ณ เวิ้งแม่น้ำอิระวดี ดินแดนพุกามประเทศ เมื่อพุทธศักราช ๒๐๗๓ เมงกะยินโยได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามพระเจ้ามหาสิริชัยะสุระ ยกเศวตรฉัตรขึ้น ณ เมืองตองอู ทรงได้พระราชธิดาและพระราชบุตรพระนามว่า จันทรา และ มังตรา โดยมีนางเลาชีเป็นพระนม และนางเองก็มีบุตรชายชื่อว่า จะเด็ด เด็กทั้งสามจึงดื่มนมร่วมอกเดียวกัน
ละคร ผู้ชนะสิบทิศ 2556
ครั้นเมื่อเจริญวัยจะเด็ดได้เกิดความรักขึ้นกับตะละแม่จันทรา ทั้งสองจึงถูกพรากให้จากกัน จะเด็ดได้ไปเป็นพนักงานให้กับขุนวังทะกยอดิน ซึ่งมีบุตรสาวชื่อนันทวดี แต่ต่อมาได้เกิดเรื่องกับอุปราชสอพินยาแห่งหงสาวดีจนถึงขั้นอุกฤษ มหาเถรกุโสดอจึงขอพระราชทานอภัยโทษโดยให้จะเด็ดไปสืบราชการลับที่เมืองแปร โดยใช้ชื่อ มังฉงาย และเมื่อพระเจ้ามหาสิริชัยะสุระสิ้นพระชนม์ มังตราราชบุตรก็ขึ้นครองบัลลังก์แทน ทรงพระนามว่า พระเจ้าตะเบงชเวตี้ และได้อภิเษกกับนันทวดี
พระเจ้านรบดีแห่งแปรนั้นโปรดปราณจะเด็ดมากโดยมิได้ระแวงว่าเป็นไส้ศึก จึงให้เข้ามารับราชการอยู่ในวังโดยให้เป็นมโหรีหลวงสอน ตะละแม่กุสุมา ราชธิดาเล่นพิณ 13 สาย รานองเห็นจะเด็ดก็จำได้จึงวางแผนให้พระเจ้านรบดีบังคับจะเด็ดแต่งงานกับตะละแม่กุสุมา เพื่อผูกมัดตองอูไม่ให้เกิดศึกกับแปร มังตรารู้ข่าวเข้าใจว่าจะเด็ดทรยศจึงยกทัพมาตีแปรแต่ถูกพระเจ้านรบดีซ้อนกลจุดไฟเผาค่ายพ่ายแพ้กลับไป
กองทัพโมนยินของพระเจ้าโสหันพวารู้ว่าแปรกำลังอ่อนแอ จึงยกทัพมาตีกระหนาบซ้ำ สอพินยาพระคู่หมั้น อเทตยา หลานหลวง ซึ่งมีความริษยาจะเด็ดเพราะหลงรักกุสุมาอยู่เช่นกัน จึงวางแผนให้พวกโมนยินบุกเข้าเผาทำลายเมือง แล้วพากุสุมาหนีไปหงสาวดี กุสุมาเสียรู้ได้ตกเป็นมเหสีสอพินยา ส่วนจะเด็ดได้รับการช่วยเหลือจากกันทิมาลูกสาวตะคะญีครูดาบตีฝ่าวงล้อมกองทัพโมนยินกลับไปตองอู
มังตรานั้นยังโกรธแค้นจะเด็ดอยู่ถึงกับคิดจะประหาร แต่มหาเถรกุโสดอได้มาห้ามไว้ จะเด็ดขอแก้ตัวโดยนำกองทัพตองอูบุกไปตีแปรเป็นการล้างแค้น ศึกครั้งนี้จะเด็ดปราบได้ทั้งพวกโมนยินและแปร แต่พอรู้ว่าตะละแม่กุสุมาได้หนีไปหงสาวดีกับสอพินยา จะเด็ดก็แค้นหนักชวนจาเลงกะโบเพื่อนร่วมสาบานตามไปหงสาวดี ระหว่างนั้นสอพินยาไปราชการเมืองเมาะตะมะ จะเด็ดจึงใช้ให้ ปอละเตียง กับ เชงสอบู สองพี่น้องนางข้าหลวงกุสุมาช่วยพาลอบเข้าไปหากุสุมาเพื่อนำกุสุมากลับตองอู แต่กุสุมากลับหนีไปหาสอพินยาที่เมาะตะมะเพราะถือว่าได้เป็นเมียผัวกันแล้ว จะเด็ดยิ่งแค้นใจตามไปบุกชิงตัวกุสุมาคืน พร้อมกับเผากองเรือของสอพินยาเป็นการล้างแค้น หงสาวดีกับแปรจึงยกทัพมาตีกระหนาบ แต่จาเลงกะโบส่งข่าวไปให้ตะคะญียกทัพลงมาช่วยได้ทัน หงสาวดีกับแปรจึงถอยกลับเมืองไป
จะเด็ดยึดเมาะตะมะและแปร แล้วส่งตะคะญีมายั่วปะขันหวุ่นญีแม่ทัพแปรให้เกิดความแค้นใจถึงกับฆ่าตัวตาย ทำให้ โชอั้ว บุตรสาวฝังความแค้นในตัวจะเด็ดวางแผนให้จะเด็ดกับกุสุมาทะเลาะกัน จะเด็ดหลงกลเกิดความน้อยใจกุสุมาจึงชวนจาเลงกะโบกลับตองอู เมื่อถึงตองอูจะเด็ดกับมังตราเกิดทะเลาะกัน เพราะมังตราคิดว่าที่เกิดศึกเมาะตะมะนั้นเพราะจะเด็ดหลงผู้หญิงเพียงคนเดียว ด้วยความเมาจะเด็ดได้สังหารทหารองครักษ์มังตราเสียชีวิต จันทรากับเลาชีต้องมาขอพระราชทานชีวิตให้จะเด็ด และขอให้จะเด็ดบวชอยู่กับพระมหาเถรที่วัดกุโสดอ
สอพินยาได้ร่วมกับทัพโมนยินที่ตอนนี้ตีได้เมืองอังวะแล้ว ยกมาตีตองอูกับแปร มังตราต้องทำสงครามเพียงลำพังทำให้เกือบจะเสียเมือง จะเด็ดทนดูไม่ได้จึงขอร้องให้ตะละแม่จันทราช่วยจัดการสึกจากพระมาช่วยมังตราป้องกันเมืองจนพวกอังวะถอยไป ทำให้มังตราหายโกรธจะเด็ด
ส่วนศึกที่แปรนั้น ไขลูกับโชอั้วได้ร่วมกันหลอกจีสะเบงลูกแม่ทัพตองหวุ่นญีให้เปิดประตูเมือง แต่จาเลงกะโบไหวตัวทันป้องกันเมืองแปรไว้ได้ จีสะเบงจึงถูกพ่อฆ่าตายและไขลูถูกจับเป็นเชลย ส่วนโชอั้วนั้นจะเด็ดได้นำไปถวายเป็นพระสนมเอกมังตรา และจะเด็ดได้พูดจาหว่านล้อมให้จันทรายอมอภิเษกกับตนพร้อมกุสุมา ด้วยความรักและเห็นใจจะเด็ดจันทราจึงยอมทำตาม แต่เลาชีคัดค้านหากจะเด็ดฝืนจะขอยอมตาย จะเด็ดเห็นแก่แม่จึงยอมส่งกุสุมากลับแปร และนิมนต์พระมหาเถรตามไปงานอภิเษกตนกับกุสุมาที่แปร และจะเด็ดได้เป็นแม่ทัพแปรแทนปะขันหวุ่นญี สอพินยารู้เรื่องจึงลอบวางแผนไปช่วยไขลูออกมาจากตองอู และได้ลอบฆ่าพระมหาเถรตาย
จะเด็ดแค้นใจรีบจัดทัพลงไปตีหงสาวดี พระเจ้าสการะวุตพีกับสอพินยาสู้ไม่ได้จึงทิ้งเมืองพากันหนีไปเมาะตะมะ จะเด็ดยึดเมืองหงสาวดีได้ก็ยกทัพตามไปจับพระเจ้าสการะวุตพีสำเร็จโทษ สอพินยาสำนึกผิดที่ก่อเรื่องขึ้นมาทั้งหมดจึงปลงพระชนม์ชีพตนเอง แล้วจะเด็ดจึงจัดพิธีพระราชทานเพลิงพระศพพระมหาเถร โดยจับไขลูมาแล่เนื้อเผาประชุมเพลิงไปด้วยเพื่อให้หายแค้น
จากนั้นจึงประกอบพิธีพระบรมราชาภิเษกพระเจ้าตะเบงชเวตี้ขึ้นเป็นจักรพรรดิ์ แห่งพุกาม ประทับอยู่ ณ กรุงหงสาวดี ส่วนจะเด็ดได้พากุสุมา, มินบู, อเทตยา, ตองสา และเชงสอบู กลับไปอยู่กับจันทราที่ตองอู เนงบากลับไปยังหมู่บ้านกระเหรี่ยงเพื่อสู่ขอกันทิมา แต่พอรู้ว่ากันทิมารักอยู่กับจะเด็ดก็น้อยใจ ประกาศตัดเป็นตัดตายกับจะเด็ดหนีไปอังวะ จะเด็ดรู้ข่าวรีบออกติดตามก็ไม่พบ
ปลายปีนั้น สันเทโว เจ้าเมืองทรางทวย พระอนุชาพระเจ้าเมงบา เจ้าเมืองยะข่าย ระแวงพระเจ้าตะเบงชเวตี้จะมาย่ำยี จึงรีบเข้ามาสวามิภักดิ์แจ้งให้ไปตียะข่ายแทน พระเจ้าตะเบงชเวตี้กำลังโปรดอาวุธปืนไฟของพวกโปรตุเกสและอยากล้างอายที่ทำศึกแพ้จะเด็ดมาถึงสองหน จึงให้จัดทัพไปเอาเมืองยะข่าย พระเจ้าเมงบาเห็นทางสู้ไม่ได้จึงเปิดเมืองรับตะเบงชเวตี้ พร้อมกับถวาย ตะละแม่มุขอาย พระธิดาเชื้อสายมองโกลเป็นมเหสี มังตราโปรดมุขอายมากจึงไม่ยอมกลับหงสาวดี
สมิงสอตุด ขุนวังเชื้อสายเก่าสการะวุตพีผู้มีความแค้นในตัวจะเด็ด รู้ข่าวว่าทางโยเดียกำลังผลัดแผ่นดิน จึงกราบทูลยุยงให้ตะเบงชเวตี้ยกไปตี จะเด็ดทัดทานไม่ได้จึงอาสาเป็นทัพหน้าไปเตรียมเสบียงให้ จนกระทั่งพระมหากษัตริย์โยเดียแต่งทูตมาขอสงบศึก จะเด็ดเห็นว่าการยอมเจรจากับโยเดียครั้งนี้จะสร้างพระเมตตาคุณอันยิ่งใหญ่ให้เลื่องลือ จึงกราบทูลให้ตะเบงชเวตี้เจริญพระราชไมตรีกับกรุงโยเดีย แม่ทัพนายกองทุกคนก็เห็นด้วย ทำให้ตะเบงชเวตี้น้อยพระทัยที่ไม่ได้ยาตราทัพเข้ากรุงโยเดียแม้แต่ก้าวเดียว
เมื่อเดินทางกลับมาถึงเมาะตะมะก็เกิดข่าวลือว่าทัพตะเบงชเวตี้มิได้มีชัยแก่กรุงโยเดีย และที่รอดมาได้ก็เพราะสติปัญญาของจะเด็ดก็ทรงกริ้วจับคนพูดมาประหารเอาศพโยนทิ้งน้ำ สร้างความเจ็บแค้นให้กับชาวมอญเป็นอย่างมาก จะเด็ดต้องปลอบโยนจนสงบแล้วจัดขบวนทัพแห่เข้าหงสาวดีอย่างยิ่งใหญ่ แต่เกิดอาเพศอสุนีบาตตกต้องช้างพระที่นั่งจนพระองค์ได้รับบาดเจ็บ ต้องเข้าพิธีสะเดาะเคราะห์กระทำเป็นสู่สวรรคต ๗ ราตรี จะเด็ดจึงต้องอยู่เป็นเพื่อน โดยให้สมิงสอตุดเป็นผู้สำเร็จราชการกรุงหงสาวดีแทน สมิงสอตุดจึงใช้โอกาสนี้ยุแยงให้พระเจ้าเมงบาผิดใจกับจะเด็ดยกทัพมาบุกตองอู นันทวดีกับกันทิมาและข้าราชบริพารช่วยกันต่อสู้รักษากรุงหงสาวดีไว้ได้ แล้วรีบส่งกันทิมากับทหารขึ้นไปช่วยจันทราและพระโอรส ขณะเดียวกันมังตราได้ถูก พยัตตบะ ปรุงน้ำจัณฑ์ใส่ยาพิษถวายจนพระอาการทรุดหนัก จะเด็ดจึงไม่กล้าทิ้งมังตราขึ้นไปช่วยตองอู
พระเจ้าเมงบาได้ตั้งทัพคอยสกัดขบวนกันทิมาที่พาจันทราและพระโอรสหลบหนีมาตามช่องเขา ทำให้กันทิมาไม่อาจสู้กับกองทัพพระเจ้าเมงบาได้ แต่เนงบารู้ข่าวการยกทัพของพระเจ้าเมงบาจึงพากำลังจากซุ้มโจรของตนมาช่วย แต่ด้วยกำลังน้อยกว่าจึงสู้ไม่ได้ ทั้งเนงบากับกันทิมาจึงเสียชีวิตในสนามรบ
มังตรารู้ตัวว่าคงไม่มีพระชนม์ชีพอีกต่อไปจึงขอให้จะเด็ดไปปราบพระเจ้าเมงบา เพื่อรักษาแผ่นดินพุกามทั้งหมดเอาไว้ให้สมพระนาม “ผู้ชนะสิบทิศ” ตามที่พระองค์เคยฝันไว้ แล้วสิ้นพระชนม์ จะเด็ดจึงได้ยกทัพไปช่วยจันทราและลูกได้ทัน พระเจ้าเมงบาถูกสำเร็จโทษในสนามรบ
เสร็จศึกแล้วก็เป็นอันสิ้นเสี้ยนหนาม จะเด็ดหรือบุเรงนองจึงราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ เฉลิมพระนามว่า พระเจ้าสิริสุธรรมราชา ครองกรุงหงสาวดีเป็นผู้ชนะสิบทิศ ตะละแม่นันทวดีนั้น เมื่อถวายพระมหามงกุฎแด่พระเจ้าอยู่หัวสิบทิศแล้ว ก็กราบทูลลาออกบวชแสวงหาความสงบสุขตราบชั่วอายุขัย ติดตามชม ละครผู้ชนะสิบทิศ
บทประพันธ์โดย : ยาขอบ
บทโทรทัศน์โดย : ศัลยา/วิโรจน์ ศรีสิทธ์เสรีอมร
กำกับการแสดงโดย : คุณากร เศรษฐี
ผลิตโดย : บริษัท ศรีคำรุ้ง โปรดักชั่น จำกัด
อำนวยการสร้างโดย : ช่อง 8 ในเครืออาร์เอส
นักแสดง
รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ รับบท จะเด็ด/มังฉงาย/บุเรงนองกะยอดินนรธา/ปะหยิ่นหน่าว ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
วัลเณซ่า เมืองโคตร รับบท ตะละแม่กุสุมา ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
ปริศนา กัมพูสิริ รับบท ตะละแม่จันทรา ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
จิระ ด่านบวรเกียรติ รับบท มังตรา/ตะเบงชเวตี้/ตะปิ่นชเวตี ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
ปรมะ อิ่มอโนทัย รับบท สอพินยา ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
ณปภัช วัฒนากมลวุฒิ รับบท กันทิมา/นาคะตะเชโบ ชาวทรางทวย ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
กุลมาศ ลิมปวุฒิวรานนท์ รับบท อเทตยา ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
รอน บรรจงสร้าง รับบท เมงกะยินโย ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
รุ้งทอง ร่วมทอง รับบท พระราชเทวี ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
นฤมล พงษ์สุภาพ รับบท แม่เลาชี ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
กีรติ เทพธัญญ์ รับบท สีอ่อง ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
เขมชาติ โรจนะหัสดิน รับบท ขุนเมืองราย ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
กลศ อัทธเสรี รับบท พระเจ้านระบดี ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
พิมพ์ผกา เสียงสมบุญ รับบท พระอัครมเหสี ใน ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
สรพงษ์ ชาตรี รับบท ไขลู ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
สุเชาว์ พงษ์วิไล รับบท รานอง ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
เอกพัน บรรลือฤทธิ์ รับบท ตะคะญี ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง รับบท ปะขันหวุ่นญี ใน ละคร ผู้ชนะสิบทิศ
ผู้ชนะสิบทิศ เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ งานประพันธ์ของ ยาขอบ กล่าวถึงเรื่องราวของนักรบผู้หนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็น “ผู้ชนะสิบทิศ” นั่นคือ พระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดี นวนิยายได้รับความนิยมมากและดัดแปลงเป็นละครเวที ละครโทรทัศน์ และ ภาพยนตร์ หลายครั้ง ตลอดจน ละครวิทยุ รวมถึงมีการประพันธ์เพลง ผู้ชนะสิบทิศ ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายด้วย
ประวัติ
ผู้ชนะสิบทิศ เป็นนิยายที่ยาขอบ หรือโชติ แพร่พันธุ์ พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ในครั้งแรกใช้ชื่อว่า “ยอดขุนพล” เริ่มเขียนใน พ.ศ. 2474 จบลงใน พ.ศ. 2475 ในหนังสือพิมพ์ “สุริยา” และเริ่มเขียน “ผู้ชนะสิบทิศ” ในหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติ” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 จบภาคหนึ่งเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 ในตอน “ความรักครั้งแรก” รวมเล่มพิมพ์เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ฉบับพิมพ์รวมเล่มใช้ชื่อ “ลูกร่วมนม” สร้างชื่อเสียงให้ยาขอบ เขียนรวมทั้งหมด 3 ภาค เมื่อ พ.ศ. 2482 แต่ยังไม่จบ เนื่องจากขาดข้อมูลบางอย่างที่จะต้องใช้ประกอบการเขียน ในเนื้อเรื่องกล่าวถึงราชวงศ์ตองอูตอนต้น เริ่มตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเมงจีโย ไปจนถึงพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ หรือ มังตราราชบุตร โดยคำว่าผู้ชนะสิบทิศนั้น มาจากคำที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึง พระเจ้าบุเรงนองว่าเป็น The Conqueror of Ten Directions แต่สำหรับชื่อนิยาย จากหนังสือประวัติยาขอบ อ้างอิงว่า มาลัย ชูพินิจ เป็นผู้ตั้งให้
ผู้ชนะสิบทิศได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งยุคของจอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นช่วงที่รัฐบาลไทยมีนโยบายสร้างสหรัฐไทยเดิม โดยการส่งทหารไทยเข้ารุกรานดินแดนพม่าของอังกฤษร่วมกับญี่ปุ่น มีการปลุกระดมชาตินิยม ปี พ.ศ. 2485 ทางรัฐบาลได้มีการเข้าควบคุมสื่อสิ่งพิมพ์ทุกอย่าง นิยายผู้ชนะสิบทิศได้ถูกพิจารณาว่ามีเนื้อหาที่ยกย่องศัตรูของชาติ มีการใช้เรื่องราวที่ในนิยายไม่ได้กล่าวไว้ เช่นเรื่องการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งมาใช้การปลุกระดมชาตินิยม ทำให้นิยายผู้ชนะสิบทิศในสมัยนั้นถูกสั่งห้ามพิมพ์จำหน่ายหรือมีไว้ครอบครองอย่างเด็ดขาด
โครงเรื่อง
มหาราชพม่าพระองค์หนึ่งมีพื้นตระกูลกำเนิดสามัญชน “จะเด็ด” เป็นลูกพระนมหลวง จึงพลอยได้สมาคมกับพระราชวงศ์นับแต่ร่วมน้ำนมกับมังตราราชบุตร และตะละแม่จันทรา ต่อมาเป็นดั่งดวงใจ จะเด็ด ฉากของเรื่องมีสามเมืองใหญ่ที่เหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกันด้วยการเมือง การรบ ความแค้น และความรัก คือตองอู เมืองพม่าอันมีจะเด็ดเป็นหนึ่งในตองอู กับเมืองแปร และเมืองหงสาวดี อันเป็นเมืองมอญ ตองอูนั้นสร้างด้วยสามเกลอร่วมใจกัน คือ มังสินธุ ขุนพลผู้ออกบวช ภายหลังเป็นมหาเถรกุโสดออาจารย์ของจะเด็ด, ทะกะยอดิน ขุนพลผู้พอใจเป็นขุนวัง และเมงกะยินโย ขุนพลผู้เป็นกษัตริย์เมืองตองอู มีพระราชธิดาเกิดแต่พระอัครมเหสีนามว่า ตะละแม่จันทรา มีพระราชโอรสเกิดด้วยพระมหาเทวีเป็นรัชทายาทนามว่า มังตรา ส่วนจะเด็ดเป็นลูกคนปาดตาลที่แม่ชื่อ นางเลาชี ซึ่งมหาเถรกุโสดอถวายคำแนะนำกษัตริย์ตองอู รับเป็นพระนมของมังตราและจันทรา
ฝ่ายเมืองแปร หญิงผู้เป็นแสนรักของจะเด็ดอีกคนเกิดที่นี่ นามตะละแม่กุสุมา พระธิดาพระเจ้าเมืองแปรหรือพระเจ้านรบดี พระเจ้าแปรเป็นพระอนุชาของผู้ครองหงสาวดีคือพระยาราม มีราชบุตรชื่อสอพินยา ซึ่งมีบริวารนามว่าไขลู ตัวละครนี้ยาขอบรักที่สุด เพราะจะสร้างพระเอกอย่างจะเด็ดสร้างได้ไม่ยากนัก แต่จะสร้างคนชั่วช้าแบบไขลูสร้างได้ยากยิ่ง ตัวละครในผู้ชนะสิบทิศมีมากและกินเวลายาว กระนั้นการที่คนอ่านไม่เพียงตราตรึงบทของตัวละครเอก แต่ยังแผ่ใจจดจำตัวประกอบรองๆ ไม่สับสนหลงลืม เพราะผู้ประพันธ์กำหนดบทบาทและบุคลิกภาพของตัวละครชัดเจน เป็นกระพี้ที่สำคัญต่อการประสมประสานเป็นองค์เอกภาพเดียวกัน
จะเด็ดเจ้าชู้และเป็นชายชาตรีลูกคนธรรมดา เกือบจะพิมพ์เดียวกับขุนแผน ขณะที่ขุนแผนใช้เวทมนตร์และวิ่งหาความรัก ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตรักโดยเฉพาะชีวิตครอบครัว ส่วนบทบาทของขุนแผนในทางสังคมก็เพียงขุนนางชาวบ้านผู้จงรักภักดี แต่จะเด็ดหนุ่มรูปงามคารมดี มิได้ใช้เวทมนตร์ใด หากกิริยาวาจานั้นกำใจทั้งสาวๆ ในตัวละครและทั้งคนอ่าน แม้ผู้หญิงตามปกติไม่เห็นใจชายเจ้าชู้ ทว่าจะเด็ดดูว่าเป็นข้อยกเว้น เพราะด้วยความเคลิ้มอยากเป็นตะละแม่สักนางหนึ่ง เมื่อจะเด็ดอ้อนรำพัน “ข้าพเจ้ารักจันทราด้วยใจภักดิ์ แต่รักกุสุมาด้วยใจปอง” ซึ่งหัวใจจะเด็ดยังกว้างเหมือนมหาสมุทรที่ไม่เลือกเรือสำหรับหญิงอื่นๆ อีกด้วย ในความเป็นสามัญชนของจะเด็ดยังแตกต่างจากขุนแผน ที่เป็นเพียงข้าผู้ภักดีในฐานะขุนนาง ทว่าจะเด็ดไม่เพียงเด็ดดอกฟ้าโดยเป็นสวามีพระพี่นางของมังตรา หลังสิ้นมังตรายังขึ้นเป็นกษัตริย์ของคนทั้งแผ่นดิน