ให้ รมต.ว่าการกระทรวง เลือกข้าราชการในกระทรวง เป็นผู้”รักษาราชการแทน

ปลัดกระทรวง
-ถ้ามี รองปลัดกระทรวง 1 คน ก็ให้เป็น ผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้ามี รองปลัดกระทรวง หลายคน ให้ รมต.ว่าการกระทรวง เลือกรองปลัดกระทรวง 1 คน เป็น ผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้าไม่มี รองปลัดกระทรวง ให้ รมต.ว่าการกระทรวง แต่งตั้ง ข้าราชการในกระทรวง(เทียบเท่า,ไม่ตํ่ากว่าอธิบดี) เป็น ผู้”รักษาราชการแทน

รองปลัดกระทรวง
-ปลัดกระทรวง เลือกข้าราชการในกระทรวง (เทียบเท่า,ไม่ตํ่ากว่า ผ.อ.กอง) เป็น ผู้”รักษาราชการแทน

อธิบดี
-ถ้ามี รองอธิบดี 1 คน ให้เป็น ผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้ามี รองอธิบดี หลายคน ให้ปลัดกระทรวง เลือก รองอธิบดี มา 1 คน เป็น ผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้าไม่มี รองอธิบดี ให้ปลัดกระทรวง แต่งตั้ง ข้าราชการในกรม(เทียบเท่าอธิบดี) หรือ เทียบเท่า , ไม่ตํ่ากว่า หัวหน้ากอง เป็น ผู้”รักษาราชการแทน
-รมต.ว่าการกระทรวง แต่งตั้ง ข้าราชการที่ไม่ตํ่ากว่า รองอธิบดี ได้ หากเห็นว่าเหมาะสม(แย่งปลัดกระทรวงแต่งตั้งได้เลย)

รองอธิบดี
-อธิบดี แต่งตั้ง ข้าราชการในกรม (เทียบเท่ารองอธิบดี),(ข้าราชการตั้งแต่หัวหน้ากอง,เทียบเท่า) เป็น ผู้”รักษาราชการแทน

เลขานุการกรม
-อธิบดี แต่งตั้งข้าราชการในกรม(ไม่ตํ่ากว่าหัวหน้ากอง,เทียบเท่า)เป็น ผู้”รักษาราชการแทน

หัวหน้าคณะผู้แทน
-ให้รองหัวหน้าคณะผู้แทน เป็น ผู้”รักษาราชการแทน

ผู้ว่าราชการจังหวัด
-ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็น ผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้า รองผู้ว่าราชการจังหวัด มีหลายคน ให้ปลัดกระทรวง เลือกมา 1 คน เป็น ผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้าไม่มี รองผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด 1 คน เป็น ผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้า ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด มีหลายคน ให้ปลัดกระทรวง เลือกผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด มา 1 คน เป็น ผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้าไม่มี ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ ปลัดจังหวัด เป็น ผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้า ปลัดจังหวัด มีหลายคน ให้ปลัดกระทรวง เลือก ปลัดจังหวัด มา 1 คน เป็น ผู้”รักษาราชการแทน
-ถ้าไม่มีทั้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัด,ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด,ปลัดจังหวัด, ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดที่อาวุโสที่สุด เป็น ผู้”รักษาราชการแทน

นายอำเภอ
-ไม่มี นายอำเภอ ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด เลือก ปลัดอำเภอ หรือ หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ ที่อาวุโสที่สุด มา 1 คน เป็น ผู้”รักษาราชการแทน
-มี นายอำเภอ อยู่ แต่ปฎิบัติราชการไม่ได้ ให้ตัวนายอำเภอเอง เลือก ปลัดอำเภอ หรือ หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ ที่อาวุโสที่สุด มา 1 คน เป็น ผู้”รักษาราชการแทน

กระบวนการตรากฎหมาย แยกเป็น 2 สาย 1.พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) 2.พระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.)

-พ.ร.บ. ต้องผ่านการพิจารณา 2 ชั้น โดย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) และ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)
-พ.ร.ฎ. ไม่ต้องผ่านการพิจารณาของ (ส.ส.)(ส.ว.) พิจารณาโดยรัฐบาลโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล็กน้อย เช่นโครงการเล็กๆที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับการใช้งบประมาณ หรือ ตำแหน่งต่างๆ

การพิจารณา พ.ร.บ. ค่อนข้างยุ่งยาก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง งบประมาณ ตำแหน่งต่างๆ

การตั้ง กระทรวง ทบวง กรม สำนำนายกรัฐมนตรี ต้องตราเป็นกฎหมาย

เกิด = ตรากฎหมายจัดตั้ง ใช้ พ.ร.บ.
ยุบ = ตรากฎหมายยุบ ใช้ พ.ร.ฎ.
รวม = ตรากฎหมายรวม,โอน โดยปกติเป็น พ.ร.บ. แต่กรณีไม่เพิ่มตำแหน่งหรือ งบประมาณต่างๆ  สามารถใช้ พ.ร.ฎ. ก็ได้
แต่ต้องให้ 2 หน่วยงานนีั 1.สำนักงานงบประมาณ 2.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ทำการตรวจสอบเป็น เวลา 3 ปี
เปลื่ยนชื่อ = ตรากฎหมายเปลี่ยนชื่อ ใช้ พ.ร.ฎ.

แต่ถ้าเป็นจังหวัด ไม่ว่าจะ เกิด ยุบ รวม หรือ เปลี่ยนชื่อ ต้องใช้ พ.ร.บ. เพราะเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ

สอนโดย :  พี่แมง ป.


7 เสาหลักแห่งการพัฒนาตัวเอง | Mission To The Moon


29 การแฮ็คที่ไร้สาระอย่างคุณต้องลองด้วยตัวเอง

เคล็ดลับที่ใช้ในครัวเรือนที่แปลก แต่เย็น ดูวิดีโอนี้และเรียนรู้ lifehacks ไร้สาระ แต่เป็นประโยชน์ที่จะเปลี่ยนชีวิตคุณ นี่คือแฮ็คที่น่าทึ่งที่คุณควรลอง: – คุณสามารถปรุงก๋วยเตี๋ยวในกาต้มน้ำ – หากชาร้อนเกินไปให้ใส่ช้อนชาสองใบ – ใช้พายกวาดเพื่อแบ่งไข่ขาวออกจากไข่แดง – คุณสามารถสร้างเชือกผูกรองเท้าเรืองแสงได้อย่างง่ายดาย คุณจะต้องใช้ชามกับ Schweppes, เปอร์ออกไซด์และเบกกิ้งโซดา แช่เชือกผูกรองเท้าสีขาวของคุณเป็นเวลา 5 นาที – ใช้สเปรย์ดับกลิ่นเพื่อหลีกเลี่ยงแผล – เปลือกกล้วยทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบเมื่อคุณต้องการขัดรองเท้า – ใช้ยางลบเพื่อทำความสะอาดรองเท้าผ้าใบ – ตรวจสอบว่าจะทำอย่างไรถ้าคุณมีแบตเตอรี่เพียงก้อนเดียวแทนที่จะเป็นสองก้อน – แก้ไขร่มร้าวภายใน 5 นาทีหลังจากดูวิดีโอของเรา – อย่าซื้อยาดับกลิ่นรองเท้าที่มีราคาแพง ใส่ถุงพลาสติก Ziplock และใส่แป้งข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะโซดา 1 ช้อนชาผงฟู 1 ช้อนชาและน้ำมันหอมระเหยใด ๆ ที่คุณต้องการ 5 หยด – หากจุกไวน์ไม่พอดีกับขวดไวน์ให้แช่จุกไวน์เป็นเวลา 3 นาทีในน้ำร้อน – ลองใช้ lifehack ของเราและเอาตัวแยกออกในไม่กี่วินาทีโดยใช้ lifehack ของเรา – ใช้แก้วและวางในการแข่งขันการเผาไหม้หลังจากนั้นครอบคลุมเศษแก้ว – หากมาสคาร่าของคุณหมดคุณสามารถใช้แปรงสีฟันแทน – นำแปรงสีฟันเก่ากลับมาใช้ใหม่ มาใกล้ชิดกับประตู DIY เพราะมันเป็นปัญหาที่น่ารำคาญมากเมื่อประตูเปิดอยู่เสมอ คุณจะต้องมีเชือกตะขอสองประตูและขวดพลาสติก ติดตะขอแรกเข้ากับมุมประตูและอีกอันหนึ่งเข้ากับกรอบประตูใกล้ แนบเชือกเข้ากับตะขอที่ประตูและใส่จากเบ็ดแรกไปที่สองและแนบปลายเชือกเข้ากับขวดพลาสติกที่ควรแขวน การประทับเวลา:

บทเรียนที่คล้ายกัน

ทริคเด็ด ตอบ TOEFL READING ใน 30 วิ
Reference Question PRONOUN ในกรณีหลักๆ หรือพื้นฐานเด่นๆของ Pronoun ที่มักจะออกสอบ ส่วนหนึ่งมาจาก บุรุษสรรพนาม บุรุษสรรพนาม1st : I , We (First person)2nd : ...
ตะลุยแนวข้อสอบ CU-TEP
ตะลุยแนวข้อสอบ CU-TEP เทคนิคการทำโจทย์ เพื่อเพิ่มจุดแข็ง เสริมจุดอ่อน และข้อควรรู้เพื่อให้น้องๆ นำไปปรับใช้ในการอัพคะแนนทั้งในพาร์ท Listening, Reading และ Writing  Listening ข้อ 11) 7.002) 7.303) 8.004) 8.30 Man ...
ติวข้อสอบ conversation สอบ ก.พ. ภาค ก.
ติวข้อสอบ conversation สอบ ก.พ. ภาค ก. ทำข้อสอบ conversation เฉลยละเอียด (โคตรๆ)ปูพื้นตั้งแต่ประถมจนถึงจบมหาลัยในคลิปเดียวเทคนิคเดาคำศัพท์ทำแนวข้อสอบ 5 ข้อ ขลังๆ ที่โดนออกสอบบ่อยๆ Basic ที่ต้องรู้ ของ ...
แนวข้อสอบจริง อุปมา อุปไมย สอบ กพ ภาค ก
แนวข้อสอบจริง อุปมา อุปไมย สอบ กพ ภาค ก เรื่อง อุปมา อุปไมย ความรู้สึกของทุกคนจะรู้สึกว่ามันง่ายที่สุด เพราะมันไม่ต้องคำนวณ แต่จริงๆแล้ว มันไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะ การที่มันไม่ใช่การคำนวณ ...
เทคนิคทำข้อสอบบทความ Reading 5 ข้อ 2 ชม. เต็ม
เทคนิคทำข้อสอบบทความ Reading 5 ข้อ 2 ชม. เต็ม Reading เรียกได้เป็นอะไรที่ยากที่สุดใน ภาษาอังกฤษ ก.พ. เป็นตัวที่ปราบเซียนจริงๆเลยก็ว่าได้ แต่เราต้องรู้เทคนิคของมันก่อน มาดู 5 รูปแบบ ...