พระราชบัญญัติ มาตรฐานทางจริยธรรม พ ศ ๒๕๖๒


  ติวพระราชบัญญัติ มาตรฐานทางจริยธรรม พ ศ ๒๕๖๒

มาตรฐานทางจริยธรรม คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจำเป็นต้องรู้ไว้

การบังคับใช้

    “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ในฝ่ายบริหาร

    แต่ไม่หมายความรวมถึง หน่วยงานธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล และ องค์กรอัยการ

    “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือ ผู้ปฎิบัติงานอื่น ในหน่วยงานของรัฐ

มาตรฐานทางจริยธรรม

    คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฎิบัติอย่างมีคุณธรรม ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะต้องประกอบด้วย 
(๑) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่
(๓) กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
(๔) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ
(๕) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
(๖) ปฎิบัติหน้าที่อย่าเป็นธรรมและไม่เลือกปฎิบัติ
(๗) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ

ประมวลจริยธรรม

มาตรฐานทางจริยธรรม ทั้ง ๗ ข้อ
ให้ใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรม ของหน่วยงานของรัฐที่จะกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการปฎิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกี่ยวกับ

    สภาพคุณงาม
    ความดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยึดถือสำหรับการปฎิบัติงาน
    การตัดสินใจความถูกผิด
    การปฎิบัติที่ควรกระทำ หรือไม่ควรกระทำ
    การดำรงตนในการกระทำความดีและละเว้นความชั่ว

ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบ

“องค์กรกลางบริหารงานบุคคล”

หมายความว่า
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
 คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
 คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
 คณะกรรมการกลางบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่ของรัฐในผ่ายบริหาร
 คณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

กรณีที่ไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบ

ให้องค์กรต่อไปนี้ เป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรม
    (๑) คณะรัฐมนตรี สำหรับข้าราชการการเมือง
    (๒) สภากลาโหม สำหรับข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือนกลาโหม
    (๓) สำนักงานคณะกรรมการนโยบานรัฐวิสาหกิจ สำหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
    (๔) คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน สำหรับผู้บริหารเจ้าหน้าที่ และ ผู้ปฎิบัติงานขององค์การมหาชน

คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.)

(๑) นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้แทนคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนห้าคน ได้แก่ผู้แทนทีได้รับมอบหมายจาก
    คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
    คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
    คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
    คณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
    สภากลาโหม
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการ
    ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการ ก.พ. แต่งตั้งข้าราชการ ในสำนักงาน ก.พ. เป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจำเป็น

(ก.ม.จ.) มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

(๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรม และการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรี
(๒) กำหนดแนวทางหรือมาตรการในการขับเคลื่อน การดำเนินกระบวนการรักษาจริยธรรม รวมทั้งกลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้องค์กรกลางบริหาร งานบุคคล องค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง หรือผู้บังคับบัญชานำไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคล อย่างเป็นรูปธรรม
(๓) กำหนดแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมและยึดถือแนวทางปฎิบัติตามประมวลจริยธรรม รวมทั้ง เสนอแนะมาตรการในการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฎิบัติตามประมวลจริยธรมแก่ หน่วยงานของรัฐต่อคณะรัฐมนตรี
(๔) กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม โดยอย่างน้อย ต้องให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม และให้มี การประเมินพฤติกรรมทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น
(๕) ตวรจสอบรายงานประจำปีของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๙(๓) และรายงานสรุปผล การดำเนินงานดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๖) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้
(๗) ปฎิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ให้ (ก.ม.จ.) จัดให้มีการทบทวนมาตรฐานทางจริยธรรมตามาตรา ๕ ทุกห้าปี

หรือในกรณีที่มีความจำเป็นหรือสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ก.ม.จ. จะพิจารณาทบทวนในรอบ ระยะเวลาที่เร็วกว่านั้นก็ได้ โดยในการดำเนินการดังกล่าวให้เชิญผู้แทนจากองค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง มาหารือร่วมกันด้วย

การรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

เพื่อประโยชน์ในการรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(๑) กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาจริยธรรมประจำหน่วยงานของรัฐ ในการนี้ อาจมอบหมายให้ส่วนงานที่มีหน้าที่และภารกิจในด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาลหรือที่เกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคล หรือคณะกรรมการและกลุ่มงานจริยธรรมประจำหน่วยงานของรัฐที่มีอยู่แล้ว เป็นผู้รับผิดชอบก็ได้
(๒) ดำเนินกิจกรรมการส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้ ฝึกอบรม และพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานรัฐ และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างให้มีการปฎิบัติ ตามประมวลจริยธรรม รวมทั้งกำหนดกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรม ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนสร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและ ภาคเอกชน
(๓) ทุกสิ้นปีงบประมาณ ให้จัดทำรายงานประจำปีตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.จ. กำหนดเสนอต่อ ก.ม.จ. โดยให้หน่วยงานของรัฐเสนอรายงานประจำปีผ่านองค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กร ตามมาตรา ๖ วรรคสอง แล้วแต่กรณี เพื่อประเมินผลในภาพรวมของหน่วยงานของรัฐเสนอต่อ ก.ม.จ. ด้วย

สอนโดย : ทิชเชอร์ ติวเตอร์


3 วิธีพัฒนาตัวเองให้เป็นคนเก่งสำเร็จไวๆ


9 สถานที่ลึกลับ ที่วิทยาศาสตร์อธิบายไม่ได้ และยังคงเป็นปริศนา [ น่าสงสัยมาก? ]


บนโลกใบนี้ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่ยังท้าทายวิทยาการปัจจุบัน
บางเรื่องมีการค้นคว้าจนหาที่มาที่ไปและคำอธิบายจนได้บทสรุป…
และยังมีอีกหลากหลายเรื่องราวที่ยังคงเป็นปริศนา…
แม้จะมีผู้คนที่ใฝ่รู้ และ พยายามหาคำตอบจากเรื่องราวเหล่านั้น
แต่มันก็ยังคลุมเครือ จนกระทั่งไม่มีคำตอบที่อธิบายได้ถึงเหตุและผลที่เป็นความจริง…


บทเรียนที่คล้ายกัน

ปูพื้นฐาน สดมภ์ แบบกระจ่าง
สดมภ์ 1 : ปูพื้นฐาน - สอบ ก.พ. ภาค ก. สดมภ์ 2 : โจทย์สมการที่ออกสอบบ่อย - สอบ ก.พ. ...
สอนแก้โจทย์ อนุกรม สอบ กพ ภาค ก.
สอนแก้โจทย์ อนุกรม สอบ กพ ภาค ก. สูตรการแก้โจทย์อนุกรม ด้วยวิธีการ ตีแฉก กั้นห้อง ห่วงโซ่ ยกกำลัง เศษส่วน จุดผิดพลาดเวลาทำข้อสอบอนุกรม หลายคนไปฝึกมาแค่วิธีเดียว เช่น ...
แนวข้อสอบจริง อุปมา อุปไมย สอบ กพ ภาค ก
แนวข้อสอบจริง อุปมา อุปไมย สอบ กพ ภาค ก เรื่อง อุปมา อุปไมย ความรู้สึกของทุกคนจะรู้สึกว่ามันง่ายที่สุด เพราะมันไม่ต้องคำนวณ แต่จริงๆแล้ว มันไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะ การที่มันไม่ใช่การคำนวณ ...
ติวสอบ กพ 63 หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติราชการ
1.) พ.ร.บ. นี้ใช้กับใครได้บ้าง    ตอบ เจ้าหน้าที่ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน ทุกประเภทที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานของรัฐ 2.) หน่วยงานของรัฐ หมายถึง     ตอบ ...
แก้โจทย์ สดมภ์ – สอบ กพ ภาค ก.
แก้โจทย์ สดมภ์ - สอบ กพ ภาค ก. สดมภ์ เป็นหัวข้อที่หลายคน"เกลียด" แต่เราจำเป็นต้องเก็บคะแนนจากหัวข้อนี้ให้ได้ เพราะสดมภ์ยังเชื่อมโยงไปถึงเลขทั่วไป เป็นพื้นฐาน และยังเชื่อมโยงไปยัง กฎจำนวนจริง อสมการ และ ...