ละคร สังข์ทอง 2561
กาลปางก่อน มีท้าวยศวิมล ครองเมืองพรหมนคร ท้าวยศวิมลมีมเหสีสององค์ มเหสีฝ่ายขวาชื่อ “จันเทวี” มเหสีฝ่ายซ้ายชื่อ “จันทา” ต่อมามเหสีทั้งสองทรงครรภ์ โหรทำนายว่าบุตร ของมเหสีฝ่ายขวาเป็นชาย ส่วนมเหสีฝ่ายซ้ายเป็นหญิง เมื่อครบกำหนดคลอด มเหสีจันเทวีก็คลอดโอรสออกมาเป็นหอยสังข์ ทำให้มเหสีจันทาจึงใส่ร้ายจนพระเจ้าพรหมทัตหลงเชื่อ ขับไล่พระนางจันเทวีออกจากพระราชวัง นางจันเทวีเดินทางด้วยความยากลำบาก เมื่อถึงชายป่านอกเมือง ยายตาสองคนสงสารจึกชวนให้พักอยู่ด้วย
วันหนึ่งนางจันเทวีออกจากบ้านไปช่วยตายายเก็บผักหักฟืน ลูกน้อยในหอยสังข์ก็ออกจากรูปหอยสังข์ช่วยปัดกวาดบ้านเรือน และหุงหาอาหารไว้ พอเสร็จก็กลับเข้าไปในรูปหอยสังข์ตามเดิม พระนางกลับมาก็แปลกใจว่าใครมาช่วยทำงาน พระนางจันเทวีอยากรู้ว่าเป็นใคร วันหนึ่งจึงทำทีออกจากบ้านไปป่าเช่นเคย แต่แล้วก็ย้อยกลับมาที่บ้าน โอรสในหอยสังข์ก็ออกมาทำงานบ้าน พระนางจันเทวีเห็นโอรสเป็นมนุษย์ก็ดีใจ จึงทุบหอยสังข์เสียและกอดโอรสด้วย ความยินดี และตั้งชื่อให้ว่า ” สังข์ทอง ”
ผลิตโดย : บริษัท สามเศียร จำกัด , บริษัท ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น จำกัด
บทละครโทรทัศน์ : ภาวิต
กำกับการแสดง : ภิภัชพนธ์ อภิวรสิทธิ์
ลิขสิทธิ์: บริษัทสามเศียร จำกัด
นักแสดงนำ : สุรศักดิ์ สุวรรณวงษ์, เกศรินทร์ น้อยผึ้ง, โอภาภูมิ ชิตาพัณณ์, ณพบ ประสบลาภ, ชนุชตรา สุขสันต์, รัฐศิลป์ นลินธนาพัฒน์, ปิ่นทิพย์ อรชร, คริสเตียน เอเกิล, อัญรส ปุณณโกศล, สุพศิน แสงรัตนทองคำ, ชนาวดี อุ่นทะศรี, ธรศักดิ์ จิตตพงษ์, กัญจน์อมล เคล้าจิตพูลสุข,พบศิลป์ โตสกุล, ธนภัทร ดิษฐไชยวงค์, อัมรินทร์ สิมะโรจน์, ปถมาภรณ์ รัตนภักดี, แดนดี้ เอเวอรี่, เพชรฎี ศรีฤกษ์, ปนัดดา โกมารทัต
สังข์ทอง เดิมทีนั้นเป็นบทเล่นละครในมีมาแต่กรุงสุโขทัยยังเป็นราชธานีถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตัดเรื่องสังข์ทองตอนปลาย (ตั้งแต่ตอนพระสังข์หนีนางพันธุรัต) มาทรงพระราชนิพนธ์ให้ละครหลวงเล่น มีตัวละครที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เจ้าเงาะซึ่งคือพระสังข์ กับนางรจนา เนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นนิยม จึงมีการนำเนื้อเรื่องบางบทที่นิยม ได้แก่ บทพระสังข์ได้นางรจนา เพื่อนำมาประยุกต์เป็นการแสดงชุด รจนาเสี่ยงพวงมาลัย
ในคำนำหนังสือ”พระราชนิพจน์บทละครเรื่องสังข์ทอง” ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กล่าวไว้ว่า
…นิทานเรื่องสังข์ทองนี้มีในคัมภีร์ปัญญาสชาดก เรียกว่าสุวัณณสังขชาดก ถึงเชื่อถือกันว่าเป็นเรื่องจริง พวกชาวเมืองเหนืออ้างว่าเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองท้าวสามล ยังมีลานศิลาแลงแห่ง ๑ ว่าเป็นสนามคลีของพระสังข์ อยู่ไมห่างวัดพระมหาธาตุนัก ที่ในวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุ ฝาผนังก็เขียนเรื่องสังข์ทอง เป็นฝีมือช่างครั้งกรุงเก่ายังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ทางหัวเมืองฝ่ายตะวันตงว่า เมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองท้าวสามนต์อีกแห่ง ๑ เรียกภูเขาลูก ๑ ว่าเขาขมังม้า…
สังข์ทองเป็นเรื่องที่ได้มาจากสุวัณสังขชาดก เป็นหนึ่งใน ชาดกพุทธประวัติ เป็นนิทานพื้นบ้านในภาคเหนือและภาคใต้โดยที่สถานที่ที่กล่าวถึงเนื้อเรื่องในสังข์ทอง กล่าวคือเล่ากันว่า
เมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองท้าวสามนต์ อยู่ในบริเวณใกล้วัดมหาธาตุเนื่องจากมีลานหินเป็นสนามตีคลีของพระสังข์
ส่วนในภาคใต้ เชื่อว่าเมืองตะกั่วป่าเป็นเมืองท้าวสามนต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อว่า “เขาขมังม้า” เนื่องจากเมื่อพระสังข์ตีคลีชนะได้ขี่ม้าข้ามภูเขานั้นไป