เรื่องราวรักข้ามเวลา เมื่อลูกชายของขุนเดชและเกศสุรางค์มาพบสาวห้าวจากอนาคต ที่โชคชะตาพาเธอย้อนเวลากลับมาในอดีต

ละคร พรหมลิขิต Love Destiny 2 2566 ละครแนวรักโรแมนติกดราม่า คอมเมดี้ เป็นภาคต่อจาก ละคร บุพเพสันนิวาส Love Destiny วันหนึ่งขณะที่พุดตานกำลังคุมงานจัดสวนที่ จ.อยุธยา เธอได้ขุดเจอหีบโบราณใบหนึ่งที่ถูกฝังอยู่ใต้ดิน ภายในมีสมุดข่อยโบราณเก่าแก่เล่มหนึ่ง เพียงแค่เธอสัมผัสกับสมุดข่อยเล่มนั้นเธอก็รู้สึกเจ็บปวดคล้ายจะเป็นลม เกิดแสงสีทองสว่างจ้าและร่างของพุดตานก็หายวับไปพร้อมกับสมุดข่อย เมื่อพุดตานลืมตาขึ้นมาอีกครั้ง เธอก็พบเห็นชายหนุ่มรูปงาม แต่งตัวแปลกตาอยู่ตรงหน้า เขาคือหมื่นมหาฤทธิ์ ลูกชายฝาแฝดคนเล็กของออกญาวิสูตรสาครและเกศสุรางค์ สองคนยื้อแย่งคัมภีร์กฤษณะกาลีที่ต่างจับกันอยู่ พุดตานเชื่อว่าสมุดข่อยจะต้องพาเธอกลับบ้าน ในขณะที่หมื่นมหาฤทธิ์ไม่ยอมเพราะคัมภีร์กฤษณะกาลีคือสมบัติล้ำค่าของตระกูลที่ถูกพ่อของเขานำมาฝังเอาไว้นานแล้ว หมื่นมหาฤทธิ์แปลกใจที่พุดตานมีใบหน้าที่ละม้ายคุณแม่ของเขามาก ส่วนพุดตานจะใช้ชีวิตอย่างไรในสถานที่ที่เธอไม่คุ้นเคยแม้แต่น้อย คนแปลกหน้าสองคนที่เพิ่งพบเจอกัน…แต่กลับรู้สึกผูกพันกันอย่างไม่ทราบสาเหตุ ฤๅจะเป็นพรหมลิขิตที่ทำให้เขาและเธอได้กลับมาพบกันและจะไม่มีวันพรากจากกันอีกชั่วนิรันดร์


ละคร พรหมลิขิต Love Destiny 2 2566

ละคร พรหมลิขิต Love Destiny 2 2566

ละคร พรหมลิขิต Love Destiny 2 2566 EP.1-16CH3+

ละคร พรหมลิขิต Love Destiny 2 2566 EP.1-26NETFLIX TH

ซีนละคร พรหมลิขิต Love Destiny 2 2566

พรหมลิขิต Ost.พรหมลิขิต | ธีรนัยน์ ณ หนองคาย & อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข | Official MV เคียงขวัญ Ost.พรหมลิขิต | กัน นภัทร อินทร์ใจเอื้อ | Official MV ข้ามเวลา Ost.พรหมลิขิต | Violette Wautier | Official MV

ละคร พรหมลิขิต Love Destiny 2 2566

พรหมลิขิต “เกศสุรางค์” (ราณี แคมเปน) หรือ ที่ปัจจุบันทุกคนเรียกเธอว่า แม่หญิงการะเกด เรื่องราวยังคงเล่าขณะที่กรุงศรีอยุธยาคานั้น “ขุนหลวงนารายณ์” (ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง) สิ้นพระชนม์ และพลัดเปลี่ยนสู่ยุคของ “ขุนหลวงเพทราชา” (ศรุต วิจิตรานนท์) ขึ้นครองราชย์ การะเกดเองก็ให้กำหนดบุตรชายฝาแฝด นามว่า “พ่อเรือง” (ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ) และ “พ่อริด” (ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ) การะเกดผู้ที่มาจากอนาคตกาลข้างหน้าถึง 329 ปี หลายครั้งที่ “ออกญาวิสูตรสาคร” (ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ) ถามเรื่องของประวัติศาสตร์ เขาสัญญาว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรทั้งนั้น แต่ห่วงเรื่องของ “แม่มะลิ หรือ ตองกีมาร์” (สุษิรา แอนจิลีน่า แน่นหนา) การะเกดยืนยันกับออกญาฯ ว่าแม้ชะตากรรมของเธอจะต้องยากลำบาก เพราะ “กรมพระราชวังบวร” (จิรายุ ตันตระกูล) อยากได้เธอเป็นเมีย แต่เธอไม่เคยยอม จนต้องทุกข์ทรมานแต่ก็ไม่ถึงจะตายจากกัน แถมบั่นปลายชีวิตเธอจะจบลงอย่างสวยงามแน่นอน ในขณะที่ขุนหลวงเพทราชาพยายามขับไล่พวกฝรังคีออกไปจากอยุธยา ด้าน “คุณหญิงจำปา” (ชไมพร จตุรภุช) อยากให้พ่อริดพ่อเรืองได้มีน้องเสียที การะเกดจึงหาทางชวนคุณพี่หมื่นมีลูก จนได้ให้กำเนิดลูกสาวอีก 2 คน คือ “แม่แก้ว” และ “แม่ปราง”

พุดตาน สาวน้อยผู้ชื่นชอบการจัดสวน ชีวิตของเธอต้องประสบความสูญเสีย เมื่อพ่อแม่เกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตตอนเธออายุได้แปดขวบ พุดตานต้องอยู่ในความดูแลของ วิภาวี ผู้เป็นป้า เมื่อเติบโตขึ้นโชคชะตาเหมือนจะลิขิตเธอไปยังอดีตชาติที่เธอผูกพัน

วันหนึ่งระหว่างที่พุดตานกำลังจัดสวนที่ไซต์งานอยุธยา คนงานขุดพบหีบโบราณลึกลับ เธอตัดสินใจเปิดหีบกล่องนั้น ข้างในมีสมุดข่อยโบราณถูกเก็บไว้ ทันทีที่เธอสัมผัสสมุดข่อย ก็เกิดแสงสว่างวาบและร่างของเธอก็หายไปลับตา

ย้อนกลับไปยังกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา รัชสมัยขุนหลวงท้ายสระ หมื่นมหาฤทธิ์ ลูก คุณหญิงการะเกด (เกศสุรางค์) กับ ออกญาวิสูตรสาคร เห็นแสงประหลาดผุดขึ้นมาจากดิน จึงขุดดูก็ได้เจอหีบโบราณเช่นเดียวกัน เมื่อเปิดดูก็เจอคัมภีร์กฤษณะกาลีสมบัติล้ำค่าของตระกูล ทันทีที่หมื่นมหาฤทธิ์เอามือแตะสมุดข่อย ท้องฟ้าก็พลันมืดมิด เกิดแสงสว่างวาบอีกครั้ง ร่างของสาวแปลกหน้าหรือพุดตานก็ปรากฏกายขึ้นตรงหน้า

พุดตานเชื่อว่าสมุดข่อยในมือหมื่นมหาฤทธิ์จะพาเธอกลับบ้านได้ จึงพยายามแย่งคืนมาจนเกิดเรื่องวิวาท ยายกุย และ แม่กลิ่น ผู้เป็นหลานสาวออกมาห้าม ยายกุยพาพุดตานไปอยู่ด้วยเพราะฝันเห็น ชีปะขาว ฝากให้ช่วยดูแลพุดตาน จึงสร้างความไม่พอใจให้แม่กลิ่น ที่เห็นหน้าพุดตานครั้งแรกก็รู้สึกจงเกลียดจงชังเธอโดยไม่ทราบสาเหตุ

พุดตานพยายามเอาตัวรอดใช้ชีวิตในที่ ๆ เธอไม่คุ้นเคย ด้วยการปลูกผักทำสวน ค้าขายหาเลี้ยงชีพ และในที่สุดเธอได้เจอกับเกศสุรางค์ เมื่อเจอหน้ากันต่างฝ่ายต่างรู้สึกคุ้นเคยราวกับเคยอยู่ร่วมกันมา เกศสุรางค์ชวนพุดตานไปบ้าน ทุกคนให้การต้อนรับเธออย่างดี ยกเว้น คุณหญิงจำปา เพราะไม่อยากให้หมื่นมหาฤทธิ์ชอบพอกับพุดตาน แต่อุปสรรคใดก็มิอาจขวางกั้น พรหม ที่ ลิขิต ให้หมื่นมหาฤทธิ์และพุดตานได้มาพานพบกัน แม้ทั้งคู่จะมีท่าทีขิงก็ราข่าก็แรงกันในระยะแรก แต่ความรักก็ก่อตัวขึ้นกลางใจทั้งสองโดยไม่รู้ตัว

เมื่อความรักก่อตัว อุปสรรคก็ตามมาอีกมากมาย สุดท้าย พรหมลิขิต จะลิขิตให้ทั้งคู่ได้ลงเอยกันหรือไม่ ติดตามชม

บทประพันธ์โดย : รอมแพง
บทโทรทัศน์โดย : ศัลยา
กำกับการแสดงโดย : นาย สรัสวดี วงศ์สมเพ็ชร
ผลิตโดย : ค่าย บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น
ควบคุมการผลิตโดย : หน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

นักแสดง
โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ รับบท พระยาวิสูตรสาคร (พ่อเดช)/หมื่นณรงค์ราชฤทธา (พ่อเรือง)/หมื่นมหาฤทธิ์ (พ่อริด)
เบลล่า ราณี แคมเปน รับบท คุณหญิงการะเกด/เกศสุรางค์/พุดตาน
เกรท วรินทร ปัญหกาญจน์ รับบท ขุนหลวงท้ายสระ (เจ้าฟ้าเพชร)
เด่น เด่นคุณ งามเนตร รับบท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าพร)
น้ำตาล พิจักขณา วงศารัตนศิลป์ รับบท แม่กลิ่น
ป๊อป ฐากูร การทิพย์ รับบท หมู่สง
ซีน ภัสธรากรณ์ บุษราคัมวดี รับบท แม่หญิงแก้ว
ไต้ฝุ่น กนกฉัตร มรรยาทอ่อน รับบท จมื่นศรีสรรักษ์ (มิ่ง)
พีพี ปุญญ์ปรีดี คุ้มพร้อม รอดสวาสดิ์ รับบท แม่หญิงปราง
ปีเตอร์แพน ทัศน์พล วิวิธวรรธน์ รับบท หมื่นจันภูเบศร์ (อิน)
เพ็ชร ฐกฤต ตวันพงค์ รับบท พระยาราชนุกูล (ทองคำ)
เหมียว ชไมพร จตุรภุช รับบท คุณหญิงจำปา
ต๊งเหน่ง รัดเกล้า อามระดิษ รับบท ยายกุย
โมสต์ วิศรุต หิมรัตน์ รับบท จ้อย
นุ่น รมิดา ประภาสโนบล รับบท แย้ม
หยา จรรยา ธนาสว่างกุล รับบท ผิน
จ๊ะจ๋า แดนดาว ยมาภัย รับบท อึ่ง
แอ๊ว อำภา ภูษิต รับบท ปริก
จุ๊บแจง วิมลพันธ์ ชาลีจังหาญ รับบท จวง
ญา ภูศญา นาคสวัสดิ์ รับบท อิ่ม

นักแสดงรับเชิญ
ปั้นจั่น ปรมะ อิ่มอโนทัย รับบท พระรามณรงค์/หลวงพ่อเรืองฤทธิ์
ปราง กัญญ์ณรัณ วงศ์ขจรไกล รับบท คุณหญิงจันทร์วาด
ซูซี่ สุษิรา แน่นหนา รับบท ตองกีมาร์ (มะลิ)
ก๊อต จิรายุ ตันตระกูล รับบท กรมพระราชวังบวร/หลวงสรศักดิ์
น้ำฟ้า ธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญ รับบท แม่หญิงแพรจีน
ยิหวา ปรียากานต์ ใจกันทะ รับบท แม่หญิงเรียม
ภณ ณวัสน์ ภู่พันธัชสีห์ รับบท แม่ทัพอนิลบถ
น้ำหวาน ภูริตา สุปินชุมภู รับบท เจ้าหญิงอทิตยา
เพื่อน คณิน ชอบประดิถ รับบท ฑิฆัมพรราชา
หลิงหลิง ศิริลักษณ์ คอง รับบท พระนางจันทราวดี
ชาย ชาตโยดม หิรัณยัษฐิติ รับบท พระยาโกษาธิบดี (จีน)
มิ้งค์ ณัฏฐริณีย์ กรรณสูต รับบท คุณหญิงผ่อง
โอม คณิน สแตนลีย์ รับบท หลวงชิดภูบาล (ยอร์ช ฟอลคอน)
ปราปต์ ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง รับบท ขุนหลวงนารายณ์
บิ๊ก ศรุต วิจิตรานนท์ รับบท ขุนหลวงเพทราชา
เก่ง ชาติชาย งามสรรพ์ รับบท พระยาโกษาธิบดี (ปาน)
เก่ง ธชย ประทุมวรรณ รับบท พระปีย์
ขวัญ ขวัญฤดี กลมกล่อม รับบท สมเด็จพระอัยกี กรมพระเทพามาตย์
เอ พศิน เรืองวุฒิ รับบท เจ้าพระองค์ดำ
โซบี โชติรส แก้วพินิจ รับบท องค์เจ้าแก้ว
แก๊ป ชนกสุดา รักษนาเวศ รับบท พระชายาเจ้าฟ้าพร
ครูแอ้นท์ วัชรชัย สุนทรศิริ รับบท ชีปะขาว/สุริยะราชา
ไผ่ วิศรุต หิรัญบุศย์ รับบท ขาม
ไชย ขุนศรีรักษา รับบท ฟานิก
เอิร์ธ วิศววิท วงษ์วรรณลภย์ รับบท ออกญาจุฬาราชมนตรี
ก้อย นฤมล พงษ์สุภาพ รับบท ยายกลอย
เจี๊ยบ ปวีณา ชารีฟสกุล รับบท สิปาง
กิ๊ก มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ รับบท วิภาวี
กิก ดนัย จารุจินดา รับบท ชัยมิตร
แป้ง พรรษชล สุปรีย์ รับบท วิภาวรรณ
นีน่า ด.ญ.ณัฐชา เจสสิก้า พาโดวัน รับบท พุดตาน (เด็ก)
บรรเจิดศรี ยมาภัย รับบท คุณยายนวล

พรหมลิขิต (Love Destiny 2) เป็นละครโทรทัศน์ไทยแนวย้อนยุค ภาคต่อของละครโทรทัศน์เรื่อง บุพเพสันนิวาส ดัดแปลงจากบทประพันธ์ของรอมแพง ผลิตโดยบรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น นำแสดงโดยพระนางจากภาคแรก ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ และ ราณี แคมเปน โดยยังคงได้ศัลยา สุขะนิวัตติ์ ผู้เขียนบทจากภาคแรก มาเขียนบทให้ในภาคนี้

ตอนจบของละคร บุพเพสันนิวาส ได้มีฉากทิ้งท้ายที่เผยถึง จุดเริ่มต้น ของเรื่องราวภาคต่อของ บุพเพสันนิวาส ในชื่อนิยาย พรหมลิขิต นิยายจะเล่าเรื่องราว รุ่นลูกของแม่การะเกด ที่จะอยู่ในยุค พระเจ้าท้ายสระ โดยจะมีพุดตานตัวละครยุคปัจจุบันหลุดเข้าไปในอดีต และได้พบเจอกับเรื่องราวในยุคนั้น ทำให้แม่การะเกดได้อัปเดตเหตุการณ์เรื่องราวยุคปัจจุบัน จากพุดตานที่ย้อนไปอดีตอีกด้วย

พุดตาน ตัวละครที่จะมีบทบาทนิยาย พรหมลิขิต ซึ่งเธอเป็นหลานห่างๆ ของสิปาง (แม่ของเกศสุรางค์) ในวัย 20 ปีที่มีอาชีพนักจัดสวน ได้เจอหีบโบราณและสมุดข่อยจากคนงานที่ขุดได้ ซึ่งเป็นมนต์กฤษณะกาลีที่ถูกฝังเอาไว้ เมื่อเธอแตะมันทำให้เธอได้ย้อนเวลากลับไปในอดีต

งานสร้าง
ในตอนแรกทาง อรุโณชา ภาณุพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้จัดละครเรื่องนี้ได้วางตัว ภวัต พนังคศิริ ผู้กำกับการแสดงจากภาคแรก ให้มากำกับ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสรัสวดี วงศ์สมเพ็ชร ที่เคยมีผลงานทั้งภาพยนตร์และละคร เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Yes or No 1 และ Yes or No 2 และละครทางช่อง 3HD เรื่อง พราวมุก, ตราบาปสีชมพู, หนี้รักในกรงไฟ, เสื้อสีฝุ่น, แรงตะวัน, รักพลิกล็อก, ซ่อนเงารัก, มัดหัวใจยัยซุปตาร์ ฯลฯ มารับหน้าที่ผู้กำกับละครเรื่องนี้แทน

พรหมลิขิต ฟิตติงนักแสดงเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 และทำพิธีบวงสรวงเปิดกล้องเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 สรัสวดี ผู้กำกับละคร ให้สัมภาษณ์ต่อ กรุงเทพธุรกิจ ว่า ละครเรื่อง พรหมลิขิต ถ่ายทำไปแล้ว 40-50 คิว แต่ได้หยุดเป็นพัก ๆ เป็นช่วง ๆ เนื่องด้วยสถานการณ์โรคโควิด-19

นอกจากนี้ ตัวละครหลักที่ต่อจากละคร บุพเพสันนิวาส ที่ยังมีชีวิตอยู่ อยู่ครบทั้งหมด และมีตัวละครใหม่ เนื่องจากในละคร บุพเพสันนิวาส เป็นยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ขุนหลวงนารายณ์) สมเด็จพระเพทราชา (ขุนหลวงเพทราชา) และสมเด็จพระเจ้าเสือ (ขุนหลวงสรศักดิ์) แต่ในละคร พรหมลิขิต เป็นยุคของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (เจ้าฟ้าเพชร) และ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เจ้าฟ้าพร) (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)

ราณี แคมเปน รับบทเป็นพุดตาน (การะเกดกลับชาติมาเกิด) รวมทั้งบทบาทพี่น้องฝาแฝดคือ คุณหญิงการะเกด (เกศสุรางค์) แฝดพี่ และแม่หญิงการะเกด แฝดน้อง ขณะที่ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ รับบทเป็นพระยาวิสูตรสาคร (พ่อเดช) รวมทั้งบทบาทพี่น้องฝาแฝดบุตรของพ่อเดช คือ หมื่นณรงค์ราชฤทธา (พ่อเรือง) แฝดพี่ และหมื่นมหาฤทธิ์ (พ่อริด)

วันที่ 5 ตุลาคม 2566 ผู้จัดและนักแสดงได้ทำพิธีบวงสรวงละครอีกครั้งหนึ่งเพื่อเอาฤกษ์เอาชัยก่อนออกอากาศ ที่สตูดิโอช่อง 3 หนองแขม สำหรับพรหมลิขิตไปจนถึงบุพเพสันนิวาส นับเป็นละครเรื่องแรกของไทยที่ได้มีการจดลิขสิทธิ์แบบ IP right เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบแล้วนำไปใช้ต่อในเชิงพาณิชย์ โดยได้จดลิขสิทธิ์ครอบคลุมทุกอย่างที่มาจากละครเพื่อการต่อยอดโฆษณาและคอนเทนต์ต่าง ๆ ในอนาคต

สถานที่ถ่ายทำ
โรงถ่ายหนองแขม
เรือนไทยทัศนีย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
บ้านสวนกลิ่นแก้ว อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ

อิทธิพลเครื่องแต่งกายไทยในละครบุพเพสันนิวาส และ พรหมลิขิต ต่อประเทศรอบข้าง

เนื่องจากประเทศกัมพูชาหันมานิยมใส่ชุดไทยในช่วง ละครบุพเพสันนิวาส ที่กระแสตอนนั้นนิยมใส่ชุดไทยไปตามสถานที่ต่างๆ 

ผลสืบเนื่อง จากความโด่งดังของละครบุพเพสันนิวาสช่วงปี 2561 ทำให้มีการจัดทัวร์การท่องเที่ยว โดยให้นักท่องเที่ยวใส่ชุดไทยท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่วัดไชยวัฒนาราม รวมถึงโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สร้างรายได้่ให้ประเทศไทยมหาศาล 

จนขณะนั้นทางรัฐบาลกัมพูชาได้ สั่งห้ามประชาชนเขมรใส่ชุดไทยเข้านครวัด แต่ไม่สามารถห้ามได้
และปี 2566 รัฐบาลประเทศกัมพูชาตัดสินใจทิ้งชุดซัมปอต และนำชุดไทย อ้างสิทธิ์ใน ละครบุพเพสันนิวาส และ ละครพรหมลิขิต โดยอ้างว่าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของไทยคือชุดเขมรโบราณ และเป็นชุดประจำชาติของประเทศกัมพูชา โดยทางราชบัณฑิตยสถานของกัมพูชา กำลังหาหลักฐานข้อมูลตำราชุดประจำชาติเขมร 10 ยุคสมัย จากชาวบ้านในพื้นที่และกำแพงวัด บันทึกไว้ตำราชุดของเขมรซึ่งอ้างว่า มีกว่า 1000 แบบ จนช่วงต้นเดือนธันวาคม 2566 รัฐบาลกัมพูชาได้นำสไบขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก แต่ถูกปัดตกไป เพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าเขมรมีการใส่สไบ แต่อย่างไรก็ดี กัมพูชากำลังรวบรวมหลักฐานอีกครั้ง จากกำแพงนครวัดและ แผนที่ขอมโบราณซึ่งอ้างว่าเป็นเขมรโบราณ ว่าเคยปกครองแผ่นดินและเป็นเจ้าของวัฒนธรรมในขณะนั้น โดยรัฐบาลกัมพูชาค้นพบตำนานนางนาค เป็นพิธีการแต่งงานแบบเขมรโบราณ ซึ่งใส่ชุดสไบมากว่า 1,000 ปี ซึ่งทางกัมพูชาเตรียมยื่นต่อยูเนสโกอีกในปี 2567

เพจอาเซียนมองไทยได้โพสกล่าว ถ้าหากบอกว่าชุดไทยเป็นของกัมพูชา มีหลักฐานการใส่ชุดไทยย้อนหลังไปซัก 15 ปี ไหม หลักฐานเป็นหนังสือที่เชื่อถือได้ ไม่ใช่แค่เอาธงชาติมาแปะ เอารูปไม่มีที่มาที่ไปมาลง ขอลิงค์ต้นทางที่เป็นแหล่งข้อมูลเชื่อถือได้ และในการผลิตผ้าสไบ ชุดไทยแบบต่างๆ จะต้องมีกลุ่มหัตถกรรมทอผ้า เขมรมีกลุ่มปลูกม่อนเลี้ยงไหม มีกลุ่มทอผ้าแบบไทยที่ทำกันเป็นล่ำเป็นสันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษหรือป่าว? เท่าที่เห็นตอนนี้ก็ดีแต่ซื้อชุดไทยสำเร็จรูป ไปใส่ถ่ายรูป ไปใช้ในงานประเพณีของตัวเอง และเคลมว่านี้คือชุดเขมร แต่คนไทยเขาดูออกว่านี้มันงานฝีมือคนไทย ไม่ใช่งานฝีมือของกัมพูชา งานฝีมือของกัมพูชาชาวเน็ตเขาเอามาลงเยอะแยะไปหมด ซึ่งเป็นงานหยาบ และคนละประเภทกับชุดไทย
การที่จะอ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของได้นั้น มันจะต้องเริ่มดูจาก ภูมิปัญญา ที่สั่งสมถ่ายทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ดูที่กระบวนการผลิต กลุ่มชนชั้น มีการผลิตผ้าชนิดนั้นเป็นการทั่วไป มีคนที่มีองค์ความรู้ที่จะถ่ายทอดได้จำนวนมาก ถึงขนาดเป็นผลงานหัตถกรรม เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ของคนในพื้นถิ่นนั้น มันก็คือกระบวนการส่งเสริมอาชีพไปในตัว จนติดตาคนทั่วโลก และเป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า ผ้าชนิดนี้เป็นของชนชาติใด หาใช่แค่บอกใครๆว่าของตนเอง ขึ้นมาลอยๆ แต่คนในชาติไม่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตเลย ผลิตเองไม่เป็น ต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ไม่มีชื่อชุดไทยชนิดต่างๆ เป็นการเฉพาะ ไม่มีหลักฐานว่า ใช้ชุดไทยกันมาเป็นประเพณีนิยมสืบทอดย้อนหลังกลับไปได้หลาย 10 ปี หรือ 100 ปี แบบนี้ไม่ได้เรียกว่าเป็นเจ้าของ แต่เรียกว่า การเคลม อ้างสิทธิ์ลอยๆ โดยไม่ได้มีความเป็นเจ้าของร่วมด้วยเลยแม้แต่น้อย