ปัญหาผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ภาครัฐและเอกชนต่างเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ทั้งจัดหาที่พักพิง แจกอาหาร แจกหน้ากากอนามัยให้กับพวกเขาเหล่านี้ เพื่อให้ยังชีพและป้องกันตนเองได้ในภาวะโรคระบาด การจัดหาที่พักพิงของรัฐไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมารัฐพยายามพาผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเข้ามาอาศัยในศูนย์พักพิงเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว แต่ทำไมเรายังเห็นคนออกมานอนตามสถานีรถไฟ สวนสาธารณะ หรือตามตรอกซอกซอยต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อะไรคือปัญหาที่ทำให้ความพยายามจัดระเบียบผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะไม่สำเร็จซักที

ก่อนโควิด-19 จะเข้าสู่ภาวะวิกฤต ชีวิตของพวกเขาเหล่านี้ จะใช้เวลาไปกับการรับจ้างช่วยงานที่วัดเป็นส่วนใหญ่ แต่ตอนนี้ ตารางงานที่เคยจดไว้ถูกยกเลิกไปหมด ชีวิตส่วนใหญ่จึงอยู่กับการเฝ้ารอรับอาหารแจก แม้บางครั้งจะได้กินเพียงมื้อเดียว
 แต่ชายคนนี้ก็เลือกที่จะไม่ขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ เพราะเคยถูกเจ้าหน้าที่พาเข้าสถานสงเคราะห์มาก่อน เช่นเดียว กับคนทั่วไป คนเร่ร่อนก็มีความฝัน มีจุดมุ่งหมายในชีวิต แม้จะเลือนลางจนมองไม่เห็นปลายทาง สำหรับพวกเขาเหล่านี้ อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต? เขาตอบว่า

“ไม่รู้ถ้ามีโอกาสนะ ถ้ามีโอกาสหรือว่ามีเงินสักหน่อย เราจะไปบ้านเกิด ไปสร้างกระต๊อบอยู่สักหลัง อยู่คนเดียวกระต๊อบหลังเล็กๆ ปลูกผักปลูกอะไรกิน ก็อยู่ได้แล้วบ้านนอก อยู่ที่มีโอกาสหรือเปล่า ถ้ามีโอกาสนะ แต่มันก็ยากนะ อยู่อย่างนี้ไปกระทั่ง
วันตาย”



หัวใจข้าราชการ
หัวใจข้าราชการ

ด้วยสถานการณ์และเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมที่เกี่ยวกับข้าราชการไทยในวันนี้อาจก่อให้เกิดความไม่ไว้ใจ เสื่อมศรัทธาแต่ถึงอ อ่านต่อ

รังสิยา​ สามีสตรีเหล็ก
รังสิยา​ สามีสตรีเหล็ก

"ความรักที่ออกแบบได้เองของสาวประเภทสอง กับผู้หญิงที่มองรักจากหัวใจ" “รังสิยา” ธนพล ขานหยู่ สาวประเภทสอง พบรักกับ พี่ทองด อ่านต่อ