แรงกรรมเรื่องเล่าชาวบ้าน โดยอาจารย์ยอด 2563
นี้คือรายการ แรงกรรม เรื่องเล่าชาวบ้าน ชีวิตที่ทำแต่บาปแต่กรรมนั้น ย่อมเหมือนกับถูกสาปให้ตํ่าลงๆ ชีวิตที่ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ไม่เคยทำคุณงามความดี
เรื่องราวของสามดอกไม้งามแห่งหอบุปผชาติ ได้แก่ “กุหลาบ” , “โบตั๋น”, และ “เทียนหยด” ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของ “แม่ราตรี” แม่เล้าผู้ทรงอิทธิพล แต่ชีวิตในหอบุปผชาติไม่ใช่ความปรารถนาของสามสาว พวกเธออยากจะโบยบินเป็นอิสระ เพื่อทำตามความฝันของตัวเอง ทั้งสามคนจึงต้องพยายามหาเงินเพื่อมาไถ่ถอนตัวเองออกจากการเป็น “นางคณิกา” อาชีพที่โดนเหยียดศักดิ์ศรีความเป็นคน ความพยายามต่อสู้เพื่อปลดแอกและกอบกู้ศักดิ์ศรีของพวกเธอจึงเริ่มต้นขึ้น
เรื่องราวของ “นุ่น” สาวน้อยวัย 18 ปี ที่อยากเป็นนักยกน้ำหนัก จุดเริ่มต้นมาจากความรู้สึกผิดเกี่ยวกับอุบัติเหตุรถคว่ำ เมื่อ 8 ปีก่อน นุ่นพยายามยกเหล็กที่ทับตัวน้องชาย เพื่อช่วยชีวิตน้องไว้ แต่ทำไม่ได้ ทำให้นุ่นฝันร้ายเกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งนั้นมาตลอด และน้องชายเคยพูดไว้ว่า “อยากเป็นนักยกน้ำหนัก” ความฝันของน้องจึงอยู่บนบ่าของนุ่นตั้งแต่นั้นมาโดยไม่รู้ตัว
เรื่องราวของเด็กสาวสี่คน ที่แต่ละคนมีปัญหาครอบครัวที่แตกต่างกัน อยากรู้อยากลอง และขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัว มีเพียงมิตรภาพระหว่างเพื่อนที่คอยช่วยเยียวยา รอยแผลในใจของกันและกันได้ ทั้งสี่จึงสร้างโลกใหม่เพื่อหลีกหนีปัญหา และโลกใหม่ก็พาให้พวกเธอได้รู้จัก…ยาเสพติด สิ่งที่คิดว่าจะช่วยแก้ปัญหาให้พวกเธอได้ ทิ้งปัญหาทุกอย่างไว้ข้างหลัง จากนั้นก็ร่วมออกเผชิญชะตาชีวิตร่วมกันมีเพียงยาเสพติดไว้ปลอบประโลมหัวใจ จนสุดท้ายมันก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่พวกเธอไม่คาดคิด จากก้าวเล็กๆ ที่อยากจะลอง พาให้ถลำลึกไกลเกินกว่าจะถอยหลังกลับ เมื่อรู้ตัวอีกทีก็ทำได้แต่เพียงรู้สึก “เสียดาย” กับช่วงเวลาชีวิตอันสดใส ที่เสียไปสิ่งเลวร้าย และมันเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ ที่แลกด้วยทั้งชีวิตของพวกเธอ
เป็นเรื่องราวความรักของหนุ่มสาวในตระกูลมั่งคั่งในระบบสังคมศักดินา เป็นนิยายแนว “สัจจนิยม” (Realism) ที่มุ่งสะท้อนความฟอนแฟะของระบบสังคมศักดินา เปิดโปงชีวิตฟุ้งเฟ้อของชนชั้นสูง จึงเป็นหนังสือต้องห้ามในยุคนั้น ราชสำนักใช้ “คุกอักษร” (文字狱) จัดการกับผู้ประพันธ์หนังสือต้องห้าม ดังนั้นเฉาเสวี่ยฉิน จึงไม่แต่งแบบแสดงออกมาตรง ๆ แต่ได้ซ่อนความจริงไว้ในระหว่างบรรทัดของเรื่องราว เช่น การเล่นความหมายของอักษร ปริศนาคำกลอน (หากอ่านฉบับภาษาจีนจะเข้าใจความหมายที่แฝงไว้ แต่ฉบับภาษาไทยจะเข้าใจเพียงผิวเผินเท่านั้น คือ รู้เรื่องราว แต่ไม่อาจวิเคราะห์ความหมายที่แฝงได้)