ไดโนเสาร์แดนอีสาน ฟอสซิล
การค้นพบฟอสซิลที่สำคัญของไทย คือ ฟอสซิลเกือบสมบูรณ์ทั้งตัวของไดโนเสาร์กินพืชที่ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์ เป็นการค้นพบที่สำคัญ และพบได้ยากมาก ทำให้มีการพัฒนาภูกุ้มข้าว เป็นพิพิธภัณฑ์ คลังเก็บฟอสซิล และห้องปฏิบัติการด้านบรรพชีวินวิทยาที่สมบูรณ์ที่สุด ฟอสซิลแต่ละชิ้นเป็นหลักฐาน ร่องรอยที่สำคัญในการสืบค้นเรื่องราวในยุคดึกดำบรรพ์ นักวิทยาศาสตร์ ใช้หลักฐานเหล่านี้ ในการจินตนาการตัวไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทยแต่ละชนิด และสภาพแวดล้อมยุคดึกดำบรรพ์อย่างไรบ้าง
ไดโนเสาร์แดนอีสาน อีสาน – ดินแดนแห่งไดโนเสาร์
ประวัติการพบไดโนเสาร์ของไทยครั้งแรก ที่ภูเวียง จ.ขอนแก่น เมื่อ 40 ปีก่อน ไดโนเสาร์ชนิดที่พบ ทำไมบริเวณภาคอีสานจึงพบฟอสซิลกระจายอยู่มาก สภาพแวดล้อมดึกดำบรรพ์ของที่ราบสูงอีสานเป็นอย่งไร และการกำเนิดฟอสซิล จนถึงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์
ไดโนเสาร์แดนอีสาน สู่ฝันนักบรรพชีวิน
ไดโนเสาร์ เป็นเรื่องที่เด็กๆ เยาวชนชื่นชอบ และเป็นที่ยอมรับกันว่า สามารถดึงดูดเยาวชนให้สนใจการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ได้ ในตอนนี้ ผู้ดำเนินรายการ จะไปพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ว่า ความสนใจ หรือ การศึกษาด้านไดโนเสาร์นั้น มีประโยชน์ อย่างไรบ้าง จะเริ่มต้นอย่างไร รวมไปถึงการส่งเสริมงานค้นคว้า งานอนุรักษ์ หน่วยงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น หากพบฟอสซิลโดยบังเอิญ หรือ ใครสามารถครอบครองฟอสซิล สะสม ซื้อ-ขายได้หรือไม่ แหล่งเรียนรู้ของประชาชนทั่วๆ ไป (พิพิธภัณฑ์)
ไดโนเสาร์แดนอีสาน ภูน้อย สุสานไดโนเสาร์
ภูน้อย เป็นแหล่งขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์ที่ค้นพบใหม่ หลังการค้นพบแหล่งขุดค้นภูกุ้มข้าว ซึ่งถึงปัจจุบันภูน้อยถือเป็นแหล่งพบฟอสซิลมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการขุดค้นยังไม่สิ้นสุด นอกจากนี้ยังพบว่ามีอายุต่างจากแหล่งอื่นที่เคยพบในไทย ซึ่งงานขุดค้นที่ภูน้อย นำไปสู่การพัฒนาและการค้นพบใหม่ๆ ทางบรรพชีวินวิทยามากมาย กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ซึ่งผู้ดำเนินรายการ จะเป็นตัวแทนผู้ชม ให้เห็นการทำงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขุดค้น นำไปตกแต่ง เก็บรักษา ทำทะเบียน และศึกษาวิจัย ผ่านแหล่งขุดภูน้อย
ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน
ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phuwiangosaurus sirindhornae) หมายความว่า “สัตว์เลื้อยคลานยักษ์แห่งภูเวียง” เป็นชื่อสกุลของไดโนเสาร์ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในหมวดหินเสาขัว อายุราวยุคครีเตเชียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด (sauropod – ไดโนเสาร์กินพืชคอยาว) ชนิดแรกที่บรรยายลักษณะจากประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่ม Titanosaur ซึ่งเป็นซอโรพอดขนาดกลาง ความยาวประมาณ 15-20 เมตร โดยตัวอย่างต้นแบบ (type specimens) พบที่ภูเวียง อำเภอภูเวียง (อำเภอเวียงเก่า ในปัจจุบัน) จังหวัดขอนแก่นเมื่อปี พ.ศ. 2525 และได้รับการบรรยายลักษณะเมื่อปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994)
พบกระดูกภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน จากหลายแหล่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะแหล่ง วัดสักกะวัน ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สิรินธร ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว) ซึ่งพบโครงกระดูกอย่างน้อย 6 ตัว จำนวนมากกว่า 800 ชิ้น และแหล่งภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น สถานที่พบเป็นครั้งแรก (type locality) พบกระดูกของพวกวัยเยาว์ ขนาดประมาณ 2 เมตร สูง 0.5 เมตรรวมอยู่ด้วย
กรมทรัพยากรธรณีขอพระราชทานชื่อชนิดจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านที่สนพระทัยงานในด้านธรณีวิทยา และบรรพชีวินวิทยาในประเทศไทย