คนค้นฅน : เสียงเล็ก ๆ ของนุกนิก

“แม่บอกว่าถ้าเราทำงานได้ตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ โตไปจะได้ไม่ลำบาก”
เด็กหญิงจารุวรรณ แก้วจำรูญ หรือ นุกนิก เธออายุ 12 ปี กำลังเรียนอยู่ชั้น ป.5 นุกนิก มีน้องสาวอีก 1 คนอายุ 7 ขวบซึ่งกำลังเรียนอยู่ชั้น ป.2 ครอบครัวนุกนิกอาศัยอยู่ที่ห้องแถวเช่ากับแม่ ส่วนพ่อแยกทางกับแม่นานแล้ว ปัจจุบันแม่ของนุกนิกขายไส้กรอกอีสานอยู่บริเวณริมถนนกรมหลวงในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ทุก ๆ วัน แม่นุกนิกก็จะขับรถมอเตอร์ไซค์พ่วงเก่า ๆ ที่ดัดแปลงเป็นรถขายไส้กรอก ขับมาแม่จอดขายอยู่ริมถนนคนเดียว

จนกระทั่งนุกนิกกับน้อง กลับมาจากโรงเรียนก็จะมาสลับกับแม่ ทั้งสามคนแม่ลูกจะช่วยกันขายไส้กรอกจนมืดค่ำหรือจนกว่าจะขายหมด บางคืนถ้าหมดเร็วก็จะได้กลับเข้าบ้านพักประมาณ 2 ทุ่ม หรือวันไหนขายไม่หมดก็จะเลยเวลาไปเกือบ 3 ทุ่ม กว่าเด็กทั้งสองคนจะได้กลับเข้าบ้านเพื่อไปทำการบ้านต่อ ซึ่งกิจวัตรประจำแบบนี้เป็นภาพที่ชาวบ้านที่ผ่านไปมาเห็นจนเป็นภาพชินตา และต่างก็ชื่นชมในความขยัน อดทนของครอบครัวนุกนิก ชีวิตของทั้งสามแม่ลูกวนเวียนอยู่อย่างนี้วันแล้ววันเล่า

ในขณะที่วันเสาร์อาทิตย์ เด็ก ๆ ในวัยเดียวกันกับเธอต่างก็ได้หยุดอยู่บ้านเที่ยวเล่นไปตามวัย แต่สำหรับนุกนิก วันที่ไม่ต้องไปโรงเรียนคือวันที่เธอได้ทำงานช่วยแม่ได้มากที่สุด
“บางวันหนูก็มีเหนื่อยเหมือนกัน แต่หนูเคยบอกแม่ว่าเหนื่อย และก็ไม่เคยหยุดช่วยทำงาน หนูรู้สึกดีใจที่ได้ช่วยแม่มากกว่า ก็ต้องช่วยกัน ถ้าไม่ช่วยก็ไม่มีคนขาย ไส้กรอกข้างในบ้านก็ทำไม่เสร็จ ก็สงสารแม่ด้วยค่ะ เพราะว่าแม่ทำตั้งแต่เช้า อยากช่วยให้เสร็จเร็ว”
ซึ่งมีลูกค้าจำนวนมากที่มักจะถามแม่ของนุกนิกว่ามีวิธีเลี้ยงลูกยังไง ซึ่งแม่จะเพียงว่า เลี้ยงให้ลูกลำบากวันนี้เพื่อที่วันข้างหน้าลูกจะได้ไม่ลำบาก

“วิธีคิดของแม่ คิดว่าไม่ใช่ว่าเราลำบากแล้วไม่อยากให้ลูกลำบาก ยิ่งเราลำบากยากจนเราจะยิ่งสอนให้ลูกรู้จักความลำบาก เพราะถ้าวันไหนที่เราไม่อยู่เขาจะได้อยู่ได้เอาตัวรอดได้แต่คนส่วนใหญ่อีกประเภทหนึ่งก็จะคิดว่าตัวเองลำบากก็เลยยอมลำบากเองไม่ให้ลูกลำบาก กลัวลูกเหนื่อย ทำทุกอย่างให้ลูกเพราะสงสารลูก แบบนี้คิดผิด”


โค้ชธุรกิจแบบตัวต่อตัวกับ ต๊อบ เถ้าแก่น้อย
โค้ชธุรกิจแบบตัวต่อตัวกับ ต๊อบ เถ้าแก่น้อย

"อายุน้อยหมื่นล้าน" ผู้นำพาธุรกิจขนมสาหร่ายทะเลทอดกรอบเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ด้วยวัยเพียง 31 ปี มาเรียนรู้มุมมองความคิดในก อ่านต่อ

แดนขังหญิง
แดนขังหญิง

คนติดคุกไม่ควรได้รับโอกาสเสมอไปหรือไม่? เรื่องราวหลากหลายหลังกำแพงคุกใน “แดนขังหญิง” เรือนจำกับการสร้างโอกาส สิทธิขั้นพื อ่านต่อ