ละคร อำแดงเหมือนกับนายริด 2560 (EP.1-19 ตอนจบ) HD END

“ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน” คำกล่าวตอกย้ำความเหลื่อมล้ำสถานภาพทางเพศของหญิงไทยในอดีต แต่ท่ามกลางหมอกควันแห่งกฎหมายและจารีตแห่งการกดขี่ สตรีนางหนึ่งจึงได้ลุกขึ้นเรียกร้องหาความเป็นธรรม


ละคร อำแดงเหมือนกับนายริด 2560

ละคร อำแดงเหมือนกับนายริด 2560

“ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน” คำกล่าวตอกย้ำความเหลื่อมล้ำสถานภาพทางเพศของหญิงไทยในอดีต แต่ท่ามกลางหมอกควันแห่งกฎหมายและจารีตแห่งการกดขี่ สตรีนางหนึ่งจึงได้ลุกขึ้นเรียกร้องหาความเป็นธรรม

เมืองนนทบุรี ปีพุทธศักราช 2387 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 นางเหมือน ลืมตาดูโลกท่ามกลางความเกลียดชังของ นายเกต ผู้เป็นพ่อ ซึ่งคาดหวังว่าตนจะได้ลูกผู้ชาย นางเหมือนจึงเปรียบเสมือนเป็น “ตัวซวย” ของพ่อนับแต่นั้นเป็นต้นมา

บ่ายวันที่ฝนตกหนัก พระริ ซึ่งนั่งรอเรือข้ามฟากเห็นใครบางคนจมน้ำ พระริดไม่มีทางเลือกจึงตัดสินใจกระโดดลงช่วยเหลือ โดยไม่รู้ว่าใครคนนั้นเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย จนรอดพ้นจากความตายได้สำเร็จ เมื่อพากลับเข้าฝั่งพระริดก็ได้รู้ว่าคนที่ตนช่วยนั้นคือ นางเหมือน หญิงสาวที่อยู่ในสภาพเกือบเปลือย หลวงปู่ คัดค้านพระริดที่ต้องการจะลาสิกขา โดยให้เหตุผลว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเหตุสุดวิสัย จึงไม่ถือว่าต้องอาบัติปาราชิก พระริดจึงครองผ้าเหลืองต่อไป แต่พระริดก็ไม่เป็นอันทำกิจของสงฆ์เพราะภาพของหญิงสาว ติดตาตรึงใจตลอดเวลา ส่วนนางเหมือนก็ได้แต่เหม่อลอยคิดคำนึงถึงพระริด ผู้ที่ได้ช่วยเหลือตนให้รอดพ้นจากความตายอยู่ตลอดเวลา

นายภู ลูกชายเจ้าของโรงหล่อพระและโรงบ่อนเบี้ย ได้พบนางเหมือนในงานเทศมหาชาติที่วัดขนุน นางเหมือนรู้สึกไม่ถูกชะตานายภูตั้งแต่แรกเห็น แต่นายภูกลับรู้สึกถูกตาต้องใจนางเหมือนมากมายนับตั้งแต่วันนั้น เมื่อนางเหมือนรู้ว่าพระริดสอนหนังสือให้กับสามเณรที่วัดขนุน จึงหาทางใกล้ชิดพระริดด้วยการขอ นางจัน ผู้เป็นย่าของเธอไปเรียนหนังสือที่วัดขนุน หลวงปู่ไม่อนุญาตให้นางเหมือนเรียน เพราะการเรียนหนังสือสมัยนั้นเป็นสิทธิเฉพาะผู้ชาย นางเหมือนเฝ้าเพียรพยายามมาขอหลวงปู่เรียนทุกวัน โดยยอมทนตากแดดตากฝนอยู่ที่ลานวัดอย่างอดทน จนในที่สุดหลวงปู่ก็ใจอ่อนยอมให้นางเหมือนเรียนหนังสือจนได้ แต่ไม่อนุญาตให้เรียนสองต่อสองกับพระริด นางเหมือนจึงเคี่ยวเข็ญนางจันย่าของตนมาเรียนเป็นเพื่อน

แม่สื่อของนายภูมาหานางนุ่ม แม่ของนางเหมือนในวันหนึ่งพร้อมแจ้งว่า นายภูเจ้าของโรงหล่อพระที่จะเป็นเจ้าภาพกฐินที่วัดขนุนชอบใจในตัวนางเหมือน นางนุ่มจึงขอให้นางเหมือนตกลงกับนายภูโดยให้เหตุผลว่า ให้เห็นแก่ย่าที่แก่แล้วจะได้มีเงินมารักษาตัว แต่นางเหมือนยืนยันว่า จะไม่ยอมเป็นเมียนายภู อีกทั้งนางจันเองก็ไม่เห็นด้วย

นางจันบอกกับนางเหมือนในวันหนึ่งว่า เกิดเป็นผู้หญิงจะทำอะไรตามใจชอบไม่ได้โดยเฉพาะเรื่องผัว นางเหมือนบอกว่าขอยอมอยู่คนเดียว และยอมเป็นสาวทึนทึก ดีกว่าต้องแต่งงานกับผู้ชายที่ตัวเองไม่ได้รักเช่นนายภู ในที่สุดนางเหมือนก็สารภาพว่าเธอมีใจให้พระริด ไม่นาน นางจันก็จากไป…

เดือน 4 แรม 11 ค่ำ ปีชวดฉศก ( 2 เมษายน 2407 ) นายเกตกับนางนุ่มบีบบังคับให้นางเหมือนแต่งงานกับนายภูเพื่อชำระหนี้ โดยสมคบกับนายภูฉุดคร่านางเหมือนไป แม้พยายามดิ้นรนเพียงใดแต่ก็ไม่อาจต้านทานได้ แต่นางเหมือนก็หนีพ้นเงื้อมือของนายภูได้สำเร็จ นางเหมือนหมดที่พึ่งพิงจึงตัดสินใจไปที่วัดขนุนเพื่อขอให้พระริดช่วยเหลือ แต่พระริดอุทิศให้กับพระพุทธศาสนาแล้ว จึงไม่สามารถช่วยนางเหมือนได้

นายเกต นางนุ่ม กับพวกนายภูตามมาพบเข้าจึงทุบตีอย่างหนักโดยหาว่าไม่รักดี แล้วจับตัวนางเหมือนไปที่เรือนนายภูอีกครั้ง นายเกตกำชับว่าถ้ายังหนีมาอีกครั้งจะยิงให้ตายเสีย หลังจากไปอยู่เรือนนายภูได้ไม่นานก็เกิดไฟไหม้ขึ้นที่เรือนหลังหนึ่งของนายภู นางเหมือนจึงฉวยโอกาสขณะผู้คนกำลังช่วยกันดับไฟกระโดดลงคลองว่ายน้ำหนีไป บรรดาลูกน้องนายภูตามหาแต่ไม่พบ ทั้งหมดจึงเลิกตามตัวนางเหมือน และเป็นที่ลือกันว่า… นางเหมือนจมน้ำตาย

เมื่อพระริดรู้ว่านางเหมือนจมน้ำตาย ก็รู้สึกผิดที่ตนมีส่วนสำคัญที่ทำให้นางเหมือนต้องมาตายอย่างปัจจุบันทันด่วน จนพระริดไม่สามารถครองผ้าเหลืองได้อีกต่อไปได้ แม้หลวงปู่จะพยายามแย้งว่าพระริดสึกไม่ได้ มิเช่นนั้นต้องตายเมื่อพ้นจากทางธรรม แต่พระริดไม่สามารถเอาชนะใจตัวเองได้อีก

หลังจากนายริดลาสิกขา เมื่อ เดือน 6 ขึ้น 3 ค่ำ ปีฉลู นายริดจึงตัดสินใจไปหานายแช่มที่ปากเกร็ดหลังจากที่ตาอ่ำบอกให้ลดฐิทิลง ทั้งสามคนพ่อแม่ลูกเข้าใจกันมากขึ้น นายริดต้องตกใจและดีใจไปในคราวเดียวกัน เมื่อเห็นนางเหมือนมาอาศัยอยู่กับครอบครัวของเขา ไม่ได้ตายอย่างข่าวลือ

วันหนึ่งบ่าวของนายภูพบนางเหมือนกับนายริดขายของอยู่ตลาดปากเกร็ดโดยบังเอิญ จึงนำความไปบอกกับนายภูทันที นายภูออกอุบายให้นายริดนำผู้ใหญ่ไปสู่ขอขมาลาโทษที่บ้านกำนัน เมื่อนายริดและญาติผู้ใหญ่ไปถึง นายภูจัดการกักตัวญาติผู้ใหญ่ของนายริดไว้ที่บ้านกำนัน นางเหมือน นายริด และพ่อแม่ของนายริด จึงถูกหมายเรียกตัวไปยังศาลากลางเมืองนนทบุรีเพื่อดำเนินคดี

เดือน 9 ขึ้น 2 ค่ำ ปีฉลู สัปตศก (25 กรกฎาคม 2408) พระนนทบุรีตัดสินให้นายภูชนะความเพราะตามกฎหมาย แล้วผู้หญิงไม่มีสิทธิเรียกร้องสิทธิ์ใดๆ นางเหมือนพยายามคัดค้านไม่เห็นด้วยจนเกิดการโต้เถียงกับพระนนทบุรีอย่างหนัก จึงถูกพพระนนทบุรีสั่งจองจำในข้อหาหมิ่นศาล ขณะที่นางเหมือนติดตะราง นายภูรับปากจะช่วยให้พ้นโทษแต่มีข้อแม้ว่า เธอจะต้องยอมเป็นเมียนายภู นางเหมือนปฏิเสธ โดยจะขอต่อสู้เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าผู้หญิงก็เป็นคนเหมือนผู้ชาย ขณะเดียวกันผู้คุมซึ่งรับสินบนจากนายภู ก็พยายามเกลี้ยกล่อมนางเหมือน แม้จะกลั่นแกล้งและโหดร้ายต่อนางเหมือนเท่าไรก็ไม่สำเร็จ เพราะความรักของนางเหมือนนั้น มอบให้นายริดจนหมดสิ้นแล้ว

คืนหนึ่งที่ฝนตกหนัก นายริดแอบเข้าไปในตะรางช่วยนางเหมือนที่ถูกจองจำไว้ในบ่อน้ำ แล้วหนีไปตายเอาดาบหน้า จนกระทั่งเมื่อพบกับขบวนพหุหยาตราทางสถลมารค (ทางบก) นางเหมือนจึงตัดสินใจถวายฎีกาพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ณ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ เมื่อ เดือนอ้าย แรม 7 ค่ำ ปีฉลูสัปตศก (วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2408) ยืนยันว่าไม่ได้เป็นเมียนายภู และสมัครใจที่จะอยู่กินกับนายริด

เดือนยี่ ขึ้น 1 ค่ำ ปีฉลูสัปตศก (วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2408) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงชำระความจนถึงที่สุดแล้วจึงได้มีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ให้นายริดจ่ายค่าเบี้ยละเมิด ค่าฤชาธรรมเนียม ให้แก่บิดามารดาอำแดงเหมือน และนายภู ให้เลิกอายัดและยกฟ้อง ปล่อยตัวญาติผู้ใหญ่ของนายริด และวินิจฉัยสาเหตุที่บิดามารดาของอำแดงเหมือน ยอมให้นายภูฉุดคร่าตัวอำแดงเหมือนไปถึงสองครั้งนั้นว่า อาจเนื่องมาจากเหตุที่บิดามารดาได้ทำหนังสือขายอำแดงเหมือนให้แก่นายภูไปแล้ว และต่อมาทรงยกเลิกกฎหมายเก่าที่ให้สิทธิฝ่ายชายสามารถขาย หรือยกบุตรี หรือภรรยาให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

นักแสดง
อภิญญา สกุลเจริญสุข รับบท อำแดงเหมือน
อภิญญา รุ่งพิทักษ์มานะ รับบท นายริด
ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ รับบท นายภู

อำแดงเหมือนกับนายริดสร้างจากเรื่องราวของอำแดงเหมือน หญิงไทยคนแรกที่ลุกขึ้นมาทวงสิทธิความเท่าเทียมของผู้หญิง ตามที่มีการระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกร้องให้มีการแก้กฎหมายที่พันธนาการผู้หญิงในยุคนั้นให้มีค่าความเป็นคนน้อยกว่าเพศชาย

เนื้อเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากคดีในประมวลกฎหมายและฎีกาคดีหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เล่าถึง อำแดง (นางสาว) เหมือน ซึ่งเป็นลูกของนายเกตกับอำแดง (นาง) นุ่น ประกอบอาชีพทำสวนอยู่ที่ตำบลบางม่วง แขวงเมืองนนทบุรี นายเกตกับอำแดงนุ่นยกอำแดงเหมือนให้เป็นภรรยานายภู เมื่ออำแดงเหมือนไม่ยอมโดยดี พ่อแม่ก็ให้นายภูมาฉุดเอาตัวไป แต่อำแดงเหมือนหนีกลับบ้านของตน นายภูมาฉุดไปอีก อำแดงเหมือนก็หนีไปอีก หากแต่ครั้งนี้หนีไปอยู่กับนายริด ชายคนรัก นายภูจึงฟ้องนายริดว่าลักพาเมียตน ระหว่างที่โจทก์จำเลยยังสู้ความกันอยู่ที่ศาล อำแดงเหมือนได้ถูกควบคุมไว้ในตะราง (ที่คุมขัง) ที่จวนของพระนนทบุรี เจ้าเมืองนนทบุรี และถูกนายเปี่ยมพะทำมะรงซึ่งกินสินบนของนายภูกลั่นแกล้งทารุณต่าง ๆ นานาเพื่อบีบบังคับให้อำแดงเหมือนยอมเป็นภรรยานายภู อำแดงเหมือนจึงหนีตะรางไปถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2408