ซีรีส์ อุ้ยเสี่ยวป้อ 2558 (ตอนที่ 1-67 ตอนจบ) END หนุ่มฉลาดเจ้าสำราญที่มีเมียหลายคน


ซีรีส์ อุ้ยเสี่ยวป้อ 2558

เด็กหนุ่มจอมกะล่อนมีชีวิตเสเพล ชะตาฟ้าลิขิตให้เขาได้ช่วยเหลือ เฉินจิ้นหนานที่ได้รับบาดเจ็บจากการลอบสังหารของโอป้าย ด้วยความฉลาดจิ้งหนานจึงรับเขาเป็นศิษย์ ต่อมาฮ่องเต้คังซีออกแสวงหายอดฝีมือเพื่อกำจัดโอป้าย ทั้งสองได้พบกับอุ้ยเสี่ยวป้อ และพาเข้าวังทำงานในราชสำนัก อุ้ยเสี่ยวป้อเป็นที่โปรดปรานของฮ่องเต้ เขามีเมียมากมายเพราะความกะล่อนเจ้าชู้ แต่เพราะเป็นคนสนิทของฮ่องเต้และเป็นศิษย์ของเฉินจิ้งหนาน ทำให้ลืมตัวหยิ่งยโส สุดท้ายเขาก็เบื่อชีวิตในวังจึงพาบรรดาเมียของเขาออกท่องยุทธจักร

อุ้ยเสี่ยวป้อ (จีนตัวย่อ: 韦小宝; จีนตัวเต็ม: 韋小寶; พินอิน: Wéi Xiǎobǎo เหวยเสียวเป่า) เริ่มนำลงในหนังสือพิมพ์หมิงเป้า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1969 จวบกระทั่ง วันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1972 ค่อยนำลงจบเรื่อง ใช้เวลานำลงสองปีกับอีกสิบเอ็ดเดือน เป็นนิยายเรื่องสุดท้ายของ กิมย้ง ซึ่ง เหง่ยคัง ถือว่าเรื่องนี้เป็นสุดยอดพัฒนาการทางการประพันธ์ของกิมย้ง และเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือกิมย้งว่า “ไม่มีใครเป็นคู่แข่งได้” ความเป็นยอดของเรื่องนี้อยู่ที่เป็นนิยายกำลังภายในที่ไม่ใช่นิยายกำลังภายใน นิยายกำลังภายในโดยทั่วไปมีขนบในการแต่งที่เห็นได้ง่ายอยู่สองประการคือ ตัวเอกต้องเป็นจอมยุทธหรืออย่างน้อยต้องมีวิทยายุทธ และตัวเอกต้องเป็นคนดีในแง่ของคุณธรรม แต่อุ้ยเสี่ยวป้อในเรื่องนี้มีลักษณะตรงข้ามกับขนบดังกล่าวทุกประการ ลักษณะดังกล่าวไม่เคยปรากฏในนิยายกำลังภายในเรื่องใดมาก่อน และเหง่ยคังว่าไม่มีเรื่องอื่นอีกต่อไป เรื่องนี้กิมย้งหันกลับไปใช้ประวัติศาสตร์จีนสมัยจักรพรรดิคังซี แห่ง ราชวงศ์ชิง มีส่วนสะท้อนการเมืองในจีนแผ่นดินใหญ่หลังปฏิวัติวัฒนธรรมอยู่ไม่น้อย แต่ความเด่นอยู่ที่สะท้อนธรรมชาติวิสัยมนุษย์ในสังคมปัจจุบันที่ต้องลดมาตรฐานศีลธรรมลงเพื่อความอยู่รอด เป็นนิยายที่มุ่งสะท้อนความจริงมากกว่าจะชี้นำผู้อ่านอย่างที่กิมย้งเคยสอดแทรกไว้ในแทบทุกเรื่อง นับเป็นการแหวกวงล้อมครั้งยิ่งใหญ่ของนักประพันธ์เอกผู้นี้

ในด้านศิลปะการประพันธ์นั้น งานของกิมย้งมีความประณีตแยบยลทุกด้าน ที่เห็นได้ชัดคือ ด้านสำนวนภาษา กิมย้งมีทัศนะว่านิยายกำลังภายในเป็นวรรณกรรมแบบจีนแท้ แม้จะใช้ศิลปะการประพันธ์นวนิยายช่วยในการแต่ง แต่ไม่ควรใช้สำนวนภาษาแบบนวนิยายของตะวันตก ควรใช้สำนวนภาษาแบบนิยายรุ่นเก่าเช่น สามก๊กของจีน เป็นแนวทางพัฒนาให้เหมาะแก่ยุคสมัย

บทประพันธ์: กิมย้ง
กำกับ: ล่ายสุ่ยชิง, เติ้งเหยียนเฉิง, ถานรุ่ยหมิง, เซียวปี้ชุน
เขียนบท: หลิวเตี้ยนรุ่น