ติว พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539


ติว พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539

ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙

บังคับใช้กับ 1.เจ้าหน้าที่ 2.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง
เจ้าหน้าที่คือใคร?

มาตรา ๕ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม

อำนาจทางปกครองของรัฐ ที่พูดถึงนั้น คือ √อำนาจทางบริหาร ×ไม่เกี่ยวกับ นิติบัญญัติ× หรือตุลาการ×   
อำนาจทางปกครองที่เขาพูดถึงนั้น คือส่วนหนึ่งของอำนาจบริหาร

เจ้าหน้าที่ที่จะใช้อำนาจทางปกครอง คือใครบ้าง ?
บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล
นิติบุคคล เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนชีวิตจิตใจเหมือนบุคคลธรรมดา แม้ว่านิติบุคคลจะได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐได้ นิติบุคคลก็ไม่อาจจะใช้อำนาจได้ด้วยตนเองได้ ต้องให้บุคคลธรรมดา หรือ คณะบุคคล ใช้อำนาจแทนนิติบุคคล เรียกว่า ผู้แทน หรือ ผู้อำนาจทำการแทน ฉะนั้นในทางปฎิบัติ ผู้ที่ได้รับอำนาจทางปกครองจะมีอยู่ 2 ประเภท ก็คือ บุคคลธรรมดา และ คณะบุคคล แต่ใน พ.ร.บ. แบ่งเป็น 3 ประเภท ก็คือ บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล

“ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม”

สามารถตีความได้ว่า คนที่ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐ อาจจะเป็นบุคลากรในภาครัฐก็ได้ หรืออาจจะเป็นบุคลากรในภาคเอกชนก็ได้

    มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้
    “วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใดๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้
    “การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งการปกครอง

ตีความประโยค การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ ในส่วน”วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง”
มันก็คือ เป็นกระบวนการ วิธีพิจารณาทางปกครอง เพื่อทำให้เกิด คำสั่งทางปกครองขึ้น

มาดู “การพิจารณาทางปกครอง” ความหมายเดียวกันกับ “วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง” แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ “วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง”นั้น มีเพิ่มมา คือ “และรวมถึงการดำเนินการใดๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้”

    “คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า
    (๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ (คำสั่งทางปกครองโดยแท้)
    (๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง (คำสั่งทางปกครองโดยกำหนดโดยฝ่ายปกครอง)

คำสั่งทางปกครองแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1.คำสั่งทางปกครองโดยแท้ 2.คำสั่งทางปกครองโดยกำหนดโดยฝ่ายปกครอง

คำสั่งทางปกครอง ดูอย่างไร ?
จะต้องออกโดยเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่จะต้องใช้อำนาจตามกฎหมาย

อำนาจตามกฎหมาย คืออะไร ?
ก็คือ อำนาจทางปกครอง 
อำนาจทางปกครอง คืออะไร ?
ก็คือ อำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่เกี่ยวกับ นิติบัญญัติ ตุลาการ

การใช้อำนาจตามกฎหมาย
กรณีที่ ๑
    มาตรา ๑๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ที่ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการเงินเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้เสนอสามารถเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรได้

กรณีที่ ๑ เป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ ?
   การพิจารณาจะเห็นว่า
“คำสั่งทางปกครอง ต้องออกโดยเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่จะต้องใช้อำนาจตามกฎหมาย”
นายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าหน้าที่ ได้เช่นกัน
ใช้อำนาจอะไร ?
แต่อำนาจที่เขาใช้เป็น อำนาจออกกฎหมาย(รับรองร่างพระราชบัญญัติ) เป็นอำนาจทางนิติบัญญัติ(ตรากฎหมาย) ไม่ใช่ อำนาจบริหาร
ฉะนั้นแสดงว่ากรณีนี้ ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง×

ความแตกต่างระหว่าง “คำสั่งทางปกครอง” กับ “กฎ”
กรณีที่ ๒
    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ออกใบอนุญาตให้นายดำก่อสร้างอาคารลงบนที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๓๒๕ แขวงคันนายาว เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร(เป็นการออกคำสั่งเฉพาะเจาะจง ทั้งบุคคล ทั้งกรณี  ตอบ เป็น คำสั่งทางปกครอง)

กรณีที่ ๓
    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ออกคำสั่งให้นายแดง เจ้าของอาคาร เลขที่ ๗๘/๒๓๐ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร รื้อถอนอาคารดังกล่าว (เป็นการออกคำสั่งเฉพาะเจาะจง ทั้งบุคคล ทั้งกรณี  ตอบ เป็น คำสั่งทางปกครอง)

กรณีที่ ๔
    ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆของอาคารเลขที่ ๑๒ ถนนพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (เป็นการออกคำสั่งไม่เจาะจง บุคคล แต่เจาะจงกรณี  ตอบ เป็น คำสั่งทางปกครอง)

ถ้าเป็น กฎ จะต้องไม่มีการเจาะจงเลย ไม่ว่าจะเป็น บุคคล หรือ สถานที่ก็ตาม

ข้อยกเว้น การบังคับใช้ พ.ร.บ. นี้
1. ออก”กฎ”
2. มีกฎหมาย เฉพาะกำหนดวิธีปฎิบัติราชการทางปกครองไว้โดยเฉพาะ มาตรา 3
    – หลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม ไม่ตํ่ากว่า วิปกครอง
    – มาตราฐานในการปฎิบัติราชการ ไม่ตํ่ากว่า วิปกครอง
3., มีกฎหมาย เฉพาะกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้โดยเฉพาะ
4. มาตรา ๔ ทั้งหมด

    มาตรา ๓ วิธีปฎิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีการปฎิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฎิบัติราชการไม่ตํ่ากว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
    ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดในกฎหมาย

สรุปใน มาตราที่ ๓ เขาไม่ได้มองแค่ว่ากฎหมายมีการบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครองแล้ว จะยกเว้น ไม่ใช่ ต้องดูด้วยว่า ขั้นตอนที่กฎหมายเฉพาะได้มีการบัญญัติตํ่ากว่าเกณฑ์ของ พ.ร.บ. วิปกครองหรือไม่ ต้องเอามาเทียบกัน ถ้าตํ่ากว่าให้ใช้ พ.ร.บ. วิปกครอง แต่ถ้ามันสูงกว่าก็ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเอาพ.ร.บ. วิปกครอง มาบังคับใช้

มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
(๒) องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ
(๓) การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง
(๔) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์
(๕) การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
(๖) การดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ
(๗) การดำเนินงานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฎิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ
(๘) การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
(๙) การดำเนินงานกิจการขององค์การทางศาสนา
    การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่การดำเนินกิจการใดหรือกับหน่วยงานใดนอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง

เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจทำการพิจารณาทางปกครอง

มาตราเรื่อง
มาตรา ๑๙“เจ้าหน้าที่” จะต้องได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา ๑๒“เจ้าหน้าที่” จะต้องเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น
มาตรา ๗๕ – มาตรา ๘๔บัญญัติที่เกี่ยวกับ “เจ้าหน้าที่” ที่เป็นคณะกรรมการ
มาตรา ๑๓ และ มาตรา ๑๖“เจ้าหน้าที่” และกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองมีส่วนได้ส่วนเสีย
มาตรา ๑๘ข้อยกเว้นบทบัญญัติเรื่องความไม่เป็นกลาง
หมวด ๒ คำสั่งทางปกครอง ส่วนที่ ๑ เจ้าหน้าที่

    มาตรา ๑๙ ถ้าปรากฎภายหลังว่าเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือการแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฎิบัติไปตามอำนาจหน้าที่

    มาตรา ๑๒ คำสั่งทางปกครองจะต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น

“เจ้าหน้าที่” จะต้องเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น
กรณีที่ ๕
    การที่เจ้าหน้าที่ในสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดออกคำสั่งทางปกครองแทนหัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดในขณะที่ยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าว ต่อมามีคำสั่งแต่งตั่งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นออกคำสั่งทางปกครอง คำสั่งทางปกครองดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
(เจ้าหน้าที่ที่ออกคำสั่งทางปกครอง ณ ตอนนั้น จะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับแต่งตั้งทางกฎหมายหรืออาจจะเป็นอำนาจที่ได้รับการมอบอำนาจมาอีกทีก็ได้ถึงจะออกคำสั่งทางปกครองได้ แต่ในกรณีนี้ เขาออกคำสั่งทางปกครองแทนหัวหน้าซึ่งยังไม่มีคำสั่งแต่งตั้ง ถึงแม้ว่าจะมีการแต่งตั้งในภายหลังก็ตาม และมีผลย้อนหลัง แบบนี้ไม่ได้ มันไม่มีกฎหมายมารองรับว่าสามารถทำย้อนหลังได้ เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ เขาบอกตรงๆเลยว่า ณ วันที่ออกคำสั่งทางปกครองจะต้องมีอำนาจแล้ว ไม่มีการย้อนหลังใดๆทั้งสิ้น)

หมวด ๕
คณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครอง
(มาตรา ๗๕-๘๔)

คณะกรรมการไม่ได้เจาะจงว่าจะเป็นใคร คณะกรรมการในที่นี้มาจาก 1.กฎหมายกำหนด 2.กฎ 3.คำสั่ง

คณะกรรมการในที่นี้ หมายถึง คณะกรรมการทุกรูปแบบ ทุกประเภท ไม่ได้เฉพาะเจาะจง

“คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท” หมายความว่า คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่มีการจัดองค์กรและวิธีพิจารณาสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

สอนโดย: Tutor North


อาจารย์ยอด : อุบายคนโบราณ [น่ารู้]


บทเรียนที่คล้ายกัน

เจาะจุดออกสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เวอร์ชัน มันเป็นแป้ง
เจาะจุดออกสอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เวอร์ชัน มันเป็นแป้ง นายก ทำหน้าที่ รักษาการตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้นายก เป็น หัวหน้ารัฐบาลนายก เป็น ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักรัฐมนตรี ที่ทำงานของนายกรัฐมนตรี คือ สำนักนายกรัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็น ...
ติวเงื่อนไขสัญลักษณ์ แบบละเอียดยิบ
ติวเงื่อนไขสัญลักษณ์ แบบละเอียดยิบ พาแก้โจทย์เงื่อนไขสัญลักษณ์ 7 ชั่วโมง เต็ม ด้วยวิธีทำ 4 StepStep 1. อ่านโจทย์ (เงื่อนไข) แล้วเปลี่ยนสัญลักษณ์ ให้เป็นรูปปกติ (เพื่อให้เราอ่านเข้าใจง่าย) Step 2. ...
ติว พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (และที่แก้ไขใหม่)
ติว พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (และที่แก้ไขใหม่) พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง เกี่ยวกับ (พูดภาษาชาวบ้าน)คือการทะเลาะ กับ หลวง รัฐ หรือการที่ประชาชนทะเลาะกับรัฐ จึงมีการออก พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง มาเพื่อ กระบวนการก่อนที่ ...
ติวเงื่อนไขภาษา สอบ ก.พ.
ติวเงื่อนไขภาษา สอบ ก.พ. วิธีการทำเงื่อนไขภาษา อย่างไรให้ชนะ ด้วยวิธีคิด 3 Step Step 1 : วิชาเงื่อนไขภาษาส่วนใหญ่จะใช้ตารางเป็นตัวช่วยในการแก้โจทย์เพื่อหาคำตอบ จำเป็นต้องวิเคราะห์โจทย์ หาหมวดหมู่ เพื่อสร้างคอลัมน์ เช่น ชื่อคน ,สี ...
แก้โจทย์ สดมภ์ – สอบ กพ ภาค ก.
แก้โจทย์ สดมภ์ - สอบ กพ ภาค ก. สดมภ์ เป็นหัวข้อที่หลายคน"เกลียด" แต่เราจำเป็นต้องเก็บคะแนนจากหัวข้อนี้ให้ได้ เพราะสดมภ์ยังเชื่อมโยงไปถึงเลขทั่วไป เป็นพื้นฐาน และยังเชื่อมโยงไปยัง กฎจำนวนจริง อสมการ และ ...