เรื่องเล่าการไขปริศนาการฆาตกรรมหญิงโสเภณี
ฆาตกรต่อเนื่องที่สร้างความปวดหัวให้ตำรวจด้วยการทิ้งร่างของเหยื่อไว้ในที่โล่ง นักสืบและผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชวิทยากลับมีหลักฐานเพียงน้อยนิด แค่เส้นขนเพียงไม่กี่เส้น รวมเส้นใยและรอยยางรถยนต์ สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ฆาตกรได้หรือไม่ พบกับเบื้องหลังการทำงานของนักสืบและนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมกันไขคดีฆาตกรรมต่อเนื่องที่โหดเหี้ยม
เหยื่อรายแรก
ในฤดูร้อนปี 1994 ตอนเช้าตรู่ ได้พบร่างของผู้หญิงคนหนึ่งเธอชื่อ “เจน นามสมมุติ” อยู่ในสภาพเปลือยเป็นเหยื่อรายแรกที่ถูกพบบนที่ดินเปล่าในเมืองพัทยา ตำรวจไม่พบหลักฐานใดที่เป็นประโยชน์ในที่เกิดเหตุ
“เจน” เธอเป็นโสเภณีและใช้ยาเสพติด คดีของเธอจึงไม่ได้รับความสนใจมากนัก เพราะในความคิดของคนทั่วไป มันเป็นเรื่องธรรมดาที่โสเภณีจะถูกฆ่าแบบนี้และปล่อยทิ้งไว้ข้างถนน
เหยื่อรายที่สอง
อีกไม่กี่เดือนต่อมา ชาวบ้านกำลังขับรถไปทำงาน แต่เขากลับพบเห็นบางอย่างในพุ่มไม้ข้างถนน เป็นร่างมนุษย์นอนแน่นิ่ง ซึ่งเขาโทรแจ้งความกับตำรวจทันที
ตำรวจคนแรกที่มา มีชื่อว่า “กรีน นามสมมุติ” เจ้าหน้าที่กรีน เข้าไปตรวจชีพจรของร่างที่นอนแน่นิ่งเพื่อตรวจให้แน่ใจว่าเสียชีวิตจริงหรือไม่
หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จากหน่วยนิติเวชวิทยา ก็มาถึง หน้าที่ของพวกเขาก็คือ หาหลักฐานและเก็บรวบรวมหลักฐานในที่เกิดเหตุ ร้อยโท “วัชรพล นามสมมุติ “ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยนิติเวชวิทยา สังเกตุเห็นเบาะแส รอยล้อที่ขอบถนน ดินทรายในส่วนนี้ของเมืองพัทยามักจะไม่ทำให้เห็นรอยยางได้ชัดเจน แต่จากที่ฝนตกเมื่อคืน ทำให้พื้นดินเปียกแฉะ
“ร้อยโท วัชรพล” ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยนิติเวชวิทยา ได้ทำการบันทึกวีดีโอเพื่อให้แน่ใจว่าได้เก็บหลักฐานไว้เรียบร้อยแล้ว และหวังว่ามันจะเป็นผลเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมนี้
ขั้นตอนแรก บันทึก รอยยางล้อ เก็บไว้ จากนั้นก็ใช้แบบพิมพ์ ที่พิมพ์ขึ้นจากบางส่วนของรอย ใช้ซีเมนต์อุดฟันแบบเดียวกับที่หมอฟันใช้ รอให้ซีเมนต์แห้ง
จากนั้นใช้ “แสงลูมาร์ไลท์” บริเวณโดยรอบของร่างผู้เสียชีวิต เพื่อติดตามร่องรอยและแสดงหลักฐาน เช่น เส้นใย ขน และเลือด แสงของลูมาร์ไลท์ จะทำให้วัตถุเรืองแสงขึ้นมาได้ โดยสวมแว่นสีส้มจะทำให้หลักฐานโดดเด่นขึ้น
ไม่นาน ผู้เสียชีวิตก็ได้รับการระบุตัว เธอชื่อ “นํ้าหวาน นามสมมุติ” เธอเป็นเช่นเดียวกับเหยื่อรายแรก เธอเป็นโสเภณี เธอตายจากการถูกรัดคอและทิ้งร่างไว้ในที่โล่ง
การสืบหาเบาะแสที่เหมือน งมเข็มในมหาสมุทร
จะมีฆาตกรต่อเนื่องกำลังออกอาละวาดภายในเมืองพัทยาอย่างนั้นหรือไม่? ในสถานีตำรวจ เหล่าเจ้าหน้าที่กำลังเริ่มสงสัยแล้วว่า ทุกอย่างมันเริ่มหนักขึ้นทุกที
หลักฐานที่เก็บมาได้จากที่เกิดเหตุ ถูกส่งมายังฝ่ายบังคับกฎหมายของเมืองพัทยา นักเคมีที่ชื่อ “โตโน่ นามสมมุติ” ได้รับมอบหมายให้ทำคดี เขาใช้เวลานานหลายสัปดาห์เพื่อค้นหาจากเศษต่างๆ ที่มาจากที่เกิดเหตุ เหมือนกับว่า งมเข็มในมหาสมุทร เขาต้องมองหาทุกอย่างแบบละเอียด จากของธรรมดาๆ เช่น สีประหลาด หรือวัตถุแปลกปลอม และเขาก็พบบางอย่าง “เล้นใยไนลอนสีชมพู” ที่น่าจะมาจากพรม เส้นใยพรมเป็นเบาะแสที่สำคัญ เพราะว่าสามารถเชื่อมโยงความสงสัยไม่ยังสถานที่เฉพาะได้ เพราะว่าพรมไม่ได้เปลี่ยนกันบ่อยๆเหมือนกับเสื้อผ้า โอกาสที่พรมยังจะอยู่ที่เดิมมีความเป็นไปได้สูง
เจ้าหน้าที่สืบสวน ยังคงมองหาเส้นขนบนร่างกาย แต่กลับไม่ใช่ของมนุษย์ เส้นขนสีนํ้าตาลสั้นๆ นี้เป็นของสุนัข นักสืบต่างก็ผิดหวัง ไม่มีทางไหนที่จะตรวจหา พรมสีชมพู และสุนัขทุกตัวในแถบนี้ได้ หากปราศจากเบาะแสอื่นๆ การสืบสวนก็คงจะรวน
ใครก็ตามที่ก่อคดีนี้ คงจะต้องคิดว่าตัวเองนั้นสามารถเก็บหลักฐานได้หมด และคนๆนั้นต้องมั่นใจว่าตัวเองจะลอยนวลไปได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่จับกุมเขาได้
แต่เหลือหลักฐานให้ตรวจสอบอีกหนึ่งชิ้น “รอยยางล้อรถ” เจ้าหน้าที่สืบสวนได้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญการระบุรอยยาง เขามีชื่อว่า “แม็ค นามสมมุติ” เขาเริ่มต้นด้วยการศึกษาภาพถ่ายจากที่เกิดเหตุ เมื่อตรวจสอบรอยยาง เขาก็รู้ได้ทันที ซึ่งน่าตกใจเพราะเขาเป็นคนออกแบบรอยยางในรูปแบบนี้เอง ยางนี้ออกแบบมาเพื่อรถปิกอัพขนาดเล็กและรถอเนกประสงค์
แม็ค บอกกับเจ้าหน้าที่สืบสวนว่า รอยยางในที่เกิดเหตุน่าจะเป็นของรถปิกอัพขนาดเล็ก และยางค่อนข้างใหม่
คดีที่ยังไม่จบ เกิดเหยื่อรายที่สาม-สี่ ตามมา
การสืบสวนยังไม่แน่ชัดนัก แต่อีกหลายเดือนต่อมา ก็เกิดเหตุฆาตกรรมอีก 2 คดี
คดีแรก ร่างกายที่เน่าเปื่อยของ “แพทตี้ นามสมมุติ” ถูกพบอยู่ใต้สายไฟฟ้า จากนั้น ร่างของ “เจ นามสมมุติ” ถูกพบอยู่ด้านหลังที่ทิ้งขยะ
หญิงสาวทั้งสองถูกรัดคอและถูกทิ้งไว้ในที่โล่ง และทั้งคู่ก็เป็นโสเภณี เช่นเดียวกับเหยื่อรายก่อนหน้า เจ้าหน้าที่สืบสวนได้ตรวจพบเส้นใยสีชมพูและขนสุนัขบนร่างของเหยื่อทั้งสอง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าต้องมีฆาตกรต่อเนื่องกำลังออกอาละวาดอยู่ในเมืองพัทยาแน่ๆ
ความหวังเพียงทางเดียวที่จะหยุดพวกนั้น ก็คือ ต้องหาคนขับรถที่ทิ้งรอยยางไว้ในที่เกิดเหตุ แต่จะทำได้ยังไง?
เริ่มค้นพบผู้ต้องสงสัย
การค้นหาเริ่มต้นที่ตัวแทนจำหน่ายยางรายใหญ่ ตำรวจได้มาพบกับผู้จัดการร้านที่ชื่อ “เกม นามสมมุติ” ตำรวจถามผู้จัดการร้านว่า มีใครมาซื้อยางรถลายแบบนี้ เร็วๆนี้หรือไม่? ผู้จัดการร้านได้ตรวจสอบพบว่า ยางรถลายแบบนี้จำหน่ายหมดแล้วเมื่อ 8 เดือน ก่อน โดยคนที่ชื่อ “โทลี่ นามสมมุติ”
“โทลี่” บุคคลที่ตำรวจสงสัยเริ่มถูกจับตามองเป็นพิเศษ โดยพบว่าเธอใช้ โคเคน เธอเคยถูกจับคดียาเสพติดหลายครั้ง และเธอก็เป็นโสเภณีด้วย เจ้าหน้าที่สืบสวนได้ตรวจบริเวณที่อยู่อาศัยของเธอ จึงได้พบกับรถของเธอ ซึ่งลายยางรถของเธอ ตรงกับหลักฐานในที่เกิดเหตุ
เธอจะเป็นฆาตกรอย่างนั้นหรือ? ลายยางรถของเธอตรงกับที่เกิดเหตุ แต่เจ้าหน้าที่สืบสวนก็ไม่แน่ใจว่าลายยางรถของเธอจะเป็นอันเดียวกันกับที่ทิ้งรอยไว้หรือไม่
นอกจากนั้นประวัติของเธอในการค้าประเวณีและยาเสพติดก็ไม่แสดงถึงความรุนแรง งานต่อไปสำหรับเจ้าหน้าที่สืบสวน ก็คือ ตรวจสอบยางล้อของเธอว่าจะตรงกับพิมพ์ที่ล่อจากที่เกิดเหตุหรือไม่
ตำรวจมีแผนที่แยบยล โดยเจ้าหน้าที่สืบสวนจะโทรไปหาเธอ “บอกกับเธอว่า ยางล้อของเธอมีปัญหา ให้เธอเอายางมาเปลี่ยน ฟรี” เนื่องจากตำรวจไม่มีหลักฐานมากพอที่จะขอหมายค้น จึงต้องหลอกล่อเธอให้ยินยอมด้วยตัวเอง
หนึ่งสัปดาห์ต่อมา เธอก็ปรากฎตัวพร้อมกับเพื่อนชายอีกคนหนึ่ง จากนั้นแผนของตำรวจก็ดำเนินต่อไป โดยช่างจะเปลี่ยนยางให้เธออย่างรวดเร็ว เธอได้ยางเส้นใหม่ แต่เจ้าหน้าที่สืบสวน ได้เส้นเก่าของเธอไว้แล้ว
ที่โรงรถของตำรวจ เจ้าหน้าที่สืบสวนได้เตรียมการสร้างรอยพิมพ์ยาง บนยางเส้นของ”โทลี่” ซึ่งถูกใส่ไว้กับรถแบบเดียวกัน
กระดาษแข็งยาวถูกใช้เป็นกระดานหมึก หมึกที่ใช้เป็นแบบเดียวกับที่พิมพ์รอยนิ้วมือ ยางถูกกลิ้งเข้ามาบนกระดานหมึกอย่างช้าๆ จากนั้นยางถูกกลิ้งไปบนกระดาษแข็งที่สะอาด เมื่อพิมพ์รอยยางทั้ง 4 เส้นแล้ว รอยพิมพ์นั้นก็จะถูกนำมาวิเคราะห์
ผู้ต้องสงสัยใกล้ตัว
แต่ตอนนี้ เจ้าหน้าที่สืบสวนมีเบาะแสใหม่ให้ติดตามแล้ว ในระหว่างสังเกตการณ์เจ้าหน้าที่สืบสวนได้เห็นชายผิวขาวซึ่งตรวจพบว่าชื่อ “เจมส์ นามสมมุติ” เป็นเพื่อนชายที่อาศัยอยู่กับ “โทลี่” เป็นคนที่ไปกับเธอที่ร้านยางรถ
ขณะที่นักสืบตรวจสอบประวัติของชายผู้นี้ “แม็ค”ผู้เชี่ยวชาญการระบุรอยยาง ได้ทำการตรวจสอบรอยยางจากรถคันของ “โทลี่” เนื่องจาก “แม็ค” ได้ออกแบบยางเอง เขาจึงคุ้นเคยกับดอกยางดีอยู่ด้วย
ดอกยางนั้นประกอบขึ้นจากรูปทรงเรขาคณิต เรียกว่า พิช หรือดอกยางหยาบที่มีลักษณะเป็นบั้งๆ เมื่อแวบแรกดอกยางหยาบดูเหมือนจะมีขนาดเท่ากัน แต่อันที่จริงขนาดของมันแตกต่างกันมาก
“แม็ค” สามารถบอกได้ว่า ส่วนไหนบ้างของยางที่ทำให้เกิดรอย แต่ก็ยังไม่รู้ว่ามันเป็นยางเส้นนี้หรือเส้นอื่นๆในแบบเดียวกัน เขาจำเป็นต้องหาจุดเปรียบเทียบ ซึ่งสถานที่บนรอยพิมพ์นั้นตรงกับรอยบนยางเส้นนี้
“แม็ค” จึงหันไปหาลักษณะที่ซ่อนเร้นยิ่งกว่า นั้นคือ ดอกยางละเอียดบนผิวหน้ายาง ดอกยางละเอียดนี้ในระหว่างการผลิต ดอกยางละเอียดจะถูกพิมพ์ลงบนยางด้วยฟันเหล็กขนาดเล็ก แต่บางทียางก็ออกมาจากแท่น โดยมีดอกยางละเอียดขาดไปบางส่วน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าฟันเหล็กนั้นเปราะบางมาก และบางครั้งก็หลุดไป และเมื่อเป็นเช่นนั้นยางที่มีดอกแบบพิเศษก็ถูกผลิตออกมา
“แม็ค” พบว่าดอกยางละเอียดที่ขาดไปบนรอยยาง และพบแบบเดียวกันตรงตำแหน่งเดียวกัน บนล้อหลังขวาของยางจากรถ “โทลี่” ตอนนี้ไม่ต้องสงสัยเลย รอยยางจากที่เกิดเหตุนั้นตรงกับยางล้อนี่จริง
ฆาตกรตัวจริงที่ตำรวจยังไม่สามารถจับกุมได้
เป็นข่าวดีของคดี รถของ “โทลี่” ถูกนำไปจอดไว้ในที่เกิดเหตุแห่งหนึ่งจริงๆ และเส้นใยกับเส้นขน ก็เชื่อมโยงคดีนี้กับคดีอื่นๆ มากยิ่งไปกว่านั้นเบื้องหลังของ “เจมส์” ประวัติของเขาไม่ดีนัก เขาติดคุกอยู่ 6 ปี ในคดีข่มขืนกระทำชำเรา และยังเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรม
แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ขาดหลักฐานที่จะเอาผิดกับเขา ในคดีทั้งสองเหยื่อถูกรัดคอ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการจะจับกุม แต่ก็รู้ว่าถ้าไม่มีหลักฐานแน่นหนาพวกเขาก็จับกุมไม่ได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจำเป็นต้องมีหลักฐานที่แน่นอน และพวกเขาก็รู้วิธีหามาได้
ต้องหาหลักฐานที่ต้องการให้ได้
ทีมสังเกตการณ์มักจะสังเกตเห็น “โทลี่” กับ “เจมส์” ชอบจูงสุนัขอยู่เสมอ เจ้าหน้าที่สืบสวนจึงคิดแผนการที่แยบยลออกมาอีกอย่างหนึ่ง โดยให้นักสืบปลอมตัวเป็นพนักงานบริการอาบนํ้าสุนัข เพื่อให้ดูจริงจังนักสืบจะแจกใบปลิวไปทั่วทุกบ้าน เมื่อ “โทลี่” เห็นก็ต้องอยากให้อาบนํ้าสุนัข เพราะนักสืบที่ปลอมตัวไป เสนอว่าจะอาบนํ้าสุนัขให้ฟรี
ขณะที่นักสืบอาบนํ้าให้สุนัข นักสืบอีกคนพยายามหันเหความสนใจของ “โทลี่” เมื่อสบโอกาสนักสืบก็ตัดขนสุนัขเก็บไว้ หลังจากอาบนํ้าเสร็จ “โทลี่” ได้ชวนนักสืบเข้าไปนั่งในห้องนั่งเล่น นักสืบสังเกตสีของพรม มันเป็นสีชมพูเหมือนกับเส้นใยที่พบบนร่างของเหยื่อไม่มีผิด ขณะที่นักสืบชวน “โทลี่” คุย นักสืบอีกคนก็รีบดึงเส้นใยออกมา
กลับมาที่ห้องทดลอง เส้นใยพรม และ ขนสุนัข ที่นำมาจากบ้าน “โทลี่” ถูกนำมาเทียบกับที่พบบนเหยื่อในร่างฆาตกรรม ตรงกันไม่ผิด หมายความว่าผู้หญิงเหล่านั้นจะต้องถูกพาเข้าไปในบ้าน หรือสัมผัสกับร่างกายของ “โทลี่” หรือ “เจมส์” นักสืบได้หลักฐานที่ต้องการหมดแล้ว
พิฆาตฆาตกร
พวกเขาตัดสินใจที่จะจับกุม “เจมส์” แต่ขณะที่เข้าไปใกล้ เขากลับหนีเข้าไปในป่า ตำรวจต้องตามล่านานถึง 4 วัน ไม่พบตัวเขา แต่ในที่สุดความเหนื่อยล้าของ “เจมส์” ทำให้เขากลับมาที่บ้านของ “โทลี่” และถูกจับกุมตัวไว้ได้ ส่วน “โทลี่” เธอไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับอาชญากรรมของ “เจมส์” แม้แต่น้อย หลักฐานชี้ชัดไปที่ “เจมส์” เพียงคนเดียว
เมื่อเรื่องราวสามารถปะติดปะต่อเข้าด้วยกันทีละชิ้น ตำรวจก็สามารถจับโยงเรื่องราว ซึ่งในความคิดของทุกคนและคณะลูกขุน เชื่อเป็นเสียงเดียวกันว่า คดีนี้ไม่มีคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นอกจาก “เจมส์” เพียงคนเดียวเท่านั้น “เจมส์” ถูกศาลตัดสินความผิดในข้อหา ฆาตกรรมผู้อื่นโดยเจตนา เขากำลังรอการประหารชีวิตในเรือนจำ
การไขปริศนาการฆาตกรรมด้วยวิทยาศาสตร์การสืบสวน เปิดโลกแห่งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์การสืบสวน หรือ Forensic Science นั้นเป็นศาสตร์ที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการสืบสวนคดีอาญา เพื่อหาหลักฐานที่เป็นรูปธรรมและเชื่อถือได้ มาสนับสนุนการดำเนินคดีและนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำผิด
ซึ่งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่พบในที่เกิดเหตุนั้นมีหลากหลายรูปแบบ และสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น
หลักฐานทางชีวภาพ : เช่น รอยเลือด, เส้นผม, น้ำลาย, เซลล์ผิวหนัง ซึ่งสามารถนำมาตรวจสอบหา DNA เพื่อเปรียบเทียบกับ DNA ของผู้ต้องสงสัย
หลักฐานทางเคมี : เช่น สารพิษ, ยาเสพติด, วัตถุระเบิด ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณ
หลักฐานทางกายภาพ : เช่น รอยเท้า, รอยนิ้วมือ, รอยกระสุน, อาวุธ ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาที่มาและเชื่อมโยงกับผู้กระทำผิด
หลักฐานทางดิจิทัล : เช่น ข้อมูลในคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ, กล้องวงจรปิด ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดี
กระบวนการไขปริศนาการฆาตกรรมด้วยวิทยาศาสตร์การสืบสวน โดยทั่วไปจะประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
การเก็บรวบรวมหลักฐาน : เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานจะเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุอย่างละเอียด เพื่อเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ โดยต้องระมัดระวังไม่ให้หลักฐานเสียหายหรือปนเปื้อน
การวิเคราะห์หลักฐาน : หลักฐานที่เก็บรวบรวมมาจะถูกนำส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อทำการวิเคราะห์ โดยนักวิทยาศาสตร์จะใช้เทคนิคและเครื่องมือที่ทันสมัยในการตรวจสอบ
การตีความผลการวิเคราะห์ : ผลการวิเคราะห์จะถูกนำมาตีความและเปรียบเทียบกับข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดี เพื่อหาข้อสรุปและสร้างสมมติฐาน
การนำเสนอผลการวิเคราะห์ : นักวิทยาศาสตร์จะนำเสนอผลการวิเคราะห์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ อัยการ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี
ตัวอย่างการใช้วิทยาศาสตร์การสืบสวนในการไขคดี
การระบุตัวผู้กระทำผิดจากรอย DNA : โดยการเปรียบเทียบ DNA ที่พบในที่เกิดเหตุกับ DNA ของผู้ต้องสงสัย
การหาสาเหตุการตาย : โดยการตรวจสอบร่างกายของผู้เสียชีวิตและวิเคราะห์สารพิษหรือบาดแผล
การระบุเวลาการเกิดเหตุ : โดยการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ เช่น อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งของกล้ามเนื้อ และการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในร่างกาย
การสร้างภาพจำลองที่เกิดเหตุ : โดยใช้เทคโนโลยี 3 มิติ เพื่อช่วยให้เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
วิทยาศาสตร์การสืบสวน มีบทบาทสำคัญในการไขปริศนาคดีอาชญากรรม ทำให้คดีได้รับการคลี่คลายอย่างรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษตามกฎหมาย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในกระบวนการยุติธรรม
มารับชม สารคดี สำรวจโลก ตอน วิทยาศาสตร์การสืบสวน โดย Next Step
เบื้องหลังการทำงานของนักสืบและนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมกันไขคดี เช่น การแก้คดีเกี่ยวกับการพิสูจน์ของจริงของภาพของ เลโอนาร์โด ดา วินชี | คดีแพะรับบาปถูกกล่าวหาว่าไปข่มขืน