ดาวเรือง (นาว – ทิสานาฏ) บุตรสาวคนเล็กของพระสุวรรณราชา(พัน) (บิ๊ก – ศรุต) อดีตข้าราชการที่ลาออกมาทำกิจการช่างตีทอง เธอเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความรักความอบอุ่นของครอบครัว จาก ย่านิ่ม (ดวงดาว จารุจินดา) ผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ ที่เป็นทั้งย่าและแม่คอยอบรมสั่งสอนดาวเรือง นอกจากนี้ยังมีพี่สาวที่คอยใส่ใจอย่าง ลำดวน (เพลง – ภตภร) ที่่แต่งงานกับหลวงเทพ (กอล์ฟ – อนุวัฒน์) ข้าราชการหนุ่มผู้เข้มแข็งและยึดมั่นในสัตย์สาบาน หลวงเทพเป็นพี่ชายของขุนไกร (พอร์ช – ศรัณย์) นายทหารหนุ่มไฟแรงตัวแทนคนรุ่นใหม่แห่งกรุงศรีที่พร้อมปลดแอก ขุนไกรเป็นพี่ชายที่แสนดีของดาวเรืองมาตั้งแต่เธอยังเป็นเด็กหญิง เมื่อเธอเติบโตขึ้น ทั้งสองจึงได้พัฒนาความสัมพันธ์ไปจนถึงขั้นคนรัก แต่ภารกิจการกอบกู้ชาติบ้านเมืองและภารกิจหัวใจของขุนไกร กลับมีอุปสรรคใหญ่คอยขวางกั้น นั้นก็คือ หมื่นทิพเทศา หรือ ด้วง (อ๊อฟ ชนะพล) ข้าราชการหนุ่มที่ได้ดีมีสุขเพราะอาศัยบารมีพ่อแม่ และการประจบสอพลอ ผู้ที่เคยเป็นน้องเขยของหลวงเทพ และ ขุนไกร แต่ความเจ้าชู้ของเขาร้ายแรงถึงขั้นทำให้แม่เยื้อน (แนท – ณัฐชา) ต้องตรอมใจตาย
ละคร สายโลหิต 2561
ซีนละคร สายโลหิต 2561
กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นราชธานีที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในภูมิภาคอุษาคเนย์ ณ เวลานั้น
สามครอบครัวขุนนางของอยุธยา ที่คนในครอบครัวมีชีวิตเกี่ยวพันกันทั้งรักทั้งแค้นจนกลายเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันจนวาระสุดท้ายของชีวิต คือ
ครอบครัวของพระสุวรรณราชาเป็นช่างทองหลวง พระสุวรรณ มีบุตรชายหญิง3 คน คือ พ่อเดือน รับราชการเป็นหลวงเสนาสุรภาค ลำดวน บุตรีคนต่อมา และ ดาวเรือง บุตรีคนสุดท้องอายุ10ขวบ แม่ของลูกสามคนเสียชีวิตแล้ว ลูกๆจึงมี ย่านิ่ม เป็นผู้เลี้ยงดู
อีกครอบครัวคือ พระยาพิริยะแสนพลพ่ายและคุณหญิงศรีนวล มีบุตรชายหญิงสามคนเช่นกัน คือ หลวงเทพฤทธิ์อริศัตรูพ่าย รับราชการเป็นทหาร และเพิ่งแต่งงานกับลำดวน ขุนไกร วัยยี่สิบปีเป็นบุตรคนที่สองรับราชการทหารเช่นกัน และ แม่เยื้อน บุตรีคนสุดท้องอายุเพิ่งย่างรุ่นสาว
ครอบครัวที่สามคือ พระวิชิตปรีชาและคุณหญิงปริก ทั้งสองมีบุตรชายเพียงคนเดียวคือ หมื่นทิพเทศา เป็นลูกทูนหัวทูนเกล้าของคุณหญิงปริกทั้งรักและตามใจจนหมื่นทิพหยิ่งผยอง สามหาวและเจ้าเล่ห์แสนกล หมื่นทิพเข้ามาเกี่ยวดองกับครอบครัวของพระยาพิริยะแสนพลพ่าย เพราะเจ้าเล่ห์ล่อหลอกจนแม่หญิงเยื้อนตกหลุมรัก แม้ขุนไกรพี่ชายที่รู้เช่นเห็นชาติหมื่นทิพดี จะทักท้วงอย่างแรงด้วยรู้นิสัยชั่วร้ายของหมื่นทิพ แต่แม่เยื้อนไม่เกรงกลัวใดๆ ยืนยันจะแต่งงานกับหมื่นทิพให้จงได้ คุณหญิงศรีนวลสนับสนุนหมื่นทิพเต็มที่เพราะอยากได้ของกำนัลที่หมื่นทิพนำมาให้มิได้ขาด ขุนไกรกับหมื่นทิพจึงเป็นไม้เบื่อไม้เมากันเรื่อยมา
ดาวเรือง หญิงสาวที่เกิดและเติบโตในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เธอเป็นหลานสาวที่คุณย่านิ่มให้ความรักและความเอ็นดู เนื่องด้วยเมื่อตอนเด็กดาวเรืองต้องกำพร้าแม่ มีเพียง หลวงสุวรรณราชา ผู้เป็นพ่อ ท่านได้มอบให้เธออยู่ในความดูแลของคุณย่านิ่มนับแต่นั้นมา ดาวเรืองมีพี่อยู่ 2 คน เธอเป็นน้องสาวคนสุดท้อง คนหนึ่งเป็นพี่ชายมีชื่อว่า หลวงเสนาสุรภาค อีกคนหนึ่งเป็นพี่สาวมีชื่อว่า ลำดวน ต่อมา เมื่อลำดวนมีอายุได้ 20 ปี เธอตกลงปลงใจที่ตกแต่งกับ หลวงเทพฤทธิ์อริศัตรูพ่าย ผู้เป็นพี่ชายร่วมสายโลหิตเดียวกับ ขุนไกร มีหน้าที่เป็นกองทะลวงฟันในตอนนั้น โดยทั้งคู่เป็นบุตรชายของ พระยาพิริยะแสนพลพ่าย และคุณหญิงศรีนวล
หมื่นทิพเทศา บุตรชายของ พระวิชิต และคุณหญิงปริก ตอนนั้นเขาเป็นทหารฝ่ายพระยารัตนาธิเบศร์ หมื่นทิพเทศาเธอเป็นผู้ชายที่มักมากในกาม เที่ยวไปมีเรื่องชู้สาวกับผู้หญิงอื่นนับไม่ถ้วน ทั้งยังทำตัวกร่างเป็นนักเลงหัวไม้ คอยบีบบังคับให้ดาวเรืองช่วยแอบส่งเพลงยาวให้กับ แม่หญิงเยื้อน น้องสาวคนสุดท้องของขุนไกร แต่แล้วก็ถูกจับได้เสียก่อน โดยดาวเรืองยอมรับกับขุนไกรว่าที่เธอช่วยทำเรื่องนี้ให้หมื่นทิพนั้น เป็นเพราะเขารู้ว่าเธอแอบหนีไปเที่ยวที่คุกกับบรรดาแม่ครัว ซึ่งในตอนนั้นนับว่าเป็นสถานที่ต้องห้าม พอถูกจับได้ ขุนไกรเลยขอยึดเอาเพลงยาวไว้ แล้วขออนุญาตกับคุณย่านิ่มพาดาวเรืองไปเที่ยวรอบๆ กรุงศรีอยุธยา
ดาวเรืองเป็นคนที่ชอบซัก ชอบถาม เธอจดจำสิ่งต่างๆ รอบตัวที่พบเห็นได้ดี มีความรอบรู้เกินกว่าเด็กที่อยู่ในวัยเดียวกัน ทำให้ขุนไกรเกิดความรู้สึกเอ็นดูในตัวของดาวเรืองเป็นอย่างมาก เมื่อความรู้ถึงหูของหมื่นทิพเข้าว่าถูกขัดขวางเส้นทางความรักระหว่างเขากับแม่หญิงเยื้อน หมื่นทิพจึงประกาศชัดว่าจะต้องขอแม่หญิงเยื้อนมาเป็นเมียของตนให้จงได้ ครั้นเมื่อขุนไกร หลวงเสนาสุรภาค และพระยาพิริยะ แสนพลพ่าย จำต้องออกทัพเพื่อไปป้องศึกที่พม่ายกทัพเข้ามาตี หมื่นทิพสบโอกาส จึงเดินทางไปมาหาสู่แม่หญิงเยื้อนได้ตามใจ อีกทั้งแม่หญิงเยื้อนก็มีท่าทีพอใจในตัวหมื่นทิพอยู่ไม่น้อย เมื่อขุนไกรรู้เรื่องเข้า จึงเกิดความแค้นเคืองในตัวหมื่นทิพเป็นอันมาก
เมื่อดาวเรืองอายุย่างเข้า 13 ปี ในตอนนั้นพม่าเริ่มยกทัพเข้ามารุกหนักขึ้น ขุนไกรขันอาสาที่จะไปออกรบ พันสิงห์ผู้ที่เป็นลูกน้องคนสนิทของขุนไกร ได้ผลัดมือกันหนีตายกลับเข้ากรุง พันสิงห์หนีมาจนถึงเขตบ้านของดาวเรือง เมื่อมีผู้มาพบจึงได้ไปแจ้งความให้คุณย่านิ่มทราบ โดยให้นางเยื้อนผู้ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงของดาวเรืองช่วยรักษาและดูแลจนหายป่วย จากนั้นพันสิงห์และนางเยื้อนก็ตกลงที่จะแต่งงานกันในที่สุด ขุนไกรเข้าสู้รบจนมีอาการบาดเจ็บสาหัสจนต้องถูกหามกลับเข้ามารักษาตัวที่บ้านของครูดาบ แต่อาการยังไม่ทันจะทุเลาก็อาสาที่จะออกไปรบอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากทนที่จะดูอยู่เฉยๆ ไม่ได้ ในขณะเดียวกัน แม่หญิงเยื้อนก็ตัดสินใจที่จะรับหมั้นหมื่นทิพ เมื่อขุนไกรรู้ข่าวว่าพม่าใกล้จะเข้าประชิดเขตกรุงศรีเต็มที จึงตัดสินใจขอย้ายราชการไปอยู่ที่หัวเมืองเหนือ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องอยู่ร่วมชายคาเดียวกับหมื่นทิพ โดยมีพันสิงห์กับนางเยื้อนติดตามไปอยู่ที่หัวเมืองด้วย
เข้าสู่ช่วงปลายปี พุทธศักราช 2309 ศึกจากฝั่งพม่าเริ่มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลวงไกรเดินทางเข้ามาส่งข่าวราชการที่กรุงศรี บังเอิญไปได้ยินขุนทิพหลุดปากเรื่องที่ว่าเคยฉุดดาวเรืองไปลวนลามใต้น้ำ หลวงไกรโกรธมาก จึงตัดสินใจสู่ขอดาวเรืองจากหลวงสุวรรณราชาด้วยตัวเอง แล้วก็ได้รับความยินยอมในเรื่องนี้ด้วยความยินดี เมื่อขุนทิพรู้ข่าวก็แค้นเคืองใจมาก ขุนทิพจึงกลั่นแกล้งลงคำสั่งให้หลวงไกรต้องรักษาเมืองธนบุรีตั้งแต่คืนวันที่ต้องเข้าพิธีแต่งงาน ทำให้ดาวเรืองต้องอยู่เฝ้าเรือนหอเพียงลำพัง จากนั้นคุณย่านิ่มจึงมาอยู่ด้วย แต่แล้วคุณย่าก็สิ้นใจลงที่นี่ โดยที่ก่อนหน้านี้ท่านได้ดูดวงบ้านเมืองเอาไว้ ซึ่งคำทำนายได้บอกไว้ว่ากรุงศรีอยุธยากำลังจะแตก ไม่นาน ถ้อยคำที่ทำนายก็กลายเป็นจริง เมื่อทัพพม่าบุกเข้าประชิดกำแพงได้และเผาทำลายจนพังราบ แล้วเดินหน้าเข้าสู่ตัวเมืองชั้นใน ขุนทิพและนายมิ่ง บ่าวรับใช้ ไม่ยอมเข้าเป็นพวกกับฝั่งพม่า ฮึดสู้กันจนตายที่ป้อมประตูเชิงเทิน ไม่มีผู้ใดที่จะต้านทานศึกในครั้งนี้ได้ ทำให้อยุธยาต้องสิ้นสุดยุคสมัยลงในตอนนี้
ขุนไกรและดาวเรืองถูกจับเข้าเป็นเชลยของพม่า ซึ่งในขณะนั้นเธอกำลังตั้งท้องอ่อนๆ เมื่อขุนไกรรู้เข้าก็เตรียมการที่จะพากันหนีและทำได้สำเร็จจนมาพบเข้ากับเจ้าพระยาจันทบุรี จากนั้นก็ร่วมรบกันเรื่อยมาสำเร็จหลายครั้ง ครั้นเมื่อเจ้าพระยาจันทบุรีขึ้นครองราชย์ ณ กรุงธนบุรี ขนานนามว่า พระเจ้าตากสินมหาราช แต่ก็ทรงอยู่ในราชสมบัติได้เพียงไม่นานเนื่องด้วยตกอยู่ในภาวะวิกลจริต เจ้าพระยาจักรีจึงได้ตั้งกรุงใหม่และสถาปนาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นยุคเริ่มแรกของราชวงศ์จักรี เจ้าพระยาจักรีได้รับการขนานนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
นับตั้งแต่นั้น ขุนไกรต้องคอยออกรบอยู่เรื่อยมา แต่ก็สิ้นใจลง เนื่องด้วยชรามากแล้ว ทำให้ดาวเรืองและลูกๆ ต้องเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก ต่อมาไม่นาน ดาวเรืองก็สิ้นใจลงด้วยโรคชรา ส่วนบรรดาลูกหลานก็ยังคงทำหน้าที่ของตนและรับราชการแผ่นดินสืบต่อกัน รอวันเวลาที่ดาบของทั้งบรรพบุรุษทั้งสองจะได้กลับมาอยู่ร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
กำกับการแสดงโดย : เพ็ญลักษณ์ อุดมสิน
บทประพันธ์โดย : โสภาค สุวรรณ
บทโทรทัศน์โดย : ศัลยา สุขะนิวัตติ์
ผลิตโดย : ค่าย ดาราวิดีโอ
นักแสดง
ศรัณย์ ศิริลักษณ์ รับบท ขุนไกร
ทิสานาฏ ศรศึก รับบท ดาวเรือง
ชนะพล สัตยา รับบท หมื่นทิพเทศา
ณัฐชา นวลแจ่ม รับบท แม่หญิงเยื้อน
ดวงดาว จารุจินดา รับบท คุณย่านิ่ม
อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา รับบท หลวงเทพฤทธิ์อริศัตรูพ่าย
กวิตา จินดาวัฒน์ รับบท ลำดวน
รชนีกร พันธุ์มณี รับบท คุณหญิงปริก
ขจรศักดิ์ รัตนนิสสัย รับบท พระยาวิชิตปรีชา
ศรุต วิจิตรานนท์ รับบท พระสุวรรณราชา
อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รับบท พระยาพิริยะแสนพลพ่าย
ขวัญฤดี กลมกล่อม รับบท คุณหญิงศรีนวล
นนทพันธ์ ใจกันทา รับบท หลวงสนาสุรภาค (พ่อเดือน)
สุเมธ องอาจ รับบท พระยาหลเทพ
ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล รับบท เจ้าพระยาจักรี
สุรวุฑ ไหมกัน รับบท พระเจ้าตาก
อินทิรา เจริญปุระ รับบท นางเยื้อน
สุรศักดิ์ โชติทินวัฒน์ รับบท พันสิงห์
อรุชา โตสวัสดิ์ รับบท พระเจ้าอลองพญา
พูลภัทร อัตถปัญญาพล รับบท พระเจ้ามังระ
ธนายง ว่องตระกูล รับบท เนเมียวสีหบดี
ธิตินันท์ สุวรรณศักดิ์ รับบท พระเจ้าเอกทัศน์
เพชรฎี ศรีฤกษ์ รับบท พระเจ้าอุทมพร
กัญญารัตน์ พงศ์กัมปนาท รับบท เจ้าจอมเพ็ง
อิงฟ้า เกตุคำ รับบท เจ้าจอมแม้น
นึกคิด บุญทอง รับบท สมุนหพระกลาโหม
สุระ มูรธานนท์ รับบท มังมหานรธา
พลกฤษณ์ จักรสุวรรณ รับบท สุกี้
โอภาภูมิ ชิตาพัณณ์ รับบท ขุนรองปลัดชู
บรรเจิดศรี ยมาภัย รับบท ยายนวล
ชนัญญา พงษ์นาค รับบท อีพวง
ศรุฒ สุวรรณภักดี รับบท ไอ้มิ่ง
กฤษณนาท มะลิวัลย์ รับบท ไอ้มา
ศุภชัย เธียรอนันต์ รับบท พระยารัตนาธิเบศร์
สุธี ศิริเจริญ รับบท พระยายมราช
สุรจิต บุญญานนท์ รับบท พระราชบังสันเสนา
ธนภัทร สีงามรัตน์ รับบท เจ้าพระยามหาเสนา
โชคดี ฟักภู่ รับบท พ่อทับ
รุ่งกานดา เบญจมาภรณ์ รับบท ยายเผื่อน
ชลมารค ธ เชียงทอง รับบท นางอิ่ม
ณัฐมนต์ พันธุ์เพ็ง รับบท นางชด
สวีเดน ทะสานนท์ รับบท ไอ้จั่น
อุดมศักดิ์ ตันติพรกุศล รับบท ไอ้โห่
พรรณี โต๊ะนายี รับบท นังอ้น
ณัฎฐวรรณ มังคะตะ รับบท อีกุลา
ศิริพร ไพบูลย์กิจกุล รับบท อีหอม
ศิริวรรณ พวงทอง รับบท นังจุ้น
จรินรัตน์ ทาสี รับบท อีแพ้ว
ด.ญ.สุภาภัสสร์ ผลเจริญรัตน์ รับบท ดาวเรือง (ตอนเด็ก)
ด.ช.ทินภัทร ทินกร รับบท จันทร์
ด.ช.ธีรพัฒน์ คงสว่าง รับบท กลด
ด.ช.เอ็กเซเวียร์ เจค๊อบสัน รับบท กล้า
ด.ญ.สิริวลี อภิชาตบุตร รับบท บัวผัน
ด.ญ.ปารย์ชนก ผ่านสำแดง รับบท พลับพลึง
สายโลหิต เป็นนวนิยายไทยประพันธ์โดย โสภาค สุวรรณ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณกรรม ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร สตรีสาร เมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ชาติไทยปลายกรุงศรีอยุธยา (ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18) นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ถึง 4 ครั้ง (พ.ศ. 2529, 2538, 2546, 2561) นวนิยายเรื่องนี้จัดพิมพ์ครั้งที่ 12 และยังคงเป็นที่รักของแฟน ๆ ทั่วโลก