HUNGER คนหิว เกมกระหาย
บอกแล้วใช่ไหม พวกเด็กที่จบสถาบันไม่ค่อยมีจินตนาการ ไม่ค่อยมีSenseในการใช้ไฟแบบเด็กหน้าเตา
ข้าวผัด >> ข้าวหอมค้างคืน หรือแช่เย็น + กระทะเหล็ก เปิดไฟ ตั้งน้ำมันใส่ไข่ ใส่ฝาเขียว1ช้อน เกลือปลายช้อน รสดีปลายช้อน น้ำตาลทรายปลายช้อน เปิดไฟแรง ผัดให้ไฟทะลุกระทะ ผัดจนข้าวโดด ใส่หอมซอย โยนลงไป กระดกกระทะนิดหน่อย ดับไฟ เสริฟ
ฉากนี้ ถ้าแค่ใส่บทพูดมาว่าเชฟแว่น เป็นเด็กเรียนนอกมาตลอด จบสถาบันอาหารในยุโรป-เมกา จะช่วยให้คนดูรู้สึกหยวนๆ และพอจะมองว่าหนังสมเหตุผลได้อยู่ เพราะเชฟฝรั่งส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รู้เทคนิคการทำอาหารแบบคนเอเชีย
ข้าวผัดคือเมนูวัดฝีมือสำหรับ กุ๊กหรือเชฟอาหารไทยนะครับ เหมือนจะง่าย ใช้ไฟเป็น ไม่เป็น วัดจากตรงนี้เลย แล้วข้าวผัดใช้ข้าวเก่าแช่เย็น คือ เดอะเบส
ไม่รู้ผมคิดไปเองเปล่า แต่มันเหมือนเป็นจุดชี้วัดบางอย่างตรงที่ว่า ตัวเชฟพอลต้องการดูเบสิคของทั้งสองคน ในขณะที่คนนึงทำเบสิคตามคำสั่งจริงๆ อีกคนนึงกลับใส่ตัวเองเข้าไปมากเกินไป เลยไม่ผ่าน เพราะดูแล้วอนาคตน่าจะดื้อ ไม่เข้ากับสไตล์การทำงานของเชฟแน่
จริงๆ แล้วในฉากนี้ มันคือการสื่อว่า ข้าวผัดที่ดีจะต้องแห้งและเป็นเม็ดสวย ไม่แฉะ และอมน้ำมันเหมือนอีกจานครับ เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องใช้ข้าวเก่าก็ได้ครับ เอาข้าวที่หุงใหม่ตักมาพักแล้วตากลมไว้ให้พอแข็งๆ หน่อยแล้วเอามาผัดก็จะได้อารมณ์ข้าวเก่าเหมือนกันครับ ผมเคยลองทำเองและไปซื้อกินแถวบ้านถ้าร้านไหนแฉะ แสดงว่าไม่เท่าไหร่ครับ แต่ถ้าร้านไหนผัดแห้งและเป็นเม็ดดี ถือว่าสอบผ่านครับ เบสิคเป็นเรื่องสำคัญ คนที่พูดว่าแค่นี้เอง แต่กลับทำเรื่องที่ง่ายให้สำเร็จไม่ได้ มันก็เหมือนคนที่ทำเป็นรู้เรื่องแต่ที่จริงๆ ไม่ได้เข้าใจอะไรเลย ผมว่าเค้าน่าจะสื่อประมาณนั้นครับ
ถ้าเป็นแนวถอดสมองดู แบบหนังบู๊ล้างผลาญ หรือ แฟนตาซีหลุดโลก อันนี้จะไม่ว่าเลย แต่สำหรับ hunger ตัวหนังเป็นแนวดราม่า เป็นเรื่องของคนจริงๆ ความสมจริงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆต่อตัวหนัง คนเขียนบทต้องรู้ลึก รู้จริง อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะรู้ว่า การเป็นเชฟได้ ต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง ต้องทำอะไรก่อน แล้วขั้นต่อไปต้องทำอะไร แล้วประโยคที่ว่า “บอกแล้วใช่ไหม พวกเด็กที่จบสถาบัน ไม่ค่อยมีจินตนาการ ไม่ค่อยมี sense การใช้ไฟเหมือนเด็กหน้าเตา” ยิ่งบ่งบอกเลยว่า คนเขียนบท เขียนเกี่ยวกับาชีพเชฟ โดยที่ไม่เข้าใจ และ ไม่รู้อะไรเลย เกี่ยวกับอาชีพนี้ แต่กลับใช้คำพูดดูถูกคนที่เรียนสายอาชีพนี้ได้อย่างหน้าตาเฉย
สำหรับเชฟ ไม่ใช่แค่ มีแค่ sense อย่างเดียวก็เก่งได้ แต่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจวัตถุดิบแต่ละอย่าง อย่างเพียงพอด้วย และ ยิ่งเชฟเก่งเท่าไหร่ ยิ่งต้องมีความรู้ด้าน food science มากขึ้นเท่านั้น ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การต้มไข่ มันไม่ใช่แค่ ต้องต้มกี่นาที แต่ต้องรู้ลงลึกไปถึง โปรตีนในไข่ขาว เริ่มเปลี่ยนสีและแข็งตัวที่อุณหภูมิเท่าไหร่ และ ไข่แดง เริ่มเปลี่ยนสีและแข็งตัวที่อุณหภูมิเท่าไหร่ และ ต้องรู้ด้วยว่า lacithin ที่เป็น emulsifier ในไข่แดง มีประโยชน์ยังไง แล้วจะเอามาประยุกต์ใช้ไปทำเมนูอะไรได้อีกบ้าง แล้วเชพก็มีหลายสาย เชฟอาหารจีน เชฟอาหารไทย เชฟอาหารญี่ปุ่น เชฟอาหารฝรั่งเศส ความถนัดในทำอาหารก็ไม่เหมือนกันอีก ให้เชฟแต่ละสาย ผัดข้าวผัดโดยที่ไม่บอกอะไร คุณก็จะได้ข้าวผัดที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เอาแค่ข้าวผัดแบบไทย แบบจีน แบบญี่ปุ่น สีสัน หน้าตา วัตถุดิบ และ รสชาติ ก็ต่างกันแล้ว มันไม่มีถูก ไม่มีผิดหรอก ขอแค่สิ่งที่ปรุงออกมา มันยังคงสามารถตอบโจทย์ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และ คาดหวัง ในแต่ละวัน แค่นั้นก็ถือว่ามันเป็นเมนูที่ดีเพียงพอแล้วครับ